มีคำพูดหนึ่งบอกว่า
“คนจะฟังเวลาเราพูด แต่จะเชื่อเวลาเราทำ”
สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ลูกน้องเกิดความเชื่อถือ
ศรัทธา ยอมรับในตัวหัวหน้าคือ....
“การเป็นตัวอย่างที่ดี”
การเป็นตัวอย่างที่ดีจะต้องเกิดจากวัตรปฏิบัติอย่างเป็นธรรมชาติหรือเป็นตัวตนที่แท้จริงของหัวหน้า
ลูกน้องจะยอมรับนับถือหัวหน้าหรือไม่
ถ้าหัวหน้า....
-
มาทำงานสาย
แต่บอกให้ลูกน้องมาทำงานให้ตรงเวลา
-
บอกลูกน้องให้เข้าประชุมตรงเวลา
ในขณะที่ตัวเองเข้าประชุมเลทตลอด
-
ห้ามลูกน้องทำธุรกิจส่วนตัวในเวลางาน
แต่ตัวเองปิดห้องคุยกับผู้รับเหมาก่อสร้างอพาร์ตเม้นท์ให้เช่าที่เป็นธุรกิจส่วนตัวของหัวหน้า
-
สั่งซื้อขายหุ้นของตัวเองในเวลางาน
และบอกให้ลูกน้องห้ามขายของออนไลน์ในเวลางาน
-
เรียนต่อปริญญาโทแล้วให้ลูกน้องช่วยทำรายงานเพื่อไปส่งอาจารย์ในเวลางาน
พอลูกน้องเรียนต่อบ้างก็ห้ามลูกน้องทำแบบเดียวกัน
-
ตำหนิลูกน้องว่าทำไมไม่มีความคิดสร้างสรรค์
แต่พอลูกน้องจะเสนออะไรมาก็ไม่เคยรับฟัง
-
บอกลูกน้องให้รู้จักสอนงานน้อง
ๆ ในทีมงาน แต่ตัวเองไม่เคยสอนงานลูกน้องบ้างเลย
-
เวลาประชุมทีมงานจะบอกให้ลูกน้องซื่อสัตย์ต่อองค์กร
แต่หัวหน้าไม่คืนรถตำแหน่งเวลาได้รถคันใหม่แถมเอารถคันเก่าไปให้ภรรยาและลูกใช้โดยเบิกค่าน้ำมัน+ค่าบำรุงรักษาทั้งคันใหม่และคันเก่า
-
บอกให้พนักงานช่วยบริษัทประหยัด
แต่หัวหน้าใช้สิทธิเบิกซื้อโน้ตบุ๊คสเป๊กเทพเกินความจำเป็นในการใช้งาน
-
บอกว่าบริษัทมีผลประกอบการไม่ดีในปีนี้
แต่ผู้บริหารเปลี่ยนรถตำแหน่งใหม่จากรถญี่ปุ่นเป็นรถยุโรป
-
เอากระเช้าสวัสดีปีใหม่ที่ลูกค้านำมาให้กลับบ้าน
แต่บอกลูกน้องไม่ให้นำของบริษัทไปใช้ส่วนตัว
-
ฯลฯ
ถ้ายังมีพฤติกรรมแบบย้อนแย้งอยู่อย่างงี้ลูกน้องจะเชื่อสิ่งที่หัวหน้าพูดหรือไม่เรา
ๆ ท่าน ๆ คงได้คำตอบอยู่ในใจแล้วนะครับ
หัวหน้ากับลูกน้องก็เหมือนพ่อแม่กับลูกแหละครับ
ลูกจะคอยดูพฤติกรรมพ่อแม่อยู่เสมอ ลูกน้องก็เช่นเดียวกัน
เพียงแต่เมื่อลูกน้องเห็นพฤติกรรมที่ไม่ดีของหัวหน้าแล้วมักจะไม่พูดตรง
ๆ กับหัวหน้าเหมือนลูกที่พูดกับพ่อแม่
แต่ลูกน้องมักชอบเอาพฤติกรรมของหัวหน้าไปเม้าท์กันเอง
เพราะเม้าท์อะไรก็ไม่มันส์เท่าเม้นท์เรื่องของหัวหน้า..จริงไหมครับ
ยิ่งเป็นพฤติกรรมอย่างที่ผมยกตัวอย่างมาข้างต้นน่ะยิ่งเม้าท์มันส์นักแหละ
การเป็นตัวอย่างที่ดีของหัวหน้าในสายตาลูกน้องถึงได้สำคัญอย่างงี้แหละครับ
การมีสามัญสำนึกที่ดีจะทำให้หัวหน้า/ผู้บริหารที่ดีพึงรู้ได้ด้วยตัวเองว่าอะไรควรทำหรืออะไรไม่ควรทำ
จริงไหมครับ?
…………………………………………..