วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565

เด็กรุ่นใหม่ทำงานไม่อดทนจริงหรือ ?

            ผมมักจะได้ยินคำปรารภจากทั้ง ผู้บริหารหลาย  แห่งในทำนองที่ว่า “เด็กยุคใหม่ไม่อดทน ทำงานไม่นานก็ลาออก

            องค์กรของท่านมีปัญหาทำนองนี้บ้างไหมครับ ?

แน่ะ..ผมเห็นบางคนเผลอพยักหน้าเห็นด้วยทันทีเลย 555

 เข้าทำนองที่ว่า “ความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา แต่ความผิดของเราเท่าเส้นผม” (มันก็เลยไปบังภูเขาได้ในบางครั้ง)

 ก่อนจะไปว่าเด็กยุคใหม่ไม่อดทนเราลองกลับมาย้อนมองดูตัวเราเองก่อนดีไหมครับว่าเราเองก็เป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาทำให้เด็กยุคใหม่ไม่อดทนและลาออกไปด้วยหรือเปล่า

  ดังนี้ครับ....

1.      เรายังสัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานแบบ "จิตสัมผัสหรือ Unstructured Interview หรือไม่ คือไม่เคยเตรียมคำถามก่อนเข้าห้องสัมภาษณ์ พอเข้าไปสัมภาษณ์ก็คิดคำถามเอาเดี๋ยวนั้นเป็นการพูดคุยกันแบบเปะปะไม่มีเป้าหมายหรือหลักในการคัดเลือกคนที่ชัดเจน สัมภาษณ์ประมาณ "หาแฟนใหม่ให้คล้าย  แฟนเก่าคือถ้าลูกน้องคนเดิมที่ลาออกไปเป็นคน ยิ้มแย้มแจ่มใส่ พูดง่ายใช้คล่อง มาเช้ากลับดึก หรือคิดแค่ว่าหาใครก็ได้เข้ามาทำงานก่อนก็แล้วกัน ฯลฯ อย่างงี้ก็มีโอกาสจะได้คนที่ไม่เหมาะกับงานหรือเข้ามาแบบศาลาพักร้อนแล้วล่ะครับ

2.      เรามีระบบการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการแข่งขันได้หรือไม่บริษัทไม่เคยมีโครงสร้างเงินเดือน จ่ายเงินเดือนแบบตามใจเถ้าแก่ ตามใจ MD ลูกรักได้เยอะ ลูกชังได้น้อย ไม่มีหลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าตอบแทนที่ชัดเจน ไม่เคยรู้หรือสำรวจตลาดด้วยซ้ำว่าชาวบ้านเขาจ่ายกันเท่าไหร่ แล้วเราจ่ายอยู่เท่าไหร่ แต่คิดเข้าข้างตัวเองว่าจ่ายเยอะแล้ว แต่ในความเป็นจริงกลับจ่ายต่ำกว่าตลาดที่เขาจ่ายกันอย่างนี้คนก็ทำให้คนไหลออกได้เหมือนกัน

3.      ขาดแผนการสอนงานที่ดี พอรับพนักงานใหม่เข้ามาวันแรกก็อัดงานเข้าไปทันที(เพราะคนเก่าที่ลาออกไปทิ้งงานไว้ให้ตรึมไม่เคยมีการสอนงานอย่างเป็นระบบ ไม่มีแม้แต่แผนการสอนงาน หัวหน้าก็ไปบอกให้พนักงานที่อยู่มาก่อนมาคอยบอก  สั่ง  ชี้ๆ ให้ทำงานตามกองเอกสารหรืองานที่คั่งค้างไว้ทันที 

แถมถ้าน้องใหม่ทำผิดพลาดก็ถูกด่าอีก พอไม่มีแผนการสอนงานไม่มีการวัดผลหรือมีเป้าหมายการสอนงานที่ชัดเจนว่าสอนงานแล้วต้องทำอะไรได้บ้าง คอยแต่จะโบ้ยงานมาโปะที่น้องใหม่อยู่อย่างนี้น้องใหม่พอเจอระบบมั่ว  แบบนี้ก็บ๊ายบายกันเป็นแถวล่ะครับ

4.      สภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่ชวนให้ทำงานเลย เช่น ข้าวของวางระเกะระกะ สกปรกรก เลอะเทอะ พอน้องใหม่เข้ามาวันแรกอยากจะถ่ายรูป Up ขึ้น Facebook อวดเพื่อนซะหน่อย เพื่อนก็เม้นท์แซวกลับมาว่าทำงานในโรงงานนรกหรือเปล่า ทำไมที่ทำงานถึงซกมกจัง อย่างงี้ก็มีหวังอยู่ไม่นานเหมือนกัน

5.      คนเก่าไม่ต้อนรับ ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าหรือพี่  ที่ทำงานอยู่ก่อน จะคุยกับน้องใหม่เรื่องอื่นบ้างก็ไม่มี ไม่เคยไต่ถามสารทุกข์สุขดิบ ไม่เคยรู้ว่าน้องใหม่เขาบ้านอยู่ไหน มีลูกกี่คน เรียนจบอะไรมา ฯลฯ กินข้าวกลางวันด้วยกันบ้างก็ยังไม่เคย วางอำนาจทำตัวเป็นเจ้านาย 

นี่ยังไม่รวมพี่  ที่มีวาจาเป็นอาวุธ ดาวพุธเป็นวินาศ ชอบโวยวายใช้อารมณ์เวลาน้องใหม่ทำงานผิดพลาด (เพราะยังไม่เข้าใจงานดีอย่างงี้น้องใหม่จะอยู่ได้ไหมเอ่ย

6.      ใช้งานน้องใหม่คนดึกจนดื่น แถมมีค่านิยมว่า "ใครกลับดึก คนนั้นเป็นคนทุ่มเทชอบเรียกประชุมลูกน้องตอนใกล้  จะเลิกงานทุกวัน  ชอบให้ลูกน้องกลับดึกแบบไม่มีเหตุมีผลทั้ง  ที่ไม่มีความจำเป็นหรือความเร่งด่วนของงาน หนักกว่านั้นคือกลับดึกแถมมีแต่โอฟรีไม่มีโอทีอีกต่างหาก

7.      ผู้บริหารเอารัดเอาเปรียบพนักงาน เช่น ให้พนักงานน้องใหม่ไปทำงานนอกสถานที่ไปจัดอีเว้นท์ออกงาน กว่าจะเลิกอีเว้นท์ก็สามทุ่มสี่ทุ่มแต่ไม่มีค่าแท๊กซี่ให้ พนักงานต้องควักกระเป๋าจ่ายเอง แถมโอทีก็ไม่จ่าย หรือบางแห่งจัดงานเลี้ยงปีใหม่แต่ให้พนักงานควักกระเป๋าแชร์กันจ่ายค่าจัดงานปีใหม่กันเอาเอง อย่างงี้จะจัดเลี้ยงปีใหม่ไปเพื่อ.....?

8.      การเข้าพบหัวหน้าหรือผู้บริหารยากเย็น มีพิธีรีตรองมาก ทำตัวเป็น "เจ้านายมากกกกกก  ต้องรู้ว่าคนรุ่นใหม่ต้องการความเป็นกันเอง เขารู้ว่าใครคือหัวหน้า แต่ต้องการหัวหน้าที่เป็นพี่เป็นเพื่อนที่พร้อมจะพูดคุยกับเขาได้อย่างรวดเร็วเพื่อให้งานเดินได้เร็ว เพราะเขาจะมองผลลัพธ์และความรวดเร็ว ต้องการแชร์ความคิดเห็นและFeedback ในเรื่องงานและทุกเรื่องกันแบบรวดเร็วครับ

อันที่จริงยังมีอีกมากกว่านี้นะครับ แต่ทั้งหมดนี่ผมเพียงแต่อยากจะ Feedback ให้คนที่บอกว่าเด็กรุ่นใหม่ทำงานไม่อดทนได้กลับมาย้อนดูการปฏิบัติของบริษัทหรือคนที่ทำงานมาก่อนด้วยเหมือนกันว่ามีการปฏิบัติอย่างเหมาะสมดีแล้วหรือยัง มีอะไรที่ควรจะต้องแก้ไขปรับเปลี่ยนเพื่อจูงใจให้คนรุ่นใหม่อยากอยู่กับองค์กรบ้างหรือไม่

ผมไม่ได้หมายถึงต้องปูพรมแดงต้อนรับเขาหรอกนะครับ เพียงแต่การเป็นหัวหน้าผู้บริหารจะต้องเข้าใจ "วิถีของคนรุ่นใหม่ และต้องการการปรับตัวให้เข้ากันได้ เพราะทุก Gen ต่างก็มีข้อดี-ข้อเสียด้วยกันทั้งนั้น ไม่อยากให้มองคน Gen ใหม่แต่ในด้านลบเพียงด้านเดียว

เพราะคนที่ยังอยู่กับองค์กรก็เพราะใจ จะจากองค์กรไปก็ด้วยใจเช่นเดียวกัน