ในตอนนี้ผมจะมาพูดถึงเรื่องของการบริหารจัดการคนด้วย
D I S
C เพื่อให้ท่านได้รู้เรา-รู้เขาให้มากยิ่งขึ้นเพื่อให้ท่านสามารถจะอ่านสไตล์ของคนได้ดีขึ้นไปอีก
ผมก็เลยขอนำภาพของ D I S C มาประกอบไว้อีกครั้งหนึ่งดังนี้
การบริหารจัดการคนด้วย
D
I S C
ขอทบทวนความเดิมตอนที่แล้วอีกสักครั้ง
กล่าวคือเมื่อท่านได้ทราบลักษณะหรือสไตล์ของคนทั้ง 4 แบบแล้ว ท่านลองมองกลับมาที่ตัวท่านเอง
(อย่างไม่ลำเอียง) นะครับว่าท่านมีสไตล์ใดเป็นสไตล์หลัก
เมื่อท่านทราบสไตล์หลักของท่านแล้ว
ท่านควรจะทำความเข้าใจถึงผู้คนรอบข้างในสไตล์อื่นด้วยเพื่อให้การทำงาน
หรือการใช้ชีวิตร่วมกันเกิดความราบรื่นมากยิ่งขึ้น
อย่างน้อยเมื่อท่านอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว
ท่านอาจจะเริ่มเข้าใจคนในแบบที่ไม่เหมือนท่านบ้างแล้วนะครับ !!
สิ่งที่ชอบและไม่ชอบของคนแต่ละสไตล์
มาถึงตรงนี้ผมอยากจะให้ท่านได้เข้าใจเพิ่มขึ้นว่าคนในแต่ละสไตล์ชอบหรือไม่ชอบอะไรบ้าง
เพื่อที่ท่านจะได้ระมัดระวังในการปรับตัวกับคนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน
เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่คนที่บ้านของท่านได้ดียิ่งขึ้น เราลองมาดูกันนะครับว่ามีอะไรบ้าง
สิ่งที่คนสไตล์
D
ชอบ
คือต้องการทำงานอย่างอิสระ
เมื่อมอบหมายงานให้แล้วต้องให้อำนาจตัดสินใจเขาไปด้วยนะครับ
เพราะเขาเป็นคนที่มุ่งผลลัพธ์ (Result Oriented) สูง
ชอบงานที่ท้าทายความก้าวหน้าในหน้าที่/ตำแหน่ง ชอบเสี่ยง กล้าตัดสินใจ
งานหรือกิจกรรมที่จะต้องการคนเข้าไปลุยแก้ปัญหาหรือจัดการให้เสร็จในภารกิจเฉพาะที่ต้องการให้เห็นผลเร็ว
หรือมีการแข่งขันสูง และมีเป้าหมาย หรือตัวชี้วัดผลสำเร็จที่ชัดเจน
สิ่งที่คนสไตล์
D
ไม่ชอบ
การที่เข้าไปควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด
เพราะเขาจะรู้สึกว่าไม่ได้รับความไว้วางใจ
การตัดสินใจที่ชักช้า (ก็เพราะเขาเป็นคนใจร้อนนี่ครับ)
การมีขั้นตอนที่มากหรือมีงานจุกจิกหยุมหยิม
หรือการมอบหมายงานให้ไปแล้วแต่ไม่ให้อำนาจตัดสินใจจะทำให้เขาอึดอัด
ตลอดจนการเข้าไปแทรกแซงสิ่งที่เขาได้ตัดสินใจสั่งการ
หรือดำเนินการไปแล้วถูกสั่งให้แก้ไขโดยไม่มีเหตุผลที่สมควร จะทำให้เขารู้สึกหงุดหงิดและอึดอัดมากขึ้น
สิ่งที่คนสไตล์
I
ชอบ
คนสไตล์ I จะชอบงานที่ต้องพบปะติดต่อผู้คน
งานสมาคม งานสังสรรค์ เจ๊าะแจ๊ะ การเข้าไปให้กำลังใจกับผู้คน การเข้าไปโน้มน้าวชักจูงผู้คน
การให้ไปร่วมประสานงานระดมความคิด งานอีเว้นท์ใหม่ ๆ งานที่ต้องทำกันเป็นกลุ่มเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหา
ตลอดจนงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ
สิ่งที่คนสไตล์
I
ไม่ชอบ
งานที่เป็นงานประจำโดยเฉพาะงานที่ไม่ค่อยได้พบปะกับผู้คน
เพราะเขาจะรู้สึกว่ามันจำเจน่าเบื่อหน่าย หรือการไปขอข้อมูลรายละเอียดลึก ๆ
กับคนสไตล์ I
หรืองานที่ต้องมีกฎระเบียบมาก ๆ หรืองานวิเคราะห์ข้อมูลนี่คนสไตล์ I
จะไม่ชอบ รวมไปถึงงานที่ต้องเข้าไปแก้ปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งหรือต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งของผู้คน
เพราะคนสไตล์ I ไม่ชอบทำอะไรที่ขัดใจคนอื่นนี่ครับ
สิ่งที่คนสไตล์
S
ชอบ
คนสไตล์ S จะชอบงานที่เป็นขั้นเป็นตอนชัดเจน
ไม่ต้องเร่งรีบนักค่อยเป็นค่อยไป เพราะเขาไม่ชอบเสี่ยงนี่ครับ เรียกว่าทำช้า ๆ
แต่ชัวร์ เขาจะเป็นผู้ร่วมทีมงานที่ดีไม่ละเมิดกฏเกณฑ์ของกลุ่ม
เป็นผู้รับฟังที่ดีด้วยท่าทีที่นุ่มนวลด้วยบรรยากาศมิตรภาพ
ให้ความสำคัญกับสัมพันธภาพที่ดีซึ่งกันและกันจึงไม่ชอบทำอะไรที่จะทำให้คนมองว่าเขาเป็นคนไม่ดี
ชอบอยู่อย่างสงบไม่รุกรานใคร
ชอบที่จะให้มีเวลาในการทำงานหรือมีเวลาในการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ชอบทำอะไรที่ไม่เสี่ยงและชอบทำงานมีหลักเกณฑ์หรือมีขั้นตอนที่ชัดเจน
สิ่งที่คนสไตล์
S
ไม่ชอบ
เขาจะไม่ชอบบรรยากาศของความขัดแย้ง
การงานด่วนงานเร่งหรือการบีบบังคับให้ตัดสินใจแบบทันทีทันใด
เพราะเขาจะรู้สึกว่าทำไมไม่คิดให้ดีให้รอบคอบเสียก่อน ไม่ชอบการลัดขั้นตอน
หรือการมีกฎเกณฑ์ที่คลุมเครือจะทำให้เขาตัดสินใจไม่ถูก
ก็เขาจำเป็นต้องตัดสินใจตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้ชัดเจนนี่ครับ
เพราะเดี๋ยวทำอะไรผิดหลักเกณฑ์เกิดปัญหาขึ้นมารับผิดชอบไม่ไหวเหมือนกัน ในขณะเดียวกันเขาก็ไม่ชอบความขัดแย้งในทีมงาน
การไม่ยอมรับฟังซึ่งกันและกัน เมื่อเขาพูด (กรณีที่เขาเป็นหัวหน้างาน) ท่านก็ต้องฟัง
เพราะเขาไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงนี่ครับ
สิ่งที่คนสไตล์
C
ชอบ
คนสไตล์ C เขาจะชอบความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ความถูกต้องของผู้มูลที่เชื่อถือและพิสูจน์ได้
ก็เขาเป็นคนที่ชอบข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้วนี่ครับ ชอบข้อมูลเอกสารแนบเยอะๆ
รับรองว่าเขาจะอ่านทุกหน้าทุกบรรทัดผิดตรงไหนจะหาที่ผิดมาให้ดูจนได้ เขาจึงเป็นคนที่มีมาตรฐานในการทำงานสูง
แม้แต่การจัดวางอุปกรณ์ข้าวของที่บ้านก็ตามต้องเป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยนะครับ
เป็นคนที่เน้นงานมาก่อนเรื่องส่วนตัว มีความละเอียดถี่ถ้วนสูง
หรือที่เรียกกันว่าเป็นพวกต้องการความครบถ้วนสมบูรณ์สูงมาก (Perfectionism)
หากเขาพบว่ามีใครที่ให้ข้อมูลที่ไม่จริงหรือไม่ถูกต้องแล้วล่ะก็เขาจะจำไว้นานเลยครับ
สิ่งที่คนสไตล์
C
ไม่ชอบ
นั่นก็คือความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย
ไม่มีข้อมูลรายละเอียดรองรับเพราะจะทำให้เขาตัดสินใจไม่ถูกเนื่องจากเป็นสไตล์ที่รับฟังหรือค้นหาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน
(หรือพยานวัตถุ) มากกว่าพยานบุคคล ดังนั้นเขาจะอึดอัดใจหากไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ
ในขณะเดียวกันหากมีใครวิจารณ์ตัวเขาหรือผลงานของเขาว่าไม่ดีควรปรับปรุงแล้วล่ะก็เขาจะหงุดหงิดมากขึ้น
เขาไม่ชอบให้ใครมาเร่งรัดงานของเขาจนไม่มีเวลาตรวจสอบความถูกต้องให้แน่ใจเสียก่อน
เพราะเขากลัวว่างานจะบกพร่องเป็นจุดที่ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์หรือถูกตำหนิได้
อีกประการหนึ่งคือเขาไม่ชอบเข้าสังคม ไม่ชอบที่จะต้องเป็นจุดเด่นในที่สาธารณะครับ
เอาล่ะครับเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้
ในตอนหน้าซึ่งเป็นตอนจบของซีรีส์ชุดนี้ ผมจะมาพูดถึงวิธีการติดต่อกับคนในแต่ละสไตล์ในตอนต่อไปนะครับ
............................................