ผมเห็นหลายบริษัทชอบจัดหลักสูตรในชื่อประมาณนี้เช่น “การสร้างจิตสำนึกรักองค์กร” หรือ “Employee Engagement” หลายบริษัทก็ทำเป็นโครงการรณรงค์การปลูกจิตสำนึกรักองค์กรเรียนกันไปสนุกสนานเฮฮากันไปในห้องเรียน
บางแห่งก็ถึงกับจ้างบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาดำเนินการให้โดยมีการทำกิจกรรมกันอย่างเป็นระบบมีการประเมินความสำเร็จของหลักสูตรบ้าง
หรือประเมินความสำเร็จของโครงการนี้บ้างก็ว่ากันไป
ไม่ว่าจะจัดเป็นหลักสูตรฝึกอบรมหรือทำเป็นโครงการขึ้นมาก็ต้องใช้
“เงิน” ใช้งบประมาณ จะมากบ้างน้อยบ้างก็ตามแต่นโยบายของฝ่ายบริหารของแต่ละบริษัทว่าจะทุ่มทุนสร้างกันสักขนาดไหน
จัดอบรมหลักสูตรแบบนี้หรือทำโครงการแบบนี้แล้วจะทำให้พนักงานมีจิตสำนึกรักบริษัทเพิ่มขึ้นได้จริงหรือ
?
คุ้มค่าการลงทุนหรือเปล่า
?
แน่นอนครับว่าวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของผู้บริหารระดับสูงคือ
MD หรือ CEO ในการทำแบบนี้ก็เพื่อมุ่งหวังที่อยากจะให้พนักงานเกิดความรู้สึกรักในบริษัท
ทำงานอย่างทุ่มเทให้กับองค์กรอันนี้เข้าใจได้ซึ่งผมเข้าใจเหตุผลและมุมมองของ MD
ว่าทำไมถึงต้องการให้จัดการอบรมทำนองนี้เพราะตัวผมเองก็เคยอยู่ในบริษัทที่ทำในเรื่องแบบนี้มาแล้ว
ซึ่งเหตุผลหลัก
ๆ ก็คือถ้าไม่มีการอบรมหรือไม่มีโครงการทำนองนี้แล้ว
เกิดพนักงานไม่รักบริษัทลาออกกันไปเป็นระยะ บริษัทรักษาคนไว้ไม่ได้ก็จะทำให้บริษัทมีปัญหาในเรื่องการหาคนมาทำงานแทนและจะมีปัญหาอื่น
ๆ ตามมาอีกมาก
เพราะพอผมเข้าไปดูสื่อออนไลน์ชื่อดังอย่างพันทิปเราก็มักจะเจอกระทู้ทำนองนี้ครับ
“ถ้าเราถูกปลูกฝังให้รักบริษัทที่ทำงานอยู่
แล้วมีบริษัทใหม่มาเสนอโอกาสและรายได้ที่ดีกว่าเพื่อน ๆ จะไปไหม ?”
ถ้ามองในมุมของ
MD หรือ CEO หรือเถ้าแก่ก็คงจะต้องมองแบบสมการเส้นตรงว่าถ้ามีการอบรมหรือทำกิจกรรมรณรงค์ให้พนักงานรักองค์กรแล้วพนักงานก็ควรจะต้องรักองค์กรและอยู่กับองค์กรสิ
!
แต่ถ้ามองในมุมของพนักงานล่ะครับ
MD เคยมองในมุมของคนเหล่านี้ไหมว่าเขาคิดอะไรอยู่ และการจับเขาไปเข้าอบรมหลักสูตรเหล่านี้หรือให้เขาทำโครงการทำนองนี้แล้วเขาจะรักองค์กรรักบริษัทเพิ่มมากขึ้นได้จริง
?
ผมขอสะท้อนเสียงคนรุ่นใหม่ตอบกระทู้ออนไลน์ข้างต้นนะครับว่าเขาคิดกันยังไง....
“ออกสิคะ รออะไร” , “รักองค์กรได้ก็แค่ระดับหนึ่งแต่ที่ใหม่ให้มากกว่าก็ควรจะไป”
, “ถ้าคุณออกวันนี้บริษัทก็ไม่ล้มหรอก เขาก็หาคนใหม่มาแทนคุณได้” , “อย่ารักองค์กร
องค์กรไม่ได้รักเรา เราตายไปเขาก็หาคนใหม่มาแทนได้” ฯลฯ
ผู้บริหารควรคิดทบทวนอีกครั้งดีไหมว่า....
1.
การที่พนักงานจะรักหรือไม่รักบริษัทไม่ใช่จะทำแค่เพียงจัดให้พนักงานเข้าอบรมหลักสูตรประเภทรักองค์กรเพียงเท่านั้น
2.
ความรักความผูกพันเป็นเรื่องของใจใครจะมาบังคับกะเกณฑ์ให้ต้องรักอย่างนั้นอย่างนี้คงไม่ได้
ถ้าบริษัทซึ่งก็คือบรรดาผู้บริหารทุกระดับโดยเฉพาะคนที่เป็นหัวหน้าโดยตรงยังไม่เคยแสดงอะไรให้พนักงานเห็นเลยว่ารักและหวังดีกับพนักงาน
แล้วจะมากะเกณฑ์คาดหวังให้พนักงานมารักบริษัทได้ยังไง
3.
ในหลายบริษัทที่ผู้บริหารหรือหัวหน้ายังมีนโยบายและพฤติกรรมที่เอาเปรียบพนักงาน
เช่น
หักค่ามาสายจนเกินจริง, จ่ายเงินเดือนไม่ตรงเวลา,
เรียกเงินค้ำประกันทุกตำแหน่งงาน, จัดงานปีใหม่ประจำปีแต่ให้พนักงานออกเงินกันเอง,
สั่งให้ทำงานล่วงเวลาแต่ไม่จ่ายโอที ฯลฯ
อย่างนี้จะให้พนักงานรักบริษัทได้ไหมล่ะครับ
จากที่บอกมาข้างต้นลองกลับมาคิดใหม่และทำอย่างนี้ดีไหมครับ
1.
MD หรือ CEO ควรจะต้องเปิดใจและหาสาเหตุของปัญหาที่จะทำให้พนักงานไม่รักองค์กร เช่น
-
สำรวจดูว่า กฎ ระเบียบ คำสั่ง
หรือวิธีปฏิบัติใดบ้างที่เอารัดเอาเปรียบพนักงาน ปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้อง
ผิดกฎหมายแรงงาน ฯลฯ แล้วหาทางปรับเปลี่ยนแก้ไขซะ
-
ผู้บริหาร (คนไหน)
ในฝ่ายไหนหรือแผนกไหนที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (อย่างที่ผมยกตัวอย่างมาข้างต้น)
กับพนักงานบ้าง และคิดหาวิธีจัดการกับผู้บริหารหรือหัวหน้างานที่มีปัญหาเหล่านั้น
-
หาวิธีทำให้หัวหน้างานสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้องให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
-
จัดกิจกรรมทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อเสริมสร้างให้เกิดแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในบริษัท
-
สำรวจและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้น่าทำงานและเปิดรับฟังความคิดเห็นจากพนักงาน
2.
ตั้งใจและหาวิธีแก้ปัญหาอย่างจริงจัง
Key Success
Factors (KSF) อยู่ที่ผู้บริหารและหัวหน้าทุกระดับอีกนั่นแหละครับว่าอยากจะทำให้พนักงานรักบริษัทจริงหรือไม่
ถ้าเราอยากให้ใครรักเรา
แล้วเราไม่เริ่มรักคน ๆ นั้นเสียก่อนและทำตัวให้อีกฝ่ายเห็นในความดีในตัวเราและเริ่มหันกลับมามองเราและรักเราเสียก่อน
แม้บริษัทจะไปจัดอบรมหรือไปบังคับให้เขามารักเรา
(แถมยังเสียเงินค่าจัดอบรมหรือทำโครงการสร้างจิตสำนึกรักองค์กรไปแบบสูญเปล่า)
ยังไงพนักงานเขาก็ไม่รักบริษัทอยู่ดีแหละครับ
แทนที่จะเสียเงินจ้างคนนอกมาบอกมาสอนให้พนักงานรักบริษัท
บริษัทควรเริ่มคิดหาวิธีที่จะบอกรักหรือทำให้พนักงานเห็นว่าบริษัท
(คือผู้บริหารทุกระดับ) ก็รักและหวังดีกับพนักงานจากภายในกันเองเสียก่อนจะดีกว่าไหมครับ
ที่สำคัญอีกเรื่องก็คือบริษัทไม่ควรตั้งคนมีทัศนคติไม่ดีหรือ
พวกที่ EQ
มีปัญหาขึ้นมาเป็นหัวหน้าไม่ว่าจะในระดับใด เพราะคนเหล่านี้แหละจะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้พนักงานไม่รักบริษัทจนถึงขั้นหมดใจและทำให้บริษัทต้องเสียพนักงานดี
ๆ ไปในที่สุด