คำถามตามหัวเรื่องนี้เป็นคำถามของคนที่กำลังจะก้าวเข้ามาในวงการ HR ที่บางครั้งแม้เจ้าตัวเองก็ยังไม่รู้ว่างานนี้จะต้องทำอะไรบ้าง บางคนก็อาจจะคิดว่าคงจะเป็นงานรับคนเข้า-เอาคนออก ตรวจบัตรตอก ออกใบเตือนเหมือนงานธุรการทั่ว ๆ ไป
หรือหนักกว่านั้นบางคนก็คิดว่าเป็นงานเจ้าคนนายคนคือสามารถสั่งงานหน่วยงานอื่น ๆ ทำตัวเป็นเหมือนครูไหวใจร้ายที่คอยตักเตือนนักเรียน (ซึ่งก็คือพนักงาน) ที่ทำผิดกฎระเบียบได้ทั่วทั้งบริษัท ถ้าใครเตือนแล้วไม่ฟังก็ออกหนังสือตักเตือน หรือถ้ายังไม่ดีขึ้น HR ก็ไล่ออกไปได้เลย คือเข้าใจว่าทำงาน HR แล้วมีอำนาจล้นฟ้าคล้าย ๆ เป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่หรือเป็นมาเฟียในบริษัททำนองนั้นแหละผมก็เลยอยากจะแชร์ความคิดเห็นจากประสบการณ์อย่างนี้ครับ
ผมขอแบ่งประเภทของคนที่เข้ามาทำงาน
HR ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1.
คนที่เพิ่งจบใหม่ยังไม่มีประสบการณ์ทำงานมาก่อน
แบ่งเป็น
1.1
สมัยก่อนย้อนหลังไปไม่ต่ำกว่า 30 ปีได้มั๊งครับ
คนที่ทำงาน HR (รุ่นเก่า ๆ ) มักจะจบสายสังคมศาสตร์ เช่น
รัฐศาสตร์, นิติศาสตร์, ศิลปศาสตร์ ฯลฯ ส่วนพวกที่จบสายวิทยาศาสตร์ก็อาจจะมีบ้าง
เช่น จบจากคณะวิทยาศาสตร์ หรือวิศวกรรมอุตสาหการ ที่จบปุ๊บก็เข้ามาทำงานด้าน HR
แต่จะมีน้อยกว่าคนที่จบสายศิลปศาสตร์
เนื่องจากในสมัยก่อนนี้ยังไม่มีการสอนวิชาบริหารงานบุคคลโดยตรงในระดับปริญญา ดังนั้นคนที่จบใหม่และเข้าทำงาน
HR จึงมักจะถูกองค์กรส่งไปเข้ารับการอบรมด้านการบริหารงานบุคคลในองค์กรที่จัดการอบรมแบบเป็นหลักสูตรที่ได้รับวุฒิบัตรทางด้านนี้
เช่น หลักสูตรการบริหารงานบุคคลของกระทรวงแรงงาน (สมัยก่อนจะเรียกว่ากรมแรงงาน), สมาคมจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT)
เป็นต้น ซึ่งการอบรมดังกล่าวก็จะใช้เวลาหลายวัน
และเขาก็จะสอนในเรื่องของ HR Functions ทั้งหมดที่คนทำงาน HR
ต้องทราบ เมื่อจบก็จะได้รับวุฒิบัตรผ่านการอบรมแล้วก็มาทำงานด้าน HR
ต่อไป
1.2
ในยุคปัจจุบัน มีการเรียนการสอนในสาขาบริหารงานบุคคลในระดับปริญญาโดยจะมีการสอนนักศึกษาให้ทราบ
HR
Functions ต่าง ๆ ทั้งระดับปริญญาตรี-โท-เอก เรียกว่าถ้าใครสนใจอยากจะทำงานด้าน
HR ก็เรียนรู้กันได้ตั้งแต่ปริญญาตรีมาเลย
2.
คนที่มีประสบการณ์ทำงานด้านอื่นมาแล้วและสนใจมาทำงานด้าน
HR
หรือถูกย้ายมาทำงาน HR คนกลุ่มนี้ผมแบ่งเป็น
2.1
คนที่สนใจอยากจะมาทำงานด้าน HR อย่างจริงจัง
2.2
คนที่ไม่ได้อยากมาทำงาน HR แต่ถูกบริษัทย้ายมาอาจจะเนื่องจากทำงานในหน่วยงานเดิมไม่ดีมีปัญหาหรือผลงานย่ำแย่ก็เลยย้ายมาอยู่ที่ฝ่ายบุคคลก็เลยต้องจำใจทำไปก่อน
และอาจหางานอื่นไปด้วยเพราะไม่ชอบงาน HR
หรือบางคนถูกบริษัทย้ายมาทำงาน HR เพื่อรอเกษียณ
2.3
เป็นผู้บริหารในหน่วยงานอื่นแต่ถูกฝ่ายบริหารระดับสูงย้ายมาเป็นผู้บริหารในฝ่าย
HR (จะเรียกชื่อตำแหน่งว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคล,
ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล, Vice President, Human Resource ก็ว่ากันไป) เช่น ย้ายผู้จัดการฝ่ายบัญชีให้มาเป็นผู้จัดการฝ่าย HR
เป็นต้น
จากที่ผมเล่าที่มาของคนที่มาทำงาน
HR ข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่าคนที่มาทำงาน HR ไม่ว่าจะจบมาทางด้าน HR หรือไม่ก็ตามล้วนมีที่มาและพื้นเพที่แตกต่างกัน
แต่สิ่งสำคัญที่สุดอยู่ที่ว่า..คน ๆ
นั้นรักและสนใจที่จะทำงานด้าน HR อย่างจริงจังหรือไม่!
ถ้ารักและสนใจที่จะทำงานด้าน HR แล้ว
แม้ไม่จบสายตรงด้าน HR แต่ถ้ามีอิทธิบาท 4 คือ
1.
ฉันทะ มีความรัก (ฝรั่งเรียกว่ามี Passion) ในงานที่ทำ
2.
วิริยะ มีความมานะพากเพียรในงานที่รับผิดชอบ
3.
จิตตะ มีความเอาใจใส่ในงานที่ทำ
คิดหาทางพัฒนาตัวเองให้มีความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ ในงาน HR ทุกด้านให้รู้ลึกรู้จริง
4.
วิมังสา หมั่นทบทวนแก้ไขปรับปรุงงานที่ทำและพัฒนางานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
ๆ
ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วล่ะก็คน
ๆ นั้นมาถูกทางและจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในงาน HR ได้แน่นอนครับ
หลายคนที่เป็นมืออาชีพด้าน
HR ที่ผมรู้จักเขาก็ไม่ได้จบ HR มาโดยตรง
แต่เขามีความรักและเข้าใจในงานแบบนี้ พยายามศึกษาเข้าใจในเรื่องของผู้คน
ชอบที่จะต้องเข้าไปทำงานแก้ปัญหาเกี่ยวกับผู้คน ที่สำคัญคือเป็นคนสนใจใฝ่เรียนรู้ศึกษาหาความรู้และประสบการณ์ด้าน
HR อยู่เสมอ ๆ
หลายคนก็ผันตัวออกมาเป็นเจ้าของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงาน
HR เช่น มาทำบริษัท Headhunter, ตั้งบริษัทจัดการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร,
มาเป็นวิทยากรที่ปรึกษาด้าน HR ก็มีให้เห็นอยู่มากมาย
ในทางกลับกัน
ถ้าใครที่เข้ามาทำงาน HR ด้วยความคิดว่างาน HR คืองานธุรการทั่วไป
เป็นงานควบคุมคนทั้งบริษัทแบบมาเฟีย ทุกคนต้องเชื่อฟังฉัน ไม่เคยสนใจใฝ่เรียนรู้
เป็นแค่งานประเภท “รับคนเข้า-เอาคนออก” ใคร ๆ ก็ทำได้ หรือเห็นงาน HR เป็นศาลาพักร้อนไปวัน ๆ หรือทำเพื่อรอเกษียณ
อย่างนี้แล้วผมว่าต่อให้คน
ๆ นั้นจบมาตรงด้าน HR
ก็คงมาทำงานผิดที่แล้วล่ะครับ
แม้จะมีชื่อตำแหน่งเป็น
HR
Manager หรืออะไรก็ตามคงไม่ถือว่าเป็น HR มืออาชีพได้อย่างแน่นอน
แถมยังจะทำให้ผู้คนเข้าใจงาน HR แบบผิด ๆ หรือดูถูกดูแคลนอีกต่างหาก!!
จากที่เล่ามาทั้งหมดจึงมาสู่คำตอบและข้อสรุปของผมที่ว่า..
ถ้าใครอยากทำงานด้าน HR ก็ก้าวเข้ามาเลยครับ
ขอให้ศึกษาหาความรู้และประสบการณ์ด้าน HR ทุกด้านให้รู้ลึกรู้จริง
แม้ว่าจะไม่ได้จบตรงมาทาง HR แต่ผมมั่นใจว่าคน ๆ นั้นจะเป็นมืออาชีพด้าน
HR และสามารถใช้เป็นวิชาชีพนี้หาเลี้ยงตัวเองไปได้เรื่อย ๆ
แม้อายุจะเลยวัยเกษียณไปแล้วก็ตาม
ยินดีต้อนรับเข้าสู่วงการ
HR และขอให้มีความสุขกับงานนี้ครับ
………………………………….