ฟังพ็อดแคสต์คลิ๊ก
โดย ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ วิทยากรและที่ปรึกษาด้าน HR บริษัท ทีอาร์เอ็นคอนซัลแทนท์ จำกัด อีเมล์ tamrongsakk@hotmail.com หรือ tamrongsakk@gmail.com
วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2563
วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2563
วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2563
วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2563
วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2563
วิธีการจ่ายโบนัสให้กับหน่วยงานและรายบุคคลตาม KPIs
เมื่อพูดถึงการจ่ายโบนัส องค์กรทั้งหลายก็มักจะมีวิธีการจ่ายแตกต่างกันไปเช่น
1.
จ่ายโบนัสในอัตราคงที่แบบเท่ากันทุกคน เช่น
บริษัทจ่ายโบนัสให้กับพนักงานทุกคน ๆ ละ 2 เดือนต่อปีโดยไม่ต้องนำผลการปฏิบัติงานมาพิจารณาบางบริษัทอาจจะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมเล็กน้อยว่าพนักงานจะต้องมีสถิติป่วย
สาย ลา ขาด ไม่เกินกำหนด ถ้าเกินก็จะหักโบนัสออกบางส่วน เป็นต้น
แต่ไม่ได้นำผลการปฏิบัติงานมาร่วมในการพิจารณา
2.
จ่ายโบนัสแบบผันแปรตามผลการปฏิบัติงาน พูดง่าย ๆ
ว่าถ้ามีผลการปฏิบัติงานดีก็จะได้โบนัสเยอะ แต่ถ้าผลงานไม่ดีก็จะได้โบนัสน้อย
หรืออาจจะไม่ได้เลย
3.
จ่ายทั้งโบนัสคงที่และผันแปรตามผลงาน
บางบริษัทก็มีการจ่ายโบนัสทั้งข้อ 1 และ 2 รวมกันอยู่
4.
จ่ายโบนัสตามอายุงาน คือทำงานมานานก็จ่ายโบนัสให้มาก
อายุงานน้อยก็จ่ายให้น้อย นัยว่าต้องการที่จะให้พนักงานทำงานอยู่กับบริษัทนาน ๆ
แต่ไม่ได้ดูผลการปฏิบัติงานว่าดีหรือไม่
ขอให้ทำงานมานานก็จะจ่ายโบนัสให้มากไว้ก่อน
5.
อื่น ๆ
การจ่ายโบนัสแต่ละรูปแบบข้างต้นก็ต้องแล้วแต่นโยบายของแต่ละองค์กรนะครับ
ในองค์กรที่บอกว่าเราเน้นความเป็นทีมงาน (Teamwork) ก็มักจะจ่ายโบนัสแบบคงที่
เพราะถ้าจ่ายให้ตามผลงานแล้วเดี๋ยวจะมีการชิงดีชิงเด่น
เหยียบหัวเหยียบไหล่กันเพื่อให้ตัวเองได้โบนัสมากกว่าคนอื่นทำให้ทีมงานเสียหายได้
แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องคิดเหมือนกันนะครับว่าจะต้องมีพนักงานจำนวนไม่น้อยจะคิดว่า
“งั้นฉันจะขยันทำผลงานให้ดีขึ้นไปทำไมกันล่ะ
เพราะไอ้เจ้าเพื่อนฉันที่ขี้เกียจตัวเป็นขน อู้งาน แวบงานก็บ่อยกว่าฉัน
ทำงานก็มีปัญหาอยู่บ่อย ๆ ไม่ค่อยรับผิดชอบงาน ฯลฯ ยังได้โบนัสเท่ากับฉันเลย
ถ้างั้นฉันก็ทำอย่างเพื่อนบ้างดีกว่า”
หรือ
การจ่ายโบนัสตามอายุงานก็จะมีข้อดีคือพนักงานที่อายุงานน้อยจะเกิดแรงจูงใจว่าถ้าเราทำงานอยู่กับองค์กรนี้นานเหมือนกับพี่เขา
เราก็จะได้โบนัสเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อย ๆ
ก็จะทำให้พนักงานที่จะลาออกก็ต้องคิดหน้าคิดหลังอยู่เหมือนกัน
แต่อีกด้านหนึ่งก็คือพนักงานบางคนอาจจะเปรียบเทียบได้ว่า
“อายุงานมากแล้วไงล่ะ...ก็ไม่เห็นทำงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย
แถมพี่แกชอบโบ้ยงานมาให้น้องที่อายุงานน้อยกว่าทำแทนเสียอีก
พอถึงรอบรับโบนัสกลับได้โบนัสเยอะว่าฉันทั้ง ๆ ที่ฉันทำงานมากกว่าเสียอีก
เพียงแต่พี่เขาอยู่ที่บริษัทนี้มานานกว่าฉันเท่านั้นเอง”
จากที่ผมพูดมาทั้งหมดนี้อยากจะบอกกับท่านว่าในองค์กรส่วนใหญ่มักจะมีการจ่ายโบนัสให้สอดคล้องกับผลการปฏิบัติงานเป็นหลักครับ
กล่าวคือพนักงานคนไหนมีผลการปฏิบัติงานดีทำงานได้ตามเป้าหมาย (หรือตาม KPIs – Key
Performance Indicators) ก็จะได้รับโบนัสในอัตราที่สูงกว่าคนที่มีผลงานด้อยกว่า
ส่วนการจ่ายโบนัสแบบประจำหรือแบบตามอายุงานที่ไม่อิงกับผลการปฏิบัติงานนั้นจะมีน้อยกว่าและมีแนวโน้มจะลดลงไปเรื่อย
ๆ ครับ
ซึ่งผมมีแนวคิดในการจ่ายโบนัสตามผลงานของบริษัทแห่งหนึ่งดังนี้คือ
ผมสมมุติว่าฝ่าย
HR มีผลการปฏิบัติงานในภาพรวมของฝ่ายดังนี้
ฝ่าย
HR ก็จะนำโบนัส 5 เดือนของ Payroll มาจัดสรรให้กับพนักงานในฝ่าย HR เป็นรายบุคคลโดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานของแต่ละคนว่าทำได้ตาม
KPIs (เป็นรายบุคคล) ได้มาก-น้อยแค่ไหน
สมมุตินาย
A มีผลการปฏิบัติงานดังนี้
ขออธิบายตารางข้างต้นดังนี้ครับ
1.
KPIs
คือตัวชี้วัดหลักที่บอกว่าพนักงานคนนั้น ๆ
จะต้องรับผิดชอบงานอะไรบ้างโดยจะมีการกำหนดน้ำหนักของแต่ละงานเพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าใจตรงกันว่าหัวหน้าให้ความสำคัญกับงานใดมากน้อยกว่ากัน
ซึ่งรวมน้ำหนักของทุกงานแล้วต้องไม่เกิน 100 เปอร์เซ็นต์
2.
ช่อง 80, 90, 100, 110, 120 ก็คือเปรียบเสมือนผลการปฏิบัติงานเป็นเกรด
E, D, C, B, A นั่นเอง
ซึ่งความหมายก็คือถ้าพนักงานทำงานได้ตามมาตรฐานก็คือจะได้เกรด C ก็จะคิดเป็น 100 (ตัวคูณคือ 1.0) แต่ถ้าพนักงานทำงานได้ดีกว่ามาตรฐานก็จะได้เกรด B ซึ่งเท่ากับจะมีคะแนนเพิ่มขึ้นจากมาตรฐาน
10 เปอร์เซ็นต์ (ตัวคูณคือ 1.1)
แต่ถ้าพนักงานทำงานได้ดีเลิศคือเกรด A ก็จะได้คะแนนสูงกว่ามาตรฐาน
20 เปอร์เซ็นต์ (ตัวคูณคือ 1.2)
ในทางกลับกันหากพนักงานปฏิบัติงานได้ต่ำกว่ามาตรฐานก็จะได้คะแนนลดลงจากมาตรฐาน 10
เปอร์เซ็นต์ (ตัวคูณคือ 0.9) และหากต่ำกว่ามาตรฐานมากที่สุดคะแนนก็จะลดลงเหลือ
80 (ตัวคูณคือ 0.8)
3.
สมมุติว่านาย A มีผลการปฏิบัติงานตาม
KPIs แต่ละข้อได้เกรดตามตารางข้างต้น
4.
ท่านก็จะสามารถคำนวณโบนัสตามผลงานให้นาย A ได้ตามตัวอย่างข้างต้น
ถึงตรงนี้หวังว่าท่านคงพอจะได้ไอเดียนำไปปรับใช้กับองค์กรของท่านบ้างแล้วนะครับ
....................................
วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563
มายาคติที่เกี่ยวกับ D I S C
ว่าจะเขียนเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้ว แต่ก็ลืมไปเสียทุกทีอาจจะเนื่องจากเริ่มสว.มั๊งครับเลยทำให้เรื่องที่คิดจะเขียนมาเร็วไปเร็ว 😉
มาวันนี้นึกออกเลยรีบเขียนเรื่องนี้ทันทีจะได้ไม่ลืม
คือเรื่องของมายาคติหรือความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ
D I S
C นี่แหละครับ
สำหรับใครที่ยังไม่เคยได้ยินเรื่องของ
D I S
C ก็ขอให้ไปดาวน์โหลด “รู้เขารู้เราด้วย D I S C” ที่ผมเปิดให้โหลดฟรีในบล็อกของผมคือ https://tamrongsakk.blogspot.com (มีอยู่
5 ตอน)
อ่านเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ตรงกันเสียก่อนนะครับ
แล้วค่อยมาอ่านเรื่องที่ผมจะเขียนต่อไปนี้
ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ
D I S
C ที่ผมเห็นมักมีดังนี้ครับ
1.
คิดว่าคนที่มีสไตล์เดียวกันจะทำงานร่วมกันได้ราบรื่น
ข้อนี้ผมว่าไม่จริงครับ
การที่ไปสรุปแบบรวบรัดว่า “การที่คนมีสไตล์เดียวกันจะทำงานร่วมกันได้ไม่มีปัญหา” นี่
ผมว่าคงเป็นการสรุปแบบคร่าว ๆ และเร็วเกินไป
เพราะในชีวิตจริงผมเคยพบเห็นคนสไตล์เดียวกัน เช่น คนสไตล์ D มาเจอกับ
D พอทำงานร่วมกันแล้ววงแตกนี่ก็มีให้เห็นอยู่บ่อย ๆ
หรือคนสไตล์ติสท์ I กับ I พอมาทำงานด้วยกันนี่ติสท์แตกไม่มองหน้ากันก็เยอะ
ดังนั้นสไตล์ที่เหมือนกันจึงไม่ได้แปลว่าจะทำงานร่วมกัน หรือใช้ชีวิตร่วมกันแล้วจะไม่มีปัญหานะครับ
2.
คิดว่าคนที่มีสไตล์ต่างกันเมื่อทำงานร่วมกันแล้วจะขัดแย้งกัน
ข้อนี้ก็ไม่จริงอีกเช่นเดียวกัน
ผมเคยเห็นคนสไตล์ D
กับ S ที่ทำงานร่วมกันได้ดีทั้ง ๆ
ที่เป็นสไตล์ที่ตรงกันข้าม หรือแม้แต่คนสไตล์ C กับ I
ที่มีลักษณะที่ตรงกันข้ามที่ทำงานกันด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกันก็มีให้เห็นอยู่ไม่น้อย
ถ้างั้น D I S C คืออะไรกันแน่?
ในมุมมองของผม D I S C คือการทำความเข้าใจลักษณะของคนแต่ละรูปแบบให้เข้าใจว่าคนแต่ละสไตล์จะมีบุคลิกลักษณะอุปนิสัยใจคอแบบไหน
คนสไตล์ไหนชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไร มีวิธีคิดในการทำงานหรือการใช้ชีวิตแบบไหนยังไง
ฯลฯ
เมื่อเราได้เรียนรู้เรื่องสไตล์หรือรูปแบบที่แตกต่างของคนทั้ง
4 แบบนี้แล้ว เราจะได้นำมาใช้ในการปรับตัวเพื่อทำงานร่วมกัน
หรือใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างราบรื่นดียิ่งขึ้นลดความขัดแย้งซึ่งกันและกันลง
อันนี้แหละที่ผมว่าคือประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องของ
D I S
C
แต่ไม่ควรเรียนรู้แล้วนำมาสรุปรวบยอดแบบฟันธงเร็ว
ๆ ง่าย ๆ
ว่าคนที่สไตล์เหมือนกันจะต้องทำงานร่วมกันหรือใช้ชีวิตร่วมกันอย่างราบรื่นแน่นอน หรือคนที่มีสไตล์ที่ตรงกันข้ามจะอยู่ด้วยกันไม่ได้แน่
ๆ
ถ้าคิดแบบนี้ผมว่าคงจะทำให้การเรียนรู้เกี่ยวกับ
D
I S C ผิดเพี้ยนไปแล้วแหละครับ
เรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งคือสไตล์ของคนไม่คงที่
และจะปรับเปลี่ยนไปได้เมื่อเวลาเปลี่ยนไป หรือเมื่อคน ๆ
นั้นได้รับประสบการณ์จากชีวิตจริงใหม่ ๆ
เข้ามาทำให้ได้ข้อคิดหรือเริ่มรู้สึกที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนตัวเอง
อย่างที่ผมเจอมาคือมีหัวหน้างานคนหนึ่งเคยเป็นคนสไตล์
D โผงผางดุดัน ชอบด่าว่าลูกน้องเสียงดังในแผนกอยู่เสมอ ๆ
พอวันร้ายคืนร้ายโดนลูกน้องที่สไตล์ D ดักต่อยหลังจากหัวหน้าคนนี้เดินออกไปจากบริษัทตอนเย็น
ๆ ก็ทำให้หัวหน้าคนนี้เปลี่ยนสไตล์จาก D ไปเป็น S แบบพลิกฝ่ามือ ทั้ง ๆ
ที่ก่อนหน้านี้มีคนเตือนหลายคนแล้วว่าไม่ควรด่าว่าลูกน้องรุนแรงแบบนั้น
แต่หัวหน้าคนนี้ก็ No สน No แคร์จนกระทั่งโดนลูกน้องต่อยถึงได้เปลี่ยนสไตล์ตัวเอง
อีกเรื่องหนึ่งคือแม้ว่าจะมีการทดสอบ
D
I S C ด้วยเครื่องมือใดก็ตามไม่ได้แปลว่าจะแม่นยำร้อยเปอร์เซ็นต์นะครับ
มันมีโอกาสที่จะ Error
ได้ ดังนั้นเครื่องมือทดสอบ D I S C จึงเป็นคล้ายกับการตรวจความดัน
หรือวัดชีพจรซึ่งอาจมีการผิดเพี้ยนได้บ้างก็อย่าไปซีเรียสกับเครื่องมือว่าเมื่อวัดออกมาแล้ว
“จะต้อง” เป็นคนสไตล์นั้นสไตล์นี้เสมอไป
และเมื่อรวมกับเรื่องที่ผมบอกไปแล้วว่าสไตล์ของคนจะไม่คงที่
และจะปรับเปลี่ยนไปได้ตามเวลาที่เปลี่ยนไป
จึงเป็นเรื่องที่เราควรจะต้องมาสำรวจสไตล์การใช้ชีวิตและการทำงานของตัวเราเองและคนรอบข้างว่าปัจจุบันเป็นยังไง
และเราจะมีวิธีปรับตัวเรายังไงให้สามารถใช้ชีวิตหรือทำงานร่วมกันคนรอบข้างได้อย่างราบรื่นมากที่สุดโดยใช้แนวทางของ
D I S
C มาเป็นตัวเทียบเคียง
หวังว่านี่คงจะเป็นอีกมุมมองหนึ่งที่จะทำให้ท่านเห็นภาพของ D I S C จากชีวิตจริงนอกตำราได้ชัดเจนขึ้นนะครับ
.......................................
วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2563
วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2563
วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2563
วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563
อาหารสมองด้าน HR
ท่านที่ติดตามผลงานของผมคงจะทราบดีว่าผมมีหนังสือที่เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีในบล็อกนี้ (ดูด้านขวาของบล็อก) และหนังสือที่ผมเขียนเป็นเล่มแล้วให้ลิขสิทธิ์กับทางสำนักพิมพ์นำไปพิมพ์เป็นเล่มเพื่อจัดจำหน่าย
แต่ไม่ว่าจะพิมพ์เป็นเล่มหรือให้ดาวน์โหลดฟรีก็ล้วนแต่มีวัตถุประสงค์จะแชร์ประสบการณ์ที่ผมเคยทำงานด้าน HR มาเพื่อให้เป็นไอเดียในการทำงานต่อยอดสำหรับผู้สนใจทั้งสิ้น
สำหรับหนังสือของผมส่วนหนึ่งที่พิมพ์เป็นเล่มนั้นผมได้มอบลิขสิทธิ์ให้ HR Center เป็นผู้พิมพ์และจัดจำหน่ายในขณะนี้คือ
วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563
อยากทำงาน HR ต้องจบสายตรงหรือไม่?
คำถามตามหัวเรื่องนี้เป็นคำถามของคนที่กำลังจะก้าวเข้ามาในวงการ HR ที่บางครั้งแม้เจ้าตัวเองก็ยังไม่รู้ว่างานนี้จะต้องทำอะไรบ้าง บางคนก็อาจจะคิดว่าคงจะเป็นงานรับคนเข้า-เอาคนออก ตรวจบัตรตอก ออกใบเตือนเหมือนงานธุรการทั่ว ๆ ไป
หรือหนักกว่านั้นบางคนก็คิดว่าเป็นงานเจ้าคนนายคนคือสามารถสั่งงานหน่วยงานอื่น ๆ ทำตัวเป็นเหมือนครูไหวใจร้ายที่คอยตักเตือนนักเรียน (ซึ่งก็คือพนักงาน) ที่ทำผิดกฎระเบียบได้ทั่วทั้งบริษัท ถ้าใครเตือนแล้วไม่ฟังก็ออกหนังสือตักเตือน หรือถ้ายังไม่ดีขึ้น HR ก็ไล่ออกไปได้เลย คือเข้าใจว่าทำงาน HR แล้วมีอำนาจล้นฟ้าคล้าย ๆ เป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่หรือเป็นมาเฟียในบริษัททำนองนั้นแหละผมก็เลยอยากจะแชร์ความคิดเห็นจากประสบการณ์อย่างนี้ครับ
ผมขอแบ่งประเภทของคนที่เข้ามาทำงาน
HR ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1.
คนที่เพิ่งจบใหม่ยังไม่มีประสบการณ์ทำงานมาก่อน
แบ่งเป็น
1.1
สมัยก่อนย้อนหลังไปไม่ต่ำกว่า 30 ปีได้มั๊งครับ
คนที่ทำงาน HR (รุ่นเก่า ๆ ) มักจะจบสายสังคมศาสตร์ เช่น
รัฐศาสตร์, นิติศาสตร์, ศิลปศาสตร์ ฯลฯ ส่วนพวกที่จบสายวิทยาศาสตร์ก็อาจจะมีบ้าง
เช่น จบจากคณะวิทยาศาสตร์ หรือวิศวกรรมอุตสาหการ ที่จบปุ๊บก็เข้ามาทำงานด้าน HR
แต่จะมีน้อยกว่าคนที่จบสายศิลปศาสตร์
เนื่องจากในสมัยก่อนนี้ยังไม่มีการสอนวิชาบริหารงานบุคคลโดยตรงในระดับปริญญา ดังนั้นคนที่จบใหม่และเข้าทำงาน
HR จึงมักจะถูกองค์กรส่งไปเข้ารับการอบรมด้านการบริหารงานบุคคลในองค์กรที่จัดการอบรมแบบเป็นหลักสูตรที่ได้รับวุฒิบัตรทางด้านนี้
เช่น หลักสูตรการบริหารงานบุคคลของกระทรวงแรงงาน (สมัยก่อนจะเรียกว่ากรมแรงงาน), สมาคมจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT)
เป็นต้น ซึ่งการอบรมดังกล่าวก็จะใช้เวลาหลายวัน
และเขาก็จะสอนในเรื่องของ HR Functions ทั้งหมดที่คนทำงาน HR
ต้องทราบ เมื่อจบก็จะได้รับวุฒิบัตรผ่านการอบรมแล้วก็มาทำงานด้าน HR
ต่อไป
1.2
ในยุคปัจจุบัน มีการเรียนการสอนในสาขาบริหารงานบุคคลในระดับปริญญาโดยจะมีการสอนนักศึกษาให้ทราบ
HR
Functions ต่าง ๆ ทั้งระดับปริญญาตรี-โท-เอก เรียกว่าถ้าใครสนใจอยากจะทำงานด้าน
HR ก็เรียนรู้กันได้ตั้งแต่ปริญญาตรีมาเลย
2.
คนที่มีประสบการณ์ทำงานด้านอื่นมาแล้วและสนใจมาทำงานด้าน
HR
หรือถูกย้ายมาทำงาน HR คนกลุ่มนี้ผมแบ่งเป็น
2.1
คนที่สนใจอยากจะมาทำงานด้าน HR อย่างจริงจัง
2.2
คนที่ไม่ได้อยากมาทำงาน HR แต่ถูกบริษัทย้ายมาอาจจะเนื่องจากทำงานในหน่วยงานเดิมไม่ดีมีปัญหาหรือผลงานย่ำแย่ก็เลยย้ายมาอยู่ที่ฝ่ายบุคคลก็เลยต้องจำใจทำไปก่อน
และอาจหางานอื่นไปด้วยเพราะไม่ชอบงาน HR
หรือบางคนถูกบริษัทย้ายมาทำงาน HR เพื่อรอเกษียณ
2.3
เป็นผู้บริหารในหน่วยงานอื่นแต่ถูกฝ่ายบริหารระดับสูงย้ายมาเป็นผู้บริหารในฝ่าย
HR (จะเรียกชื่อตำแหน่งว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคล,
ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล, Vice President, Human Resource ก็ว่ากันไป) เช่น ย้ายผู้จัดการฝ่ายบัญชีให้มาเป็นผู้จัดการฝ่าย HR
เป็นต้น
จากที่ผมเล่าที่มาของคนที่มาทำงาน
HR ข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่าคนที่มาทำงาน HR ไม่ว่าจะจบมาทางด้าน HR หรือไม่ก็ตามล้วนมีที่มาและพื้นเพที่แตกต่างกัน
แต่สิ่งสำคัญที่สุดอยู่ที่ว่า..คน ๆ
นั้นรักและสนใจที่จะทำงานด้าน HR อย่างจริงจังหรือไม่!
ถ้ารักและสนใจที่จะทำงานด้าน HR แล้ว
แม้ไม่จบสายตรงด้าน HR แต่ถ้ามีอิทธิบาท 4 คือ
1.
ฉันทะ มีความรัก (ฝรั่งเรียกว่ามี Passion) ในงานที่ทำ
2.
วิริยะ มีความมานะพากเพียรในงานที่รับผิดชอบ
3.
จิตตะ มีความเอาใจใส่ในงานที่ทำ
คิดหาทางพัฒนาตัวเองให้มีความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ ในงาน HR ทุกด้านให้รู้ลึกรู้จริง
4.
วิมังสา หมั่นทบทวนแก้ไขปรับปรุงงานที่ทำและพัฒนางานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
ๆ
ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วล่ะก็คน
ๆ นั้นมาถูกทางและจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในงาน HR ได้แน่นอนครับ
หลายคนที่เป็นมืออาชีพด้าน
HR ที่ผมรู้จักเขาก็ไม่ได้จบ HR มาโดยตรง
แต่เขามีความรักและเข้าใจในงานแบบนี้ พยายามศึกษาเข้าใจในเรื่องของผู้คน
ชอบที่จะต้องเข้าไปทำงานแก้ปัญหาเกี่ยวกับผู้คน ที่สำคัญคือเป็นคนสนใจใฝ่เรียนรู้ศึกษาหาความรู้และประสบการณ์ด้าน
HR อยู่เสมอ ๆ
หลายคนก็ผันตัวออกมาเป็นเจ้าของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงาน
HR เช่น มาทำบริษัท Headhunter, ตั้งบริษัทจัดการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร,
มาเป็นวิทยากรที่ปรึกษาด้าน HR ก็มีให้เห็นอยู่มากมาย
ในทางกลับกัน
ถ้าใครที่เข้ามาทำงาน HR ด้วยความคิดว่างาน HR คืองานธุรการทั่วไป
เป็นงานควบคุมคนทั้งบริษัทแบบมาเฟีย ทุกคนต้องเชื่อฟังฉัน ไม่เคยสนใจใฝ่เรียนรู้
เป็นแค่งานประเภท “รับคนเข้า-เอาคนออก” ใคร ๆ ก็ทำได้ หรือเห็นงาน HR เป็นศาลาพักร้อนไปวัน ๆ หรือทำเพื่อรอเกษียณ
อย่างนี้แล้วผมว่าต่อให้คน
ๆ นั้นจบมาตรงด้าน HR
ก็คงมาทำงานผิดที่แล้วล่ะครับ
แม้จะมีชื่อตำแหน่งเป็น
HR
Manager หรืออะไรก็ตามคงไม่ถือว่าเป็น HR มืออาชีพได้อย่างแน่นอน
แถมยังจะทำให้ผู้คนเข้าใจงาน HR แบบผิด ๆ หรือดูถูกดูแคลนอีกต่างหาก!!
จากที่เล่ามาทั้งหมดจึงมาสู่คำตอบและข้อสรุปของผมที่ว่า..
ถ้าใครอยากทำงานด้าน HR ก็ก้าวเข้ามาเลยครับ
ขอให้ศึกษาหาความรู้และประสบการณ์ด้าน HR ทุกด้านให้รู้ลึกรู้จริง
แม้ว่าจะไม่ได้จบตรงมาทาง HR แต่ผมมั่นใจว่าคน ๆ นั้นจะเป็นมืออาชีพด้าน
HR และสามารถใช้เป็นวิชาชีพนี้หาเลี้ยงตัวเองไปได้เรื่อย ๆ
แม้อายุจะเลยวัยเกษียณไปแล้วก็ตาม
ยินดีต้อนรับเข้าสู่วงการ
HR และขอให้มีความสุขกับงานนี้ครับ
………………………………….
วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563
วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563
วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563
จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงให้วันละ 100 บาททุกวันเป็นค่าจ้างหรือสวัสดิการ?
มีคำถามจากผู้เข้าอบรมถามผมว่า....
บริษัทให้เบี้ยเลี้ยงพนักงานที่มาทำงานทุกวันเพื่อช่วยเหลือการเดินทางวันละ
100
บาทโดยจ่ายเข้า Payroll เดือนละ 3,000 บาท บริษัทถือว่าเป็นสวัสดิการให้กับพนักงานแบบนี้จะถือว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่?
ก่อนตอบคำถามนี้ผมคงต้องทำความเข้าใจกับผู้ถามให้เข้าใจตรงกันก่อนคือ....
คำว่า
“เบี้ยเลี้ยง”
ในความหมายของผมหมายถึงเงินที่บริษัทจ่ายให้ในกรณีที่พนักงานต้องเดินทางไปทำงานนอกสถานที่ทำงาน
เช่น หัวหน้าสั่งให้พนักงานเดินทางจากสำนักงานที่กรุงเทพไปทำงานที่เชียงใหม่
บริษัทก็จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงในการเดินทางไปทำงานให้วันละ 100 บาท
เมื่อพนักงานไปทำงานเสร็จแล้วเดินทางกลับมาที่กรุงเทพบริษัทก็จะไม่จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงการเดินทางให้อีก
แต่ถ้าสั่งให้เดินทางไปทำงานต่างจังหวัดอีกถึงจะจ่ายให้ตามอัตราที่กำหนดไว้
พูดง่าย ๆ คือจ่ายเป็นครั้ง ๆ ตามที่เดินทางไปทำงานต่างจังหวัดจริง
ถ้าบริษัทจ่ายเบี้ยเลี้ยงในลักษณะนี้และมีระเบียบสวัสดิการเกี่ยวกับการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเพื่อช่วยเหลือการเดินทางของพนักงานในการไปทำงานนอกสำนักงาน
และเมื่อเดินทางกลับมาทำงานตามปกติบริษัทก็ไม่จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงให้อีกอย่างนี้ค่าเบี้ยเลี้ยงแบบนี้ก็เป็นสวัสดิการครับ
ไม่ใช่ค่าจ้างเพราะมีหลักและวิธีการปฏิบัติโดยมีเจตนารมณ์ให้เป็นสวัสดิการช่วยเหลือการเดินทางไปทำงานต่างจังหวัดจริง
ๆ
มาถึงตรงนี้เราคงเข้าใจความหมายของเบี้ยเลี้ยงตรงกันแล้วนะครับ
คราวนี้ผมก็เลยถามกลับไปยังผู้ถามว่า....
1.
บริษัทของคุณมีระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเบี้ยเลี้ยงในการเดินทางไปทำงานในประเทศ
(หรือระเบียบค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปทำงานต่างประเทศ) บ้างหรือไม่?
คำตอบคือ “ไม่มี”
ครับ
2.
บริษัทมีวิธีการจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้กับพนักงานยังไง?
คำตอบคือ
“บริษัทจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้กับพนักงานทุกคน ๆ ละ 100 บาท
เพื่อช่วยเหลือการเดินทางมาทำงานทุกวันเพราะพนักงานต้องเดินทางจากบ้านมาที่ทำงาน”
3.
หมายความว่าการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงของบริษัทไม่ใช่การจ่ายเนื่องจากการที่พนักงานต้องเดินทางไปทำงานต่างจังหวัดใช่หรือไม่?
คำตอบคือ “ใช่”
4.
แล้วที่บริษัทจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้กับพนักงานทุกคน
ๆ ละ 100
บาทน่ะ จ่ายแบบเหมาเข้า Payroll เดือนละ 3,000
บาท เท่ากันทุกคนใช่หรือไม่?
คำตอบคือ “ใช่”
5.
ถ้าตอบอย่างนี้ก็แปลว่าบริษัทจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงให้กับพนักงานแม้ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ด้วยใช่หรือไม่
คำตอบคือ “ใช่”
ท่านที่อ่านคำถาม-คำตอบมาถึงตรงนี้ที่พอจะมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานบ้างก็คงจะตอบคำถามนี้ได้แล้วนะครับว่าการจ่ายเบี้ยเลี้ยงแบบนี้เป็นค่าจ้างหรือไม่
ถูกต้องแล้วครับ
ถ้าบริษัทตอบคำถามมาแบบนี้แม้บริษัทจะเรียกชื่อเงินที่จ่ายแบบนี้ว่าเบี้ยเลี้ยง
แม้บริษัทจะอ้างว่าเป็นสวัสดิการก็ตาม
แต่เงินนี้ถือเป็นค่าจ้างครับ เพราะ....
1.
เงินตัวนี้บริษัทจ่ายให้พนักงานทุกคนเท่ากัน
และจ่ายเป็นประจำ
2.
จ่ายให้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ เช่น จะจ่ายให้เมื่อพนักงานไปทำงานต่างจังหวัดหรือไปทำงานนอกสถานที่ทำงานปกติ
และเมื่อเดินทางกลับมาทำงานตามปกติแล้วบริษัทก็จะไม่จ่ายเบี้ยเลี้ยงให้และบริษัทก็ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์นี้
3.
เงินตัวนี้จ่ายให้พนักงานแม้แต่วันหยุดเสาร์-อาทิตย์
ซึ่งถามว่าวันเสาร์-อาทิตย์เป็นวันหยุดทำไมพนักงานถึงได้เบี้ยเลี้ยงเดินทางด้วยล่ะครับ
ดังนั้นแม้บริษัทจะเรียกชื่อเงินตัวนี้ว่าเป็น
“เบี้ยเลี้ยง”
และถือว่าเป็นสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือพนักงานแต่วิธีการจ่ายและเจตนาในการจ่ายของบริษัทไม่เข้าข่ายสวัสดิการครับ
เงินตัวนี้จึงต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณโอที,
ค่าชดเชย, ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า
หรือแม้แต่เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบเพื่อนำส่งประกันสังคมด้วยนะครับ
ถ้าบริษัทยังไม่นำเงินตัวนี้มาเป็นฐาน “ค่าจ้าง”
และปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายก็คงต้องเตรียมรับปัญหาในอนาคตที่จะตามมา
ท่านลองไปสำรวจเพิ่มเติมดูนะครับว่าบริษัทของท่านยังมีการจ่ายเงินอะไรที่เข้าข่ายค่าจ้างตามแนวทางที่ผมเล่ามาให้ฟังข้างต้นอีกไป จะได้ไปบริหารจัดการให้ถูกต้องต่อไปนะครับ
...................................