พอได้ยินคำถามนี้ก็เลยต้องย้อนถามกลับไปว่า “เขาคือใคร ?”
คำตอบคือ
“ได้ยินเขาว่ามาอย่างนี้”
ก็เลยนำมาเล่าสู่กันฟังว่าอย่าหาทำเลยครับเรื่องของสัญญาจ้าง
2 ฉบับเนี่ยะ
ดังนั้นการทำสัญญาจ้าง
2 ฉบับคือ “ฉบับที่ 1” เป็นสัญญาจ้างที่ระบุว่าเพื่อทดลองงานโดยมีเงื่อนไขว่าถ้าพนักงานไม่ผ่านทดลองงาน
บริษัทมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใด ๆ ทั้งสิ้นแม้พนักงานจะมีอายุงานนับแต่วันเข้าทำงานเกิน
120 วันไปแล้วก็ตาม
เช่นบริษัททำสัญญาจ้างพนักงานเพื่อทดลองงานตั้งแต่วันที่
1 มิย.ถึงวันที่ 27 กย.โดยมีระยะเวลาทดลองงาน 119
วัน โดยระบุว่าถ้าพนักงานมีผลงานยังไม่เป็นที่น่าพอใจบริษัทมีสิทธิต่อทดลองงานเพื่อให้โอกาสพนักงานปรับปรุงตัวเองได้อีก
30 วัน
ถ้าบริษัทต่อทดลองงานครบ
30 วันแล้ว พนักงานยังทำงานไม่ได้ตามที่ตกลงกัน บริษัทก็ยังมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใด
ๆ ทั้งสิ้นโดยถือว่าพนักงานอยู่ในสัญญาจ้างทดลองงาน (ฉบับที่ 1)
ซึ่งตามกฎหมายแรงงานแล้ว
เมื่อลูกจ้างทำงานมาแล้วตั้งแต่ 120 วันขึ้นไปแล้วถ้าผลงานไม่ดีและนายจ้างต้องการเลิกจ้าง
นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 คือ อายุงานครบ 120
วันไม่เกิน 1 ปีจะต้องจ่ายค่าชดเชยคือค่าจ้างอัตราสุดท้าย
30 วัน (หรือเรียกว่าจ่ายค่าชดเชย 1 เดือน)
ให้แก่ลูกจ้าง
ถ้าไม่จ่ายค่าชดเชยก็ถือว่าบริษัททำผิดกฎหมายแรงงานนะครับ
!!
แต่ถ้าหากพนักงานทำงานดี
บริษัทประเมินให้ผ่านทดลองงาน
บริษัทประเภทนี้ก็จะทำสัญญาจ้าง
“ฉบับที่ 2” โดยเริ่มต้นสัญญาตั้งแต่วันที่ 28 กย.เป็นต้นไป
แถมเริ่มนับอายุงานคือวันที่ 28 กย.โดยถือว่าสัญญาจ้างฉบับแรกเป็นสัญญาจ้างทดลองงานไม่เกี่ยวกับสัญญาจ้างฉบับที่
2
กรณีที่ผมยกตัวอย่างมานี้ตามกฎหมายแรงงานก็จะถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานฉบับแรกเป็นสัญญาจ้างแบบไม่มีระยะเวลา
(ซึ่งก็คือสัญญาจ้างพนักงานประจำ) เหมือนกับสัญญาจ้างฉบับที่ 2 นั่นแหละครับ
และยังต้องนับอายุงานตั้งแต่วันที่
1
มิย.ด้วยโดยถือเอาวันเริ่มงานจริงเป็นหลัก
ไม่ใช่การนับวันที่ 28
กย.ตามสัญญาจ้างฉบับที่ 2 นะครับ
จึงสรุปได้ว่าการทำสัญญาจ้าง
2 ฉบับแบบนี้ไม่มีประโยชน์
เพราะม.17 ของกฎหมายแรงงานก็ยังบอกเอาไว้อย่างชัดเจนอีกว่า
“....ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาด้วย...”
ถ้าบริษัทไหนยังทำสัญญาจ้างแบบ
2 ฉบับอย่างนี้อยู่ก็ยกเลิกไปเถอะครับ
ทำสัญญาจ้างฉบับเดียวตามปกตินั่นแหละพอแล้ว และยังแสดงถึงวิธีคิดและนโยบายของฝ่ายบริหารว่าไม่ได้คิดตุกติก
คิดเล็กคิดน้อยเอาเปรียบกับพนักงาน
ทำนองเดียวกัน
ท่านที่กำลังจะเข้าทำงานกับบริษัทไหนที่มีสัญญาจ้าง 2 ฉบับอย่างนี้ก็ควรคิดให้ดี
ๆ นะครับว่าควรจะร่วมงานกับบริษัทแบบนี้ดีหรือไม่