คำตอบคือ “ไม่จำเป็น” ครับ
ถ้าเข้าใจหลักการของ Range
Spread (RS) และ Midpoint Progress (MPP) ตามที่ผมเคยอธิบายไปก่อนหน้านี้แล้ว
ก็จะเห็นว่า RS และ MPP ไม่จำเป็นต้องมีเปอร์เซ็นต์เท่ากัน
แลัวทำไมเห็นบางบริษัททำโครงสร้างเงินเดือนโดยมีค่า
RS=100% และมีค่า MPP= 35% เท่ากัน “เป๊ะ” ทุกกระบอกล่ะ?
ก็ตอบได้ว่าคงเพราะบริษัทนั้นอาจจะมีนโยบายในการเลี้ยงคนไว้ในแต่ละ
Job Grade นานเท่า ๆ กันทุกกระบอกก็เลยกำหนดค่า
RS ไว้ที่ 100%
แต่ถ้าบริษัทไหนคิดว่า Job
Grade ไหนจะต้องเลี้ยงคนไว้นานกว่ากระบอกก่อนหน้า เพราะโอกาสที่คนใน
Job Grade นี้จะ Promote ขึ้นไปในกระบอกถัดไปน้อยลง
ก็อาจจะวางค่า RS ไว้มากกว่า 100% เช่น
วาง RS=150% ก็ได้
อีกประการหนึ่งคือการทำค่า
RS ทุกกระบอกให้เท่า ๆ กัน หรือทำค่า MPP
ให้เท่ากันทุกช่วงก็จะทำให้ดูสวยดีเหมือนกับทำตามตำรา
แต่ในชีวิตจริงถ้าบริษัทไหนมี
Job Grade น้อยหรือมีนโยบาย Broadbanding
คือมี 4-6 Job Grade ก็มีโอกาสที่จะไม่ได้เห็นค่า
RS = 100% ทุกกระบอก
ขืนไปทำตามตำราอย่างงั้นล่ะก็ทั้งคนเก่าและคนเข้าใหม่มีหวังจะลาออกกันหัวกระไดไม่แห้งแหละครับ
เพราะโอกาส Promote มีน้อยอยู่แล้ว
ดันไปออกแบบให้เงินเดือนตันเร็วซะอีกใครจะอยากอยู่ล่ะครับ
ดังนั้นบริษัทไหนที่มีตั้งแต่
8 Job Grade ขึ้นไปก็เปรียบเสมือนบ้านที่มีเนื้อที่ใช้สอยเยอะก็จะสามารถตกแต่งห้องต่าง
ๆ ให้ดูดีมีชาติตระกูลได้
แต่ถ้าบ้านที่มีเนื้อที่ใช้สอยน้อย
(มี Job Grade น้อย)
ก็จะตกแต่งหรือทำอะไรได้ยากกว่าแหละครับ
ส่วนค่า MPP ก็จะมีบริบททำนองเดียวกับเรื่องของ RS เพียงแต่ความหมายของ
MPP คือถ้าวางเปอร์เซ็นต์ไว้เท่ากันทุกช่วง เช่น MPP=30%
ทุกช่วง ก็แปลว่าบริษัทนั้นต้องการจะจูงใจให้คนอยาก Promote ในระดับใกล้เคียงกันและบริษัทจะมีต้นทุนในการปรับเงินเดือนเมื่อ Promote
ในระดับใกล้เคียงกัน
แต่ถ้าบริษัทมีนโยบาย Broadband
มี Job Grade น้อย ค่าของ MPP ก็ไม่มีทางที่จะน้อย เช่น 20-30% หรือไม่มีโอกาสจะเท่ากันทุกช่วงได้
เพราะเปรียบเสมือนบ้านมีเนื้อที่ใช้สอยน้อยจะตกแต่งอะไรตามตำราได้ยาก
ยังค่า MPP แต่ละช่วงมีโอกาสที่จะเกิน 40% ขึ้นไป
มาถึงตรงนี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์และเป็นไอเดียของคนที่กำลังทำเรื่องเหล่านี้อยู่บ้างแล้วนะครับ
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าเราใช้ตำราหรือทฤษฎีเป็นแนวคิดได้
แต่อย่ายึดติดตำรามากจนเกินไป แล้วนำมาใช้แบบ Copy แต่ไม่
Development จนไม่ดูบริบทความเป็นจริงที่หน้างาน
และควรจะต้องรู้จักวิธีการประยุกต์ใช้ระหว่างตำรากับหน้างานให้เหมาะสม
ถ้าเรารู้จักการประยุกต์ใช้
ผลที่ได้คือประสบการณ์ทำงานที่ดีที่หาไม่ได้จากในตำราและจะเป็นมูลค่าเพิ่มในตัวเราเองครับ