1. เปอร์เซ็นต์การขึ้นเงินเดือนประจำปีเฉลี่ย = 4% สูงสุด 8% ต่ำสุด 1% เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยปีละ 5% (ตั้งแต่หลังวิกฤติต้มยำกุ้งมาจนถึงปัจจุบัน) ก็ถือว่าลดลงเล็กน้อย
2.
เปอร์เซ็นต์การขึ้นเงินเดือน
Talent = 9.4% ปกติค่าเฉลี่ยการปรับเงินเดือนเมื่อ
Promote หรือการปรับเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษให้กับ Talent
จะมีค่าเฉลี่ยตลาดประมาณ 10% เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลในปีนี้ก็ถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย
(ลดลง 0.6%) เช่นเดียวกัน
3.
จากภาพข้างล่างจะพบความต่างของเปอร์เซ็นต์การขึ้นเงินเดือนประจำปีระหว่างเกรดคือ
3.1 ระหว่างเกรด
A (5.7%) และ เกรด B (4.5%) =27%
3.2 ระหว่างเกรด B (4.5%) และ เกรด C (3.4%) =
32%
3.3 ระหว่างเกรด
C (3.4%) และ เกรด D (2.1%) = 62%
3.4 ระหว่างเกรด
D (2.1%) และ เกรด E (1.1%) =91%
จากข้อมูลข้างต้นพบว่าเปอร์เซ็นต์ความห่างระหว่างผลการปฏิบัติงานเกรด
C และเกรด B (ข้อ 3.2)
คือ 32% จะมีเปอร์เซ็นต์แรงจูงใจสูงกว่าผลการปฏิบัติงานจากเกรด
B เป็นเกรด A (ข้อ
3.1) คือ 27%
มีข้อคิดคือพนักงานที่มีผลงานในเกรด
A เป็นคนที่มีผลงานขั้นดีเยี่ยมแต่กลับได้รับผลตอบแทนที่น้อยกว่าพนักงานที่มีผลงานในเกรดที่ต่ำกว่า
ซึ่งจะทำให้คนที่มีผลงานดีเยี่ยมเกรด A จะเกิดความรู้สึกว่าทำไมถึงผลตอบแทนการทำงานที่ได้รับจึงต่ำกว่าคนที่มีผลงานในเกรดต่ำกว่า
ตรงนี้จึงฝากเป็นข้อคิดในการกำหนดเปอร์เซ็นต์ความต่างของการขึ้นเงินเดือนของแต่ละบริษัทเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับคนที่มีผลการปฏิบัติงานดีมาก
(เกรด A) ว่าจะควรจะมีเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นที่จูงใจเพียงพอหรือไม่เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มีผลการปฏิบัติงานในเกรดที่ต่ำกว่า
4.
คนที่มีผลงานในเกรด E ยังได้รับการขึ้นเงินเดือน 1.1% คำถามคือทำไมถึงยังขึ้นเงินเดือนให้กับคนที่มีผลงานแย่ที่สุด
ถ้าบริษัทไม่ขึ้นเงินเดือนให้แล้วนำงบประมาณตรงนี้ไปให้กับคนที่ทำงานดีจะสร้างแรงจูงใจให้กับคนที่ทำงานดี
และเป็นการตอบหลัก Equal work equal pay จะดีกว่าหรือไม่
5.
การจ่ายโบนัสเฉลี่ย 2.3 เดือน สูงสุด 8 เดือน ต่ำสุด 2.5 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยการจ่ายโบนัสในปีที่ผ่านมาคือเฉลี่ย 2.5
เดือนก็ถือว่าลดลงเล็กน้อย (ลดลง 0.2 เดือน)
6.
จ่ายโบนัสแบบ Fixed
Bonus = 2.1 เดือน Variable = 2.5 เดือน Fixed+Variable
= 3 เดือน มีข้อสังเกตคือการจ่ายแบบ Fixed Bonus แม้จะมองแบบรวม ๆ ว่าทำให้พนักงาน “รู้สึก” ว่าเป็นธรรม
เป็นสิ่งที่ควรได้รับเนื่องจากการทำงานมาโดยตลอด
แต่ผลคือทั้งคนที่ขยันและขี้เกียจก็จะได้โบนัสเท่ากัน
การจ่ายโบนัสแบบ
Fixed Bonus จึงไม่ใช่คำตอบของ Equal
work equal pay เช่นเดียวกับการวิเคราะห์ในข้อ 4
คนที่ผลงานดีตั้งใจทำงานพัฒนาตัวเองก็จะได้รับโบนัสเท่ากับคนที่ผลงานไม่ดีทำงานไปวัน
ๆ ซึ่งปัจจุบันบริษัทส่วนใหญ่จะจ่ายโบนัสตามหลักการ Pay
for Performance จะทำให้คนทำงานดีมีฝีมือเกิดแรงสูงใจในการทำงานมากกว่าการจ่ายแบบ
Fixed Bonus
หวังว่าข้อมูลและการวิเคราะห์ข้างต้นจะทำให้ได้ข้อคิดเพื่อนำไปใช้ในการขึ้นเงินเดือนและจ่ายโบนัสประจำปีนี้ให้เหมาะกับองค์กรของท่านต่อไปนะครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
HR Center ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ