ผมว่ายังมีคนที่เป็นหัวหน้าหรือผู้บริหารอีกไม่น้อยเลยนะครับที่อยากเห็นลูกน้องมาทำงานทุกวันโดยไม่อยากจะให้ลาหยุดงาน
โดย ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ วิทยากรและที่ปรึกษาด้าน HR บริษัท ทีอาร์เอ็นคอนซัลแทนท์ จำกัด อีเมล์ tamrongsakk@hotmail.com หรือ tamrongsakk@gmail.com
วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567
ลูกน้องไม่เคยลาหยุดงานเลย..ดีไหม?
วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2567
บริษัทมีสิทธิขอต่อทดลองงานได้ไหม ?
ถ้าจะถามว่าทำไมต้องมีการทดลองงานก็คงจะได้คำตอบทำนองที่ว่าเพราะบริษัทอยากจะดูผลงานกันให้แน่ใจเสียก่อนว่าจะทำงานได้จริงไหม เป็นยังไงบ้าง ก็เลยกำหนดช่วงเวลาในการทดลองงานขึ้นมา
โดยทั่วไปมักจะมีระยะเวลาทดลองงานไว้คล้ายกันคือไม่เกิน 120 วัน
ถ้าจะถามต่อว่า “ทำไมต้องทดลองงานกันไม่เกิน 120 วันด้วย” ??
ผมได้ยินคำตอบของคนส่วนใหญ่ก็คือ “เพราะกฎหมายแรงงานกำหนดเอาไว้” !!??
จริงหรือครับที่กฎหมายแรงงานกำหนดให้ทดลองงานไม่เกิน 120 วัน ?
ถ้าเป็นอย่างนี้จริง บริษัทที่มีการต่อทดลองงานออกไปเกินกว่า 120 วันก็จะทำผิดกฎหมายแรงงานแหงแก๋
เรื่องนี้ก็เลยมาเป็นคำถามในวันนี้ยังไงล่ะครับว่าบริษัทมีสิทธิจะขอต่อทดลองงานพนักงานใหม่ได้หรือไม่
แถมพนักงานเข้าใหม่บางคนยังเข้าใจว่าบริษัทที่ขอต่อทดลองงานกำลังทำผิดกฎหมายแรงงานที่กำหนดให้ทดลองงานไม่เกิน 120 วัน
ผมเลยขออธิบายให้เข้าใจตรงกันตรงนี้ว่า....
ไม่มีมาตราไหนในกฎหมายแรงงานที่ระบุให้มีการทดลองงานเลยแม้แต่มาตราเดียวนะครับ !
การทดลองงานจึงเป็นเรื่องที่ตกลงกันเองระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
แล้วทำไมบริษัทส่วนใหญ่ถึงทดลองงานกันไม่เกิน 120 วันล่ะ ?
ก็ตอบแบบตรงไปตรงมาได้ว่า….
ถ้าหากมีการทดลองงานยังไม่ถึง 120 วัน แล้วลูกจ้างผลงานไม่ดีมีปัญหาเช่น ในระหว่างการทดลองงานพนักงานก็ชอบมาสาย, อู้งาน, ไม่รับผิดชอบงาน, ไม่สนใจเรียนรู้งาน, ไม่สามารถทำงานได้อย่างที่บริษัทคาดหวัง ฯลฯ
บริษัทก็สามารถจะแจ้งเลิกจ้างพนักงานที่มีปัญหาเหล่านี้ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 ของกฎหมายแรงงาน (รายละเอียดให้ดูในมาตรา 118 เพิ่มเติมนะครับ)
เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว สมมุติว่าบริษัทรับพนักงานเข้ามาทำงานและทดลองงานมาแล้วเมื่อถึงกำหนด 120 วัน บริษัทอยากจะต่อทดลองงานจึงเป็นสิ่งที่บริษัททำได้ครับ
แต่บริษัทจะต้องเข้าใจว่าสถานะของพนักงานทดลองงานคนนี้กลายเป็น “ลูกจ้าง” ที่ทำงานครบ 120 วันไปแล้วนะครับ
ดังนั้นเมื่อต่อทดลองงานออกไปไม่ว่าจะกี่วันหรือกี่เดือน แต่ถ้าอายุงานของลูกจ้างทดลองงานคนนี้ครบ 120 วันขึ้นไป หากบริษัทไม่พึงพอใจกับผลการทำงานแล้วบริษัทต้องการจะเลิกจ้าง บริษัทก็จะต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงานตามมาตร 118 ก็เท่านั้นแหละครับ
มาถึงตรงนี้ผมเชื่อว่าทั้งนายจ้างและลูกจ้างคงเข้าใจเรื่องของการต่อทดลองงานตรงกันแล้วนะครับ
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2567
หนังสือเปิดให้ดาวน์โหลดฟรี
เนื่องจากยังมีคำถามมาที่ผมอยู่เป็นระยะเพื่อขอซื้อหนังสือที่ผมเคยเขียนมานานแล้วและทางสำนักพิมพ์ก็ไม่ได้พิมพ์เป็นเล่มแล้ว แต่เนื่องจากผมเป็นคนเขียนไม่ใช่สำนักพิมพ์จึงไม่มีขาย ผมก็เลยนำเอาหนังสือเหล่านั้นมาปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยและเข้าใจง่ายมากขึ้น (เนื้อหาในหนังสือที่แจกฟรี Update มากกว่าที่เคยพิมพ์เป็นเล่ม) แล้วเอามาแจกฟรีในบล็อกของผมคือ http://tamrongsakk.blogspot.com
หรือถ้าใครอ่านพบในเฟซบุ๊คของผมก็ให้ดาวน์โหลดเล่มที่ต้องการได้ตามนี้
1. Download หนังสือ
"การประเมินค่างานและการทำโครงสร้างเงินเดือน (ภาคปฏิบัติ)"
https://www.dropbox.com/s/uho10vpz55vt5xu/JE%26SS_Free.pdf?dl=0
https://www.dropbox.com/s/cc8to40p10ojyat/25%20%20Q%26A_SS.pdf?dl=0
3.
ดาวน์โหลดหนังสือ
“ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างเงินเดือนแบบง่าย ๆ”
4. Download หนังสือ “การบริหารความเสี่ยงด้าน HR”
6. Download หนังสือ
"จัดการฝึกอบรมให้มีประสิทธิผลอย่าง Training Officer มืออาชีพ"
https://www.dropbox.com/s/urvq70samjd3tfr/TO_Free.pdf?dl=0
https://www.dropbox.com/s/oe537r47y4yk8g6/HR_Horasad.pdf?dl=0
8. ดาวน์โหลดหนังสือ
"คู่มือการเป็นวิทยากร" หรือ Train the trainer
https://www.dropbox.com/s/52as4h4fvo57k8b/TrainTheTrainer.pdf?dl=0
9. ดาวน์โหลดหนังสือ “การทำ Training
& Development Roadmap ตามแผนงานขององค์กร (ภาคปฏิบัติ)”
https://www.dropbox.com/s/0rq5x9ukx0zatqm/TRM_By%20Strategic%20Plan.pdf?dl=0
10. ดาวน์โหลดหนังสือ "สนุกไปกับพฤติกรรมคนด้วยจิตวิทยาและเทวดากรีก"
11. ดาวน์โหลดหนังสือ “กระตุกต่อมคิดชีวิตคนทำงาน”
12. ดาวน์โหลดไฟล์ "รู้เขา..รู้เราด้วย D
I S C"
14. ดาวน์โหลดหนังสือ
“คุยเฟื่องเรื่องค่าตอบแทน”
16. ดาวน์โหลดไฟล์
“อคติกับพฤติกรรมคน”
18. Micro Pocket Book “25 คำถามเกี่ยวกับโครงสร้างเงินเดือนจากประสบการณ์”
21.หนังสือ “ถาม-ตอบปัญหาค่าจ้างเงินเดือนจากหน้างาน”
https://www.dropbox.com/scl/fi/7tcldqpsqqfjtywaxye0e/.pdf?rlkey=vo26my5vwpyud811wkg84968k&dl=0
วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2567
พลังของโซเชียลมีเดียกับการบริหารงานบุคคล
ต้องยอมรับกันแล้วว่าพลังของโซเชียลมีเดียมีมากมายจริง ๆ ทั้งทางบวกและลบ
มองไม่เห็นแต่สัมผัสได้ว่ามีพลังจริง ๆ ครับ
พลังของโซเชียลฯทางบวกสามารถโอบอุ้มช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก คนถูกรังแกอย่างไม่เป็นธรรมให้มีกำลังใจลุกขึ้นมายืนหยัดในสังคมได้
ในขณะที่พลังโซเชียลฯทางลบสามารถลงทัณฑ์คนที่ทำไม่ดีทำผิดแบบทัวร์ลง เล่นงานจนทำให้คนที่ถูกข่าวลือไปในทางที่ไม่จริงเสียผู้เสียคนไปก็ไม่น้อย
แล้วพลังของโซเชียลฯมาเกี่ยวอะไรกับการบริหารงานบุคคล ?
ในสมัยก่อนบริษัทจะทำยังไงกับพนักงานก็ได้แล้วแต่ใจของฝ่ายบริหารแล้วแต่ใจของเถ้าแก่หรือตามใจฝ่ายบริหาร เช่น....
- เงินเดือนพนักงาน 20,000 บาท ก็จ่ายแค่ 18,000 บาท ที่เหลืออีก 2,000 บาทเอาไว้จ่ายเดือนหน้า (ขอต๊ะไว้ก่อน) หรือบางเดือนก็จ่ายเงินเดือนไม่ตรงเวลาอีกต่างหาก
- หักเงินค้ำประกันการทำงานทุกตำแหน่งงาน ใครจะเข้าทำงานตำแหน่งไหนต้องเอาเงินมาวางค้ำประกันความเสียหายแม้ตำแหน่งนั้นไม่เกี่ยวกับความรับผิดชอบในตัวเงินหรือทรัพย์ของนายจ้างก็ตามซึ่งผิดกฎหมายแรงงาน
- ทำสัญญาจ้างงานบอกเอาไว้ว่าถ้าไม่ผ่านทดลองงานบริษัทจะไม่จ่ายเงินเดือนงวดสุดท้ายเพราะถือว่าผลงานไม่ดี
- หากพนักงานไม่ลาออกล่วงหน้า 30 วันตามระเบียบของบริษัท บริษัทจะไม่จ่ายเงินเดือนงวดสุดท้ายเพราะถือว่าทำผิดกฎระเบียบเรื่องการลาออก
- ไม่ใช้ “ค่าจ้าง” เป็นฐานในการคำนวณโอที
- ฯลฯ
หากบริษัททำสิ่งที่ผิด ๆ ตามที่ผมยกตัวอย่างมาข้างต้นนี้ในสมัยก่อนมีสื่อโซเชียลก็ไม่ค่อยมีผลกระทบอะไรกลับมาที่บริษัทนัก
เพราะพนักงานก็ไม่รู้ว่าจะไปร้องเรียนเอากับใคร อย่างมากก็เขียนจดหมายไปที่หนังสือพิมพ์เพื่อร้องเรียนซึ่งก็ไม่รู้ว่าจดหมายจะไปถึงสำนักพิมพ์หรือเปล่า, เขาจะลงพิมพ์ให้ไหม, ถ้าตีพิมพ์ไปแล้วจะมีคนสนใจติดตามเรื่องไหม ฯลฯ
ถ้าไม่ใช่เรื่องเด่นประเด็นฮ็อตหรือเรื่องน่าสนใจจริง ๆ ก็มักจะเงียบหายไป
แต่ในปัจจุบันนี้ทุกคน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่คน Gen Y เป็นต้นไป) มีสื่อโซเชียลฯอยู่ในมือไม่ว่าจะเป็นไลน์, เฟซบุ๊ก, อินสตาแกรม,ติ๊กตอก ฯลฯ
ถ้าบริษัทไหนไปทำแบบที่ผมยกตัวอย่างข้างต้นในยุคนี้ เรื่องเหล่านี้ก็จะถูกเผยแพร่ออกไปในสื่อออนไลน์ได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นข้อความ, ภาพ, คลิป
ยิ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดียิ่งมีการแชร์ต่อกันไปอย่างรวดเร็ว เท่า ๆ กับชื่อเสียงขององค์กรก็จะเสียหายอย่างรวดเร็วและกู้กลับคืนมาได้ยากลำบากอีกด้วย
ยังจำเรื่องพี่กบที่ไม่อนุญาตให้ลูกน้องไปงานศพคุณแม่ได้ใช่ไหมครับ
ดังนั้น องค์กรและผู้บริหารทุกระดับควรจะต้องหันกลับมาทบทวนกฎ ระเบียบ วิธีการปฏิบัติ รวมไปถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลที่ปฏิบัติกับพนักงานแบบไม่ถูกต้องเสียใหม่ให้มีความถูกต้อง ชัดเจน มีเหตุมีผลที่อธิบายให้เข้าใจตรงกันได้ เพื่อจะได้ไม่ต้องไปเป็นจำเลยของสังคมในสื่อโซเชียล
ซึ่ง HR เองก็จะต้องปรับตัวเองให้เข้าสู่โหมดออนไลน์เพื่อหาข้อมูลให้มากขึ้นเพื่อนำมาสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้บริหารและพนักงานให้เกิดแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร
รวมถึงคนที่ทำงาน HR ควรจะต้องกล้าให้ความเห็นคัดค้านฝ่ายบริหารหากจะมีการตัดสินใจใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานหรือไม่ถูกต้องในหลักของการบริหารงานบุคคล
HR ต้องกล้าพูดกล้าชี้ให้เห็นถึงผลดี-ผลเสียเพื่อให้ฝ่ายบริหารทบทวนการตัดสินใจใหม่อีกครั้งอย่างมืออาชีพ เพื่อลดผลกระทบความเสียหายและลดโอกาสที่จะทำให้องค์กร (หรือตัวผู้บริหารในองค์กร) ถูกนำไปโพสในเชิงลบผ่านสื่อโซเชียลด้วยนะครับ
ที่ผมพูดมานี้ไม่ได้แปลว่าเราจะต้องกลัวสื่อโซเชียลฯจนไม่เป็นอันทำอะไรนะครับ เพียงแค่อยากให้ตระหนักว่า....
สื่อโซเชียล....อยู่ในอากาศในคลื่นไวไฟหรือ 5G มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้..แต่มีพลังอยู่จริง
ถ้าองค์กรหรือฝ่ายบริหาร (รวมถึงหัวหน้างานทุกระดับ) มีหลักและวิธีการบริหารงานบุคคลด้วยความถูกต้องมีเหตุผล และรู้จักใช้สื่อโซเชียลเป็นก็จะได้รับพลังนี้ในเชิงบวก
แต่ถ้ามีการบริหารงานบุคคลแบบไม่ถูกต้องหรือใช้สื่อนี้ไม่เป็นก็ต้องระวังพลังของสื่อโซเชียลในเชิงลบเอาไว้ให้ดีครับ
วันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2567
หนังสือ “ถาม-ตอบปัญหาค่าจ้างเงินเดือนจากหน้างาน”
มาตามสัญญาถือว่าวันนี้วันครูเป็นฤกษ์สะดวกที่ผมจะเปิดให้คนที่สนใจดาวน์โหลดหนังสือ “ถาม-ตอบปัญหาค่าจ้างเงินเดือนจากหน้างาน” ที่รวบรวมเคสและคำถามต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารค่าจ้างเงินเดือนเอาไว้ให้คนที่สนใจเรื่องเหล่านี้ได้นำไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่นะครับ
ดาวน์โหลดหนังสือได้ที่ https://www.dropbox.com/scl/fi/7tcldqpsqqfjtywaxye0e/.pdf?rlkey=vo26my5vwpyud811wkg84968k&dl=0
ถ้าใครเห็นว่ามีประโยชน์จะแชร์จะส่งต่อให้ญาติมิตรก็ทำได้เลยนะครับ
#Pay it forward
วันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2567
จะแก้ปัญหาระวังเจอ Cobra Effect
เคยมีคำกล่าวว่าแขกกับงูเป็นของคู่กัน
ในยุคสมัยที่อินเดียยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษก็เจอปัญหาวุ่นวายเกี่ยวกับงูนี่แหละครับ
โดยเฉพาะในเดลีเมืองหลวงมีอัตราการเกิดของประชากรงูเห่า
(ที่ไม่ใช่คนที่ย้ายพรรคนะครับ) เพิ่มขึ้นมาก
แหม..ถ้าเป็นหมูเห็ดเป็ดไก่วัวควายเพิ่มขึ้นก็คงไม่มีปัญหาอะไรหรอก
แต่นี่ดันเป็นงูเห่าเพิ่มขึ้น จะไปไหนมาไหนก็ต้องคอยระวังระแวงว่าจะปุ๊บปั๊บรับโชคไปฉีดเซรุ่มกันเมื่อไหร่ก็ไม่รู้
แน่นอนครับว่าผู้ปกครองชาวอังกฤษก็คงไม่อยากจะให้ชาวบ้านชาวเมืองต้องมาลุ้นกับการถูกงูเห่ากัดก็เลยคิดแก้ปัญหานี้แบบตรงไปตรงมา
ด้วยการออกประกาศให้คนอินเดียออกล่างูเห่าแล้วนำซากงูเห่ามาขึ้นรางวัลโดยคิดว่าการแก้ปัญหาแบบนี้จะทำให้ประชากรงูเห่าลดลงได้
เรียกว่ายิ่งฆ่างูเห่าได้มากก็ยิ่งได้เงินมาก
ก็เลยทำให้คนอินเดียในยุคนนั้นออกล่างูเห่าเอาเงินรางวัลกันขนานใหญ่
ช่วงแรก ๆ
ของนโยบายล่างูเห่าขึ้นเงินรางวัลนี้ก็เป็นไปด้วยดีหรอกครับ
แต่เมื่อช่วยกันออกล่างูเห่าไปเรื่อย
ๆ ก็ทำให้ประชากรงูเห่าลดลงไปตามที่อังกฤษต้องการ ในขณะที่รายได้ของแขกก็ลดลงตามไปด้วย
จึงทำให้แขกปิ๊งไอเดียคิดแก้ปัญหาของตัวเองเพิ่มรายได้ให้กลับมาเหมือนเดิมหรือมากกว่าเดิมแบบหักปากกาเซียน
คือแทนที่จะใช้วิธีไปล่างูเห่าแบบเดิม
แขกก็เอางูเห่าไปเพาะเลี้ยงแบบทำฟาร์มงูเห่าแล้วก็นำมาฆ่าเพื่อเอาซากงูเห่าไปขายเพื่อขึ้นเงินกับอังกฤษ
ในเวลาต่อมาอังกฤษก็รู้ว่าตัวเองต้องการจะแก้ปัญหาหนึ่งแต่กลับกลายเป็นการสร้างปัญหาใหม่ที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
ก็เลยประกาศยกเลิกการล่างูเห่าเอาเงินรางวัลซะงั้น
ข้างฝ่ายแขกพอถูกอังกฤษเท
อาบังแกก็เลยเทบ้าง
เทงูเห่าที่เพาะเลี้ยงไว้นี่แหละครับ
ก็คือเอางูเห่าที่เลี้ยงไว้แล้วขายไม่ได้ไปปล่อยทิ้ง
ก็เลยเป็นที่มาของคำว่า
Cobra
Effect
ผลก็คืองูเห่าในเดลีมีมากขึ้นกว่าเดิมเสียอีก
!!??
ก็เลยเป็นข้อคิดสำหรับนักแก้ปัญหาว่าในการแก้ปัญหาต้องมองอย่างรอบด้าน
ต้องมองการแก้ปัญหาและผลกระทบจากมุมอื่นที่ไม่ใช่เพียงมุมมองของตัวเราเองเพียงฝ่ายเดียว
เพื่อไม่ให้เกิด Cobra Effect อย่างที่ผมฝอยมานี่แหละครับ
ปิดท้ายด้วยคำถามว่าบริษัทของท่านเคยแก้ปัญหาแล้วเจอ Cobra Effect บ้างไหมครับ ?
วันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2567
PMS-เป้าหมายของบริษัท vs เป้าหมายของพนักงานคือเป้าหมายเดียวกัน ?
ผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะเห็นว่าในปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ ก็ล้วนแต่จะมีการกำหนดเป้าหมายให้พนักงานทำงานให้บรรลุผลที่วางไว้กันอยู่ไม่น้อย ซึ่งมักจะเรียกกันว่าการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management System-PMS) บ้าง หรือบางแห่งก็เรียกให้ดูดีขึ้นเป็นการบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Performance System-SPMS)