หนึ่งในสูตรที่มักใช้ปรับเงินเดือนคนเก่าเพื่อหนีคนใหม่คือสูตรแบบชายธงสามเหลี่ยม หรือคลื่นกระทบฝั่ง หรือ Compression Adjustment โดยมีหลักคิดคือคนเก่าที่เงินเดือนน้อยจะได้รับการปรับเงินเดือนมากกว่าคนเก่าที่ได้รับเงินเดือนมากกว่า (เพราะถือว่าห่างผลกระทบจากเงินเดือนคนใหม่มากกว่า) เมื่อปรับเงินเดือนคนเก่าเสร็จตามสูตรนี้แล้วจึงมีลักษณะคล้ายชายธงสามเหลี่ยมที่เรียวปลาย
จากภาพสูตรและตัวอย่างการปรับเงินเดือนแบบ
Compression
Adjustment ผมขออธิบายเพิ่มเติมคือจุดสำคัญอยู่ตรงค่าคงที่ที่วงกลมเอาไว้นี่แหละครับ
คือไม่ใช่ว่า 1.5
จะเป็นกฎเหล็กตายตัว !
หากท่านต้องการขยายขอบเขตของจุดตัดออกไป
เช่น ถ้าพนักงานเก่าที่ได้รับผลกระทบมีมาก เราอาจจะเพิ่มค่าคงที่ตัวนี้ออกเป็น 2
หรือ 2.5 หรือ 3
ซึ่งก็จะทำให้จุดตัดของผู้ที่ได้รับผลกระทบขยายออกไปทำให้คนเก่ามีโอกาสได้รับการปรับเงินเดือนเพิ่มมากขึ้น
แน่นอนว่าบริษัทก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการปรับเงินเดือนมากขึ้นสำหรับพนักงานที่ได้รับผลกระทบตามไปด้วย
คงจะเป็นเรื่องของข้อมูลจริงในแต่ละองค์กรนะครับที่จะต้องไปลองปรับเปลี่ยนค่าคงที่เพื่อหาจุดตัดที่เหมาะสมของคนเก่า
พร้อมกันนี้ผมขอนำตารางตัวอย่างมาให้ดู
3
ตารางเพื่อให้เห็นว่าเมื่อเราทดลองเปลี่ยนค่าคงที่จาก 1.5 เป็น 1 หรือ 2 จะเห็นว่าจุดตัดจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามค่าคงที่ที่เปลี่ยนไป
และบริษัทก็จะมีต้นทุนในการปรับเงินเดือนคนเก่าเพื่อหนีคนใหม่ที่เปลี่ยนไปตามค่าคงที่ยังไงบ้าง
หวังว่าจะเป็นประโยชน์และนำไปใช้เพื่อลดผลกระทบให้เหมาะกับองค์กรของท่านนะครับ
หมายเหตุ : เรื่องนี้เป็นเรื่องหนึ่งในหนังสือ
“การประเมินค่างานและการทำโครงสร้างเงินเดือน(ภาคปฏิบัติ)” ที่ผมเปิดให้ดาวน์โหลดเพื่อให้เป็นประโยชน์กับคนทำงานด้าน
HR และคนที่สนใจในเรื่องนี้ที่ต้องการจะทำโครงสร้างเงินเดือนเอง
ใครสนใจก็ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้ได้ที่นี่ครับ
คลิ๊ก https://www.dropbox.com/s/uho10vpz55vt5xu/JE%26SS_Free.pdf?dl=0
ใครที่เคยซื้อหนังสือเล่มนี้ไปเมื่อหลายปีที่แล้วก็ควรจะต้องดาวน์โหลดไปด้วยนะครับ
เพราะผม Updated
เนื้อหาในเล่มนี้ให้ใหม่กว่าที่เคยขายตามร้านหนังสือครั้งล่าสุดซะอีกครับ