วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2562

ข้อคิดเกี่ยวกับการปรับฐานเงินเดือน

ในการปรับฐานเงินเดือนผมมีสมการหนึ่งมาให้ดูดังนี้

เงินเดือน= ผลงาน(P)+ความสามารถ(C)

P=Performance
C=Competency

แปลว่าถ้าอยากจะได้เงินเดือน(หรือได้ค่าจ้าง)เพิ่มขึ้น..

ลูกจ้างก็ควรจะต้องพัฒนาตัวเองให้มีผลงาน(Performance)ที่ดีขึ้น มีความสามารถ(คือมีความรู้ในงาน-Knowledge มีทักษะในงาน-Skill และมีคุณลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงาน-Attributes)ที่เพิ่มมากขึ้น

ถ้ามี P+C เพิ่มขึ้นอย่างนี้แล้ว นายจ้างก็อยากจะได้ไว้ทำงานด้วยแหงๆ ซึ่งแน่นอนว่าการปรับค่าจ้างเงินเดือนก็จะตามมาเพื่อรักษาคนที่มี P+C เอาไว้

แต่ถ้า P เหมือนเดิม(หรือเผลอๆแย่กว่าเดิม) ไม่พัฒนา C ให้เพิ่มขึ้น แล้วจะเอาแต่เรียกร้องขอให้ปรับเงินเดือนปรับค่าจ้างโดยอ้างแต่ว่า "เพื่อให้เป็นขวัญกำลังใจ" หรือบอกว่า "เงินเดือนไม่พอใช้"

ก็คงจะต้องถามว่า "ขวัญกำลังใจของใคร" และ "ให้เท่าไหร่ถึงจะพอใช้" ครับ

เพราะทุกเม็ดเงินที่ปรับไปย่อมหมายถึง Staff cost ขององค์กรที่ควรจะต้องมีผลตอบแทนกลับมาอย่างสมเหตุสมผล

เพราะหลักในการบริหารค่าตอบแทนที่สำคัญที่สุดคือ..

"หลักความเสมอภาคและเป็นธรรม"

หมายถึงต้องเสมอภาคและเป็นธรรมทั้งฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้างสำหรับคนที่ต้องดูแลระบบค่าตอบแทนที่จำเป็นจะต้องสื่อสารกับทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างเพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบซึ่งกันและกันครับ

ปล.แชร์ประสบการณ์ของคนที่ต้องดูแลระบบค่าตอบแทนและถูกทั้งฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้างต่อว่ามาโดยตลอดเพราะแต่ละฝ่ายจะมองจากมุมของตัวเอง

แต่นักบริหารค่าตอบแทนจำเป็นจะต้องอยู่ตรงกลางเสมอ..

................................