เห็นกระทู้นี้ในเว็บดังก็เลยอยากเอามาเล่าสู่กันฟังเพื่อให้ได้ข้อคิดสำหรับคนทำงาน HR รวมทั้งคนที่เป็นหัวหน้าผู้บริหารครับ
เรื่องก็มีอยู่ว่ามีคนเข้าไปทำงานในบริษัทแห่งหนึ่งยังอยู่ในช่วงทดลองงานเงินเดือน
22,000
บาท เดือนแรกลาป่วย 1 วันก็เลยถูกบริษัทหักเงิน
433 บาท เดือนที่สามลากิจ 1 วันถูกหักเงิน
733 บาท
ผมว่าพนักงานรายนี้แกคงสงสัยแหละครับว่าทำไมลาไป
1 วันเท่ากันแต่หักเงินไม่เท่ากัน
แกก็เลยมาโพสตั้งกระทู้ถามในเว็บไซด์ว่าบริษัท
(ซึ่งก็คือ HR
นั่นแหละ) เอาเกณฑ์อะไรมาคิดในการหักเงินดังกล่าว เพราะคงไม่กล้าไปถาม
HR แหละ
มีใครตอบคำถามนี้ได้นะครับว่า HR บริษัทนี้เอาเกณฑ์อะไรมาคิด
ทำไมลาไป 1 วันเท่ากันแต่ทำไมถึงหักค่าลากิจมากกว่าลาป่วย ?
ปัญหานี้เกิดจาก
HR บริษัทนี้ใช้ “หลักกู” ไม่ได้ใช้ “หลักเกณฑ์” ในการคิดครับ
ปัญหาทำนองนี้ทำให้ผมได้แต่คิดรำพึงอยู่ในใจว่า
เออหนอ..บ่อยครั้งที่เราจะชอบพูดกันว่า HR ยุคใหม่จะต้องเป็น Strategic
Partner หรือบางแห่งก็เรียกว่า HRBP (Human Resource
Business Partner) สำหรับองค์กรที่ฝ่ายบริหารเห็นความสำคัญของ HR
และเปิดโอกาสให้มีงานด้าน HRBP
แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังมีผู้บริหารของบริษัทอีกไม่น้อยที่ยังไม่เห็นความสำคัญของงาน
HR แถมยังมี Mindset แบบเก่า ๆ ว่างาน HR ก็คืองาน Admin ทั่วไปนั่นแหละ เอาใครก็ได้มาทำ เพราฉะนั้นเรื่อง
HRBP ไม่เคยมีอยู่ในหัวของฝ่ายบริหารประเภทนี้แหงแก๋
และถ้าฝ่ายบริหารมี
Mindset
เก่า ๆ อย่างนี้มันก็ย่อมเป็นไปตามกฎปฏิจจสมุปบาท คือผลที่เกิดขึ้นย่อมมีเหตุนำมาอยู่เสมอแหละครับ
เพราะพอฝ่ายบริหารเอาใครก็ได้มาทำงาน
HR (มักเอาคนเก่า ๆ แก่ ๆ ที่ไม่รู้จะให้ลงหน่วยงานไหนดีก็เลยเอามาลงที่ฝ่าย HR)
คนพวกนี้ก็จะทำงานไปแบบ Routine วัน ๆ คิดแบบง่าย
ๆ ว่างาน HR ก็เหมือนเจ้าพ่อเจ้าแม่ในบริษัท
ฉันจะดุด่าว่ากล่าวใครหรือฉันจะทำอะไรก็ได้พนักงานต้องเชื่อฟังอย่ามาหือ
แล้วก็กลายร่างเป็น
HR
มาเฟียในบริษัทในที่สุด !!
ไม่เคยคิดที่จะใฝ่เรียนรู้ว่างาน
HR มีอะไรบ้างเพื่อที่จะพัฒนาตัวเองให้เป็น HR มืออาชีพ
แล้วก็ใช้
“หลักกู” แทน “หลักเกณฑ์” ที่ถูกต้องในการแก้ปัญหาแบบด้นสดไปเรื่อย ๆ
ซึ่งส่วนใหญ่จะผิดมากกว่าถูก
แก้ปัญหานี้เพื่อสร้างปัญหาใหม่เกิดปัญหาแรงงานสัมพันธ์แย่
ๆ ในบริษัท แล้วบ่อยครั้งก็จะเกิดลุกลามเป็นปัญหาการไปร้องเรียนแรงงานเขต หรือลูกจ้างไปฟ้องศาลแรงงานว่าบริษัททำผิดกฎหมายแรงงาน
ปัญหาที่ผมยกมาข้างต้นนี้เป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งเรื่องหนึ่งในสารพัดเรื่องที่ผมมักได้พบได้ยินได้ฟังมาตลอดเวลาที่ทำงานด้าน
HR ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
“ใครก็ได้ที่มาทำงาน HR”
พวกนี้แหละครับเป็นที่มาของคำว่า “ใคร ๆ ก็เกลียด HR” แล้วก็ทำให้คนที่รักงาน
HR พยายามพัฒนาตัวเองให้เป็น HR มืออาชีพต้องพลอยถูกมองแบบลบ
ๆ ตามไปด้วย
ก็เลยได้แต่คิดดัง
ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์และเป็นข้อคิดสำหรับคนที่เป็น HR ตัวจริงเสียงจริงทุกท่านเพื่อพัฒนาตัวเองไม่ให้เป็นปัญหาอย่างที่ยกมาข้างต้นครับ
ท้ายนี้ผมคงไม่ตอบคำถามข้างต้นนะครับ
ว่าหลักการที่ถูกต้องเมื่อพนักงานทดลองงานลาป่วยหรือลากิจ HR ควรทำยังไงถึงจะถูกต้องไม่ผิดกฎหมายแรงงาน
เพราะเชื่อว่าเคสนี้ท่านที่เป็น HR มืออาชีพจะมีคำตอบและให้คำแนะนำเพิ่มเติมที่ถูกต้องได้กันอยู่แล้วนะครับ