ตอบอย่างนี้ครับ
1. ถ้าบริษัทสงวนสิทธิในการบริหารจัดการเอาไว้ชัดเจน
เช่น มีประกาศแจ้งให้พนักงานทั้งบริษัททราบว่า บริษัทจะพิจารณาการจ่ายโบนัสประจำปีโดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้คือ
1.1 ขึ้นอยู่กับผลการประกอบการของบริษัทว่าในปีนั้น
ๆ บริษัทมีกำไรมาก-น้อยแค่ไหน
1.2 ขึ้นอยู่กับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
1.3 ขึ้นอยู่กับการประเมินของผู้บังคับบัญชา
1.4 พนักงานที่ทำงานถึงวัน-เดือน-ปีไหนถึงจะได้รับโบนัส
และถ้าพนักงานลาออกหรือถูกเลิกจ้างก่อนวัน-เดือน-ปีไหนจะไม่ได้รับโบนัส
หลักเกณฑ์ข้างต้นนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่บริษัทประกาศนะครับ
ในบางบริษัทอาจจะมีหลักเกณฑ์อื่นเพิ่มเติมมากกว่านี้ก็ได้
ดังนั้นบริษัทจะพิจารณาจ่ายโบนัสให้กับพนักงานหรือไม่
จะจ่ายโบนัสให้มากหรือน้อยแค่ไหนก็จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น
ในกรณีอย่างนี้โบนัสก็ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้างครับ
เพราะไม่ใช่ค่าตอบแทนการทำงานที่จ่ายเป็นประจำไม่ถือว่าเป็นสภาพการจ้าง ถือว่าเป็นสิทธิในการบริหารจัดการของนายจ้างที่แจ้งให้ลูกจ้างทราบไว้ล่วงหน้าชัดเจน
2. แต่ถ้าบริษัทไม่ทำตามข้อ
1
แล้วบริษัทไปทำให้เงินโบนัสกลายเป็น “สภาพการจ้าง” เช่น มีการระบุเอาไว้ในสัญญาจ้างว่า
“บริษัทจะจ่ายโบนัสให้กับพนักงานทุกปี ๆ ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 2
เดือน ทุกวันที่ 30 มิถุนายน และวันที่ 31
ธันวาคมของทุกปี”
อย่างนี้ล่ะก็
เงินโบนัสนี้ก็จะกลายเป็น “ค่าจ้าง” เพราะไม่มีการสงวนสิทธิในการบริหารจัดการใด ๆ
เอาไว้เลย
แถมไปใส่อยู่ในสัญญาจ้างชัดเจนแบบนี้ต่อให้บริษัทขาดทุนยังไงก็จะต้องจ่ายโบนัสปีละ
4
เดือนอยู่เสมอ โบนัสตัวนี้ก็จะถือว่าเป็นค่าจ้างครับ
ตอบมาถึงตรงนี้แล้วก็คงต้องกลับไปทบทวนกันดูว่าบริษัทของท่านมีการจ่ายโบนัสแบบไหนอยู่
เคยมีการสงวนสิทธิในการบริหารจัดการเรื่องโบนัสอย่างที่ผมบอกเอาไว้ตามข้อ 1
บ้างหรือไม่
หรือจ่ายโบนัสโดยทำให้กลายเป็นสภาพการจ้างไปแล้ว
?