ถูกต้องแล้วครับ
หมายถึงพนักงานคนที่เงินเดือนตันนั้นจะมีฐานเงินเดือนเท่าเดิม และจะไม่เพิ่มมากไปกว่านี้เนื่องจากค่างาน (Job Value) ในตำแหน่งนี้มีอยู่เท่านี้
เพราะตอนที่ทำโครงสร้างเงินเดือน บริษัทก็ได้นำตำแหน่งต่าง
ๆ (รวมทั้งตำแหน่งใน Job Grade นี้)
ไปเปรียบเทียบกับการจ่ายเงินเดือนในตลาดแล้วพบว่าแม้แต่ในตลาดแข่งขันเขาก็จ่ายกันอยู่โดยเฉลี่ยแถว
ๆ ค่ากลาง (Midpoint –
หมายถึงค่ากึ่งกลางกระบอกเงินเดือนระหว่าง Min ถึง Max) ในแต่ละกระบอกเงินเดือน
ดังนั้นเมื่อพนักงาน (ที่อยู่ในกระบอกเงินเดือนใดก็ตาม) ที่เงินเดือนตันแสดงว่าบริษัทก็จ่ายเงินเดือนให้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด (เรียกว่า Over Paid) ใน Job Grade นั้น ๆ มากพอสมควรอยู่แล้ว
ซึ่งพนักงานที่เงินเดือนตันนี้แม้จะลาออกไปหางานที่อื่นในความรับผิดชอบหรือที่มีค่างาน
(Job Value) ใกล้เคียงกันนี้ก็จะยากที่จะมีบริษัทไหนรับเข้าทำงาน
เพราะเงินเดือนที่ได้รับอยู่ในปัจจุบันสูงมากกว่าตลาดโดยเฉลี่ยที่เขาจ่ายกัน
จากประสบการณ์ทำงานของผมมักพบว่าคนที่เงินเดือนตันที่หมดไฟที่มีทัศนคติไม่ดีบางคนมักจะนั่งด่าว่าบริษัทและผู้บริหารว่าไม่ยุติธรรม
แต่ไม่เคยหันกลับมามองดูตัวเองเลยว่าทำไมไม่ก้าวหน้าไปไหนเลยนับสิบ ๆ ปีก็ยังย่ำอยู่ที่เดิมแถมจะปฏิเสธบ่ายเบี่ยงเวลาที่หัวหน้าจะมอบหมายงานโดยอ้างว่าเหนื่อยบ้าง,
งานเยอะล้นมือแล้วบ้าง ฯลฯ
ซึ่งพนักงานที่เงินเดือนตันเนื่องจากไม่สามารถพัฒนาตัวเองเหล่านี้
ถ้าหากลาออกไปก็ไม่มีทางที่จะไปได้งานใหม่ที่ให้เงินเดือนสูงกว่าที่ได้รับอยู่ในปัจจุบัน
ดังนั้นส่วนใหญ่จึงมักจะทำงานกับบริษัทเดิมต่อไปเรื่อย ๆ แบบรอเกษียณพร้อมกับด่าบริษัทและผู้บริหารต่อไปเหมือนเดิมแทนที่จะเอาเวลาไปพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น
แต่ HR จะต้องตรวจสอบโครงสร้างเงินเดือนของบริษัท (อย่างน้อยปีละครั้ง) ให้ดีด้วยนะครับว่า Update ให้สามารถแข่งขันกับตลาดได้ดีแล้วหรือยัง เพราะผมมักจะพบบ่อยว่าในหลายองค์กรที่ไม่เคย Update โครงสร้างเงินเดือนมาหลายปีจะทำให้พนักงานเงินเดือนตัน
เนื่องจากไม่ได้ยกโครงสร้างเงินเดือนขึ้นเพื่อให้แข่งขันกับตลาดได้ ซึ่งก็จะทำให้พนักงานที่มีศักยภาพมีความสามารถต้องลาออกจากองค์กรไปในที่สุด