วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562

เราจะมีวิธีปรับเงินเดือนคนเก่าเพื่อหนีคนใหม่ยังไงดี?


       
            ผมเคยเขียนเรื่อง “การขึ้นเงินเดือนประจำปีไม่ใช่ความก้าวหน้า” ไปแล้ว (ไป Search คำนี้ในกูเกิ้ลดูนะครับ) โดยชี้ให้เห็นว่าการเติบโตของค่าจ้างภายนอกมักจะสูงกว่าภายในบริษัท ดังนั้นจึงมักเกิดปัญหาว่าคนที่เข้ามาใหม่จะมีเงินเดือนเริ่มต้นที่สูงกว่าคนเก่าที่ทำงานมาก่อนยกตัวอย่างเช่น....

            เดิมบริษัทของเรามีอัตราเริ่มต้นสำหรับคนที่เพิ่งจบปริญญาตรี (ยังไม่มีประสบการณ์ทำงาน) ที่ 15,000 บาท ต่อมาบริษัทสำรวจข้อมูลในตลาดแล้วพบว่าปัจจุบันในตลาดจ่ายกันอยู่ที่ 16,000 บาท บริษัทก็เลยอยากจะปรับอัตราการจ้างสำหรับปริญญาตรีใหม่เป็น 16,000 บาทให้สามารถสู้กับตลาดได้

แน่นอนครับว่าคนที่เข้ามาทำงานก่อนหน้านี้สักปีสองปีจะต้องโวยวายแน่นอนถ้าบริษัทปรับอัตราแรกรับปริญญาตรีจาก 15,000 เป็น 16,000 บาททันที แล้วคนเก่าที่เข้ามาก่อนหน้านี้มีเงินเดือนอยู่ระหว่าง 15,000 ถึง 16,000 นี่ยังไม่รวมถึงพนักงานที่อายุงานมากกว่านี้ไปอีกถึงแม้จะเคยได้รับการขึ้นเงินเดือนประจำปีไปบ้างแล้วปีสองปีแต่เงินเดือนปัจจุบันก็สูงกว่า 16,000 บาทไปไม่มากนัก ถ้าบริษัทไม่ปรับเงินเดือนให้ คนเก่าที่มีประสบการณ์ทำงานรู้งานดีแล้วอาจจะลาออก

ก็เลยเกิดคำถามขึ้นมาว่าแล้วถ้างั้นจะปรับคนเก่ายังไงดีล่ะ ?

จึงเป็นที่มาของสูตรในการปรับแบบคลื่นกระทบฝั่งที่ผมยกมานี่ยังไงล่ะครับ

ผมขอยกตัวอย่างให้ดูชัด ๆ ดังนี้


ตัวอย่าง

สมมุติปัจจุบันบริษัทมีอัตราเริ่มต้นตามคุณวุฒิ = 15,000 บาท

บริษัทต้องการจะปรับอัตราเริ่มต้นตามคุณวุฒิใหม่เพื่อให้แข่งขันกับตลาดได้ = 16,000 บาท

แทนค่าสูตร

จุดตัด   = 16,000 + 1.5(16,000-15,000)

            = 17,500 บาท (พนักงานเก่าที่มีเงินเดือนตั้งแต่ 17,500 บาทขึ้นไปจะไม่ได้รับการปรับเงินเดือนอีกเพราะถือว่าพ้นผลกระทบแล้ว แต่ถ้าพนักงานเก่าเงินเดือนน้อยกว่า 17,500 บาทจะได้รับการปรับเงินเดือน)

สมมุติปัจจุบันมีพนักงานก่าได้รับเงินเดือน 15,500 บาท เขาจะได้รับการปรับเงินเดือนตามสูตร CA เพื่อหนีคนใหม่ดังนี้


จากตัวอย่างข้างต้นจุดสำคัญอยู่ตรงค่าคงที่ที่ผมวงกลมเอาไว้นี่แหละครับ คือไม่ใช่ว่า 1.5 จะเป็นกฎเหล็กตายตัวนะครับ หากท่านต้องการขยายขอบเขตของจุดตัดออกไป กล่าวคือถ้าพนักงานที่ได้รับผลกระทบมีมาก 

เราอาจจะเพิ่มค่าคงที่ตัวนี้ออกเป็น 2 หรือ 2.5 หรือ 3 ซึ่งก็จะทำให้จุดตัดของผู้ที่ได้รับผลกระทบขยายออกไปทำให้คนเก่ามีโอกาสได้รับการปรับเงินเดือนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าบริษัทก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการปรับเงินเดือนมากขึ้นสำหรับพนักงานที่ได้รับผลกระทบตามไปด้วย


คงจะเป็นเรื่องของข้อมูลจริงในแต่ละองค์กรนะครับที่จะต้องไปลองปรับเปลี่ยนค่าคงที่เพื่อหาจุดตัดที่เหมาะสมของคนเก่า


พร้อมกันนี้ผมขอนำตารางตัวอย่างมาให้ดู 3 ตารางเพื่อให้เห็นว่าเมื่อเราทดลองเปลี่ยนค่าคงที่จาก 1.5 เป็น 1 หรือ 2 จะเห็นว่าจุดตัดจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามค่าคงที่ที่เปลี่ยนไป และบริษัทก็จะมีต้นทุนในการปรับเงินเดือนคนเก่าเพื่อหนีคนใหม่ที่เปลี่ยนไปตามค่าคงที่ด้วยครับ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์และนำไปใช้เพื่อลดผลกระทบให้เหมาะกับองค์กรของท่านนะครับ


....................................