ตามที่ผมเขียนเรื่อง “ไม่ควรใช้ Normal Curve เพื่อหาแพะ”
ไปแล้ว ในตอนต้น ๆ ของบทความดังกล่าวผมพูดถึงเรื่องการกำหนดระดับการประเมินขององค์กรที่มีอยู่
5 ระดับ แต่แทนที่จะเรียกระดับประเมินให้เข้าใจง่าย ๆ เช่น
A B C D E หรือ 1 2 3
4 5 คือ
A หรือ 5 = ดีมาก B หรือ 4 = ดี
C หรือ 3 = ปานกลาง/พอใช้ D หรือ 2 = ควรปรับปรุง
E หรือ 1 = ผลงานไม่น่าพอใจ/ใช้ไม่ได้
ผมเคยเห็นบางบริษัทที่มีระดับประเมิน
5 เกรดแบบเดียวกันนี้ไปตั้งชื่อระดับประเมินอย่างนี้ครับ
A+ = ยอดเยี่ยม A = ดีมาก B+ = ดี B = พอใช้ C = ควรปรับปรุง
คือมี
5 ระดับประเมินเหมือนกัน แต่ไปกำหนดระดับและชื่อเรียกการประเมินที่ต่างออกไป
แล้วบอกผมว่าบริษัทของเราไม่มีพนักงานที่มีผลการประเมินเกรด D หรือ E หรอกครับ
เพราะเกรดการประเมินต่ำสุดของบริษัทเราคือ
C ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วพนักงานส่วนใหญ่ของเรามีผลงานดี (คือได้ B+) ค่าเฉลี่ยขึ้นเงินเดือนประจำปีก็อยู่ตรง B+ แหละ
ถ้าเป็นอย่างงี้สำหรับผมแล้ว
B+ ก็คือ C นั่นแหละครับ
ดูการเรียกเกรดการประเมินแบบนี้แล้วก็จะให้อารมณ์ประมาณ “รถคันนี้สีเขียว”
แต่รถคันที่เราเห็นเป็นสีขาว ทำนองนั้นแหละครับ
สบายใจกันไปทั้งหัวหน้าและลูกน้อง
555
เห็นว่าแปลกดีเลยเอามาเล่าสู่กันฟังน่ะครับ
.........................................