ยังมีความเชื่อกันว่าเมื่อบริษัทออกกฎระเบียบหรือคำสั่งใด ๆ แล้วพนักงาน “จะต้อง” ปฏิบัติตามกฎระเบียบนั้น ๆ ถ้าพนักงานฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติบริษัทก็จะสามารถลงโทษพนักงานได้ตามกฎระเบียบระบุไว้จนถึงขั้นเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใด ๆ ทั้งสิ้น
แต่เรื่องจริงก็คือบริษัทจะออกกฎ
ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ สัญญา หรือประกาศใดเพื่อใช้บังคับและให้พนักงานปฏิบัติตามได้ตราบเท่าที่ไม่ขัดกฎหมายแรงงาน
และต้องไม่เอาเปรียบพนักงานจนเกินสมควร
กรณีที่กฎ
ระเบียบใด ๆ ของบริษัทที่เอาเปรียบพนักงานจนเกินสมควร
ศาลจะมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้าง ข้อบังคับ หรือกฎระเบียบต่าง ๆ มีผลใช้บังคับได้เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตามมาตรา
14/1
มาตรา 14/1 สัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้าง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบหรือคำสั่งนั้น มีผลใช้บังคับเพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี
แต่ถ้ากฎ ระเบียบ
ประกาศ สัญญา ฯลฯ ที่บริษัทออกมาแล้วขัดกฎหมายแรงงาน กฎระเบียบ คำสั่ง
หรือสัญญานั้น ๆ จะเป็นโมฆะเสมอ
เช่น
ระเบียบที่บอกว่าหากพนักงานไม่ยื่นใบลาออก 30 วันล่วงหน้าตามระเบียบของบริษัท
บริษัทจะไม่จ่ายเงินเดือนงวดสุดท้าย หรือบริษัทจะไม่คืนเงินค้ำประกัน
ซึ่งระเบียบแบบนี้ขัดกฎหมายแรงงานชัดเจน
หากบริษัทนำมาใช้ปฏิบัติจริง
เมื่อพนักงานไปฟ้องศาลแรงงานระเบียบเหล่านี้จะใช้ไม่ได้เพราะขัดกฎหมายแรงงาน
ดังนั้นก่อนที่บริษัทจะออกกฎระเบียบหรือคำสั่งใด
ๆ ออกมา HR
ควรจะต้องเป็นคนกลั่นกรองทบทวนดูให้ดีว่ากฎเกณฑ์เหล่านั้นเป็นธรรมพอสมควรแก่กรณีหรือขัดกฎหมายแรงงานหรือไม่
ก่อนที่จะส่งให้กรรมการผู้จัดการเซ็นและประกาศแจ้งพนักงานนะครับ