ผมมักจะได้ยินคำพูดทำนองนี้อยู่บ่อย
ๆ
“หัวหน้าผมใจร้อนพอทำงานให้ไม่ได้อย่างใจแกจะด่าทันทีเลยครับ”
“หัวหน้าของหนูไม่ยอมรับฟังอะไรบ้างเลย
คิดว่าตัวเองถูกอยู่คนเดียวหนูทำอะไรก็ผิดไปหมด”
ฯลฯ
และตบท้ายด้วยคำถาม....
“เจอหัวหน้าอย่างงี้ทำไงดี?”
เชื่อว่าหลายคนคงจะตอบเหมือนผมว่า....
“ทำใจสิครับ”
555
ผมว่าถ้าใครได้หัวหน้าที่ดีในตอนนี้ก็ถือว่าทำบุญมาดีจริงไหมครับ
แต่ถ้าได้หัวหน้าไม่ดีล่ะควรทำยังไงนอกจากจะให้ทำใจ
?
สัจธรรมข้อหนึ่งคือ
“เราเลือกหัวหน้าที่ดีสำหรับเราไม่ได้..แต่เราเลือกที่จะเป็นหัวหน้าที่ดีสำหรับลูกน้องได้”
วันนี้เราเจอหัวหน้าที่ไม่ดี
มีพฤติกรรมที่เราเห็นว่าไม่เหมาะสม กระทำกับเราในเรื่องที่เรารับไม่ได้ ฯลฯ
เราก็อย่าลืมพฤติกรรมที่เราไม่ชอบเหล่านี้
และควรนำกลับมาปรับปรุงพฤติกรรมของตัวเราเพื่อให้เป็นหัวหน้าที่ดีสำหรับลูกน้องของเราจะดีไหมครับ
ตอนทำงานประจำผมเคยนั่งฟังผู้บริหารมานั่งบ่นปนตำหนิพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของหัวหน้าที่เป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป
และหลังจากนั้นผมก็ต้องมานั่งฟังลูกน้องของผู้บริหารคนเดิมนี่แหละมานั่งบ่นพฤติกรรมของหัวหน้าว่ามีปัญหายังไงบ้าง
ซึ่งมันก็คือพฤติกรรมที่แทบจะเหมือนกับที่ผู้บริหารคนนี้มานั่งบ่นให้ผมฟังเลยครับ
แสดงว่าแกไม่ได้นำประสบการณ์ที่ไม่ดีเหล่านี้กับมา
Feedback กับตัวเองเพื่อปรับปรุงตัวเองให้เป็นนายที่ดีสำหรับลูกน้องซะบ้างเลย
ข้อสรุปสำหรับผมสำหรับคำตอบนี้ก็คือ
วันนี้ถ้าเราเจอหัวหน้าที่ไม่ดี
ลองมองย้อนกลับมาดูตัวเราด้วยนะครับว่าเราเป็นหัวหน้าที่ดีสำหรับลูกน้องแล้วหรือยัง
?
หมายเหตุ : หัวหน้าที่ดีสำหรับลูกน้องไม่ได้หมายความว่าเป็นหัวหน้าที่ตามใจลูกน้องจนอยู่ในโอวาทของลูกน้องนะครับ
ถ้ายังนึกไม่ออกว่าหัวหน้าที่ดีสำหรับลูกน้องควรจะเป็นยังไงผมขอแนะนำให้ไป Search
ในกูเกิ้ลแล้วพิมพ์คำว่า “หลักทศพิศราชธรรม” มาอ่าน ถ้าหัวหน้าหรือผู้บริหารน้อมนำหลักการนี้มาใช้ก็จะเป็นอานิสงส์สำหรับคนที่เป็นลูกน้องไม่น้อยเลยครับ
…………………………………….