ใครที่ทำงานด้าน HR ประมาณปีพ.ศ.2536-38 ก็น่าจะเคยได้ยินคำว่า “รื้อปรับระบบ” หรือ “Re-engineering” และพอจะเข้าใจความหมายของคำ ๆ นี้มาบ้างนะครับ
แนวคิดนี้เกิดจากดร.ไมเคิล
แฮมเมอร์ (Michael
Hammer) (พ.ศ.2491-2551) ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จาก
MIT ร่วมกับ Jame Champy เขียนหนังสือชื่อ
“Reengineering the Corporation” ในปีพ.ศ.2536
และในปีพ.ศ.2539
Michael Hammer ได้เขียนหนังสือชื่อ “Beyond
Reengineering”
แนวคิดและที่มา
แนวคิดในการรื้อปรับระบบ
(Re-engineering)
มาจากแนวคิดของ Michael Hammer กับ James
Champy โดยตั้งคำถามว่า
1.
ทำไมถึงทำแบบนี้อยู่
2.
มีวิธีที่ดีกว่านี้ได้อีกหรือไม่
หลักการของ Re-engineering
เน้นสิ่งที่ควรจะเป็นมากกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันโดยคิดใหม่แบบขุดรากถอนโคน
(Radical
Change) ของกระบวนการธุรกิจโดยมีการวัดผลการปฏิบัติงาน 4 ด้านคือ ต้นทุน คุณภาพ การบริการ ความรวดเร็ว โดยมีองค์ประกอบของ Re-engineering
4 เรื่องคือ Rethink Redesign Retools Retrain
ลักษณะเด่นของ Re-engineering
จะช่วยให้คนทำงานสามารถทำงานได้หลาย
ๆ อย่าง คนจะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากขึ้นโดยไม่ต้องรอการตัดสินใจจากระดับบนสุด ซึ่งจะลดขั้นตอนการทำงานลง
งานจะกระชับคล่องตัวมากขึ้น และลดต้นทุน (ทั้งทางตรงและทางอ้อม)
ในการดำเนินงานลงได้
เทคนิคของ Re-engineering
1.
ผู้บริหารระดับสูงจะต้องเข้าใจแนวทางการทำ Re-engineering เป็นอย่างดี
2.
ผู้บริหารระดับสูงสุดที่จะทำ Re-engineering ควรจะต้องมีเวลาบริหารงานมากกว่า 2 ปีขึ้นไปจะได้มีเวลาในการทำ
Re-engineering ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ
3.
ระวังวัฒนธรรมองค์กรแบบเก่า ๆ
ที่จะทำให้เกิดการยึดติดและไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
4.
การทำ Re-engineering ไม่ใช่การทำจากล่างขึ้นบน
(Bottom up) เพราะพนักงานระดับล่างจะยังมองไม่เห็นวิสัยทัศน์ในภาพรวม
5.
ไม่ควรมีโครงการ Re-engineering มากเกินไปจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
ควรเน้นโครงการที่สำคัญที่ต้องการให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม
ข้อดี
1.
ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการทำงานทำให้องค์กรมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานที่ดีขึ้น
รวดเร็วขึ้น ลดขั้นตอนการทำงานที่เยิ่นเย้อลง
2.
ใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยให้เปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานให้รวดเร็วและดียิ่งขึ้น
3.
ตอบสนองความต้องการของลูกค้าทำให้ลูกค้ามีพึงพอใจมากขึ้น
4.
พนักงานสามารถทำงานได้หลากหลายมากขึ้น มีอำนาจตัดสินใจมากขึ้น
มีความเป็นอิสระมากขึ้น
5.
การบริหารจัดการต้นทุนทางตรงและทางอ้อมดีมากยิ่งขึ้น
ข้อเสีย
1.
ใช้เงินลงทุนสูง
2.
มีการเลิกจ้าง
เกิดผลกระทบด้านแรงงานสัมพันธ์และขวัญกำลังใจของพนักงาน
3.
มีความเสี่ยงในโครงการสูงหลาย ๆ ด้าน เช่น
ความร่วมมือ การต่อต้านความเปลี่ยนแปลง การเมืองในองค์กร วัฒนธรรมในองค์กร ฯลฯ ซึ่งผู้บริหารสูงสุดที่ขาดความมุ่งมั่นตั้งใจจริงก็อาจจะทำไม่สำเร็จและจะเกิดผลกระทบเชิงลบในองค์กร
4.
เกิดการต่อต้าน การให้ความร่วมมือจากระดับล่างมีน้อยเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ
Top
down
ปีพ.ศ.2537 แนวคิดเรื่อง Re-engineering มีองค์กรที่นำมาใช้ในเมืองไทยอย่างเป็นรูปธรรมและโดดเด่นคือธนาคารกสิกรไทย
โดยมีเป้าหมาย 3 ด้านคือ เพิ่มธุรกิจใหม่
พัฒนาระบบงานให้มีประสิทธิภาพ และปรับปรุงคุณภาพของบุคลากรให้มีศักยภาพ
Re-engineering จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งสำหรับองค์กรที่ผู้บริหารระดับสูงมีความมุ่งมั่น แน่วแน่
และต้องการปรับเปลี่ยนองค์กรแบบ Radical Change ครับ