ผมเลยมีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับสาเหตุที่
CEO ประสบความล้มเหลวโดย ดร.เดวิด ด็อทลิซ และ ดร.ปีเตอร์ ไคโร (Why
CEO’s fail – David L.Dotlich & Peter C.Cairo) ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้นำในทุกระดับมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นแง่คิดสำหรับคนที่เป็นหัวหน้าคนดังนี้ครับ
ผู้นำที่ล้มเหลว
1.
มีความหยิ่งทะนงตน (Arrogance) ข้อนี้ตรงตัวเลยครับคือคนที่มีอีโก้สูงมากจนล้นแล้วคิดว่าตัวเองคือคนที่ทำอะไรก็ถูกและคนอื่นผิดอยู่เสมอ
หลายคนมีอาการ “เหยียด” คนรอบข้างว่าโง่กว่าเรา เราเท่านั้นฉลาดที่สุด
ผู้นำประเภทนี้มักมีวาจาเป็นอาวุธมีดาวพุธเป็นวินาศพูดทีไรวงแตกได้เสมอ ๆ
2.
คิดว่าตนเองเป็นจุดรวมของความสนใจของผู้คนรอบข้าง
(Melodrama) ชอบเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้าง
3.
อารมณ์ไม่คงที่ ขึ้น ๆ ลง ๆ (Volatility) แกว่งไปแกว่งมา
เช้าก็อารมณ์หนึ่ง บ่ายอีกอารมณ์หนึ่ง
ลูกน้องต้องดูทิศทางลมให้ดีว่าวันนี้ลูกพี่จะมาอารมณ์ไหนขืนเข้าไปคุยผิดจังหวะอาจถูกว๊ากหน้าหงายออกมาได้
4.
กลัวการตัดสินใจ (Excessive
cautions)
เวลาจะตัดสินใจมักจะใช้เวลาคิดมาก เพราะกลัวว่าถ้าตัดสินใจไปแล้วผิดพลาดตัวเองจะต้องรับผลนั้น
ซึ่งแน่ล่ะครับ ถ้าองค์การใดมีผู้นำในลักษณะนี้คงไม่ต้องสงสัยว่า
งานแทบทั้งหมดจะต้องเข้าไปรออนุมัติอยู่ในห้องของ CEO เป็นตั้ง ๆ
เลยครับ
5.
มองแต่เรื่องร้ายมากกว่าเรื่องดี (Habitual Distrust) ผู้นำแบบนี้มักมีทัศนคติเชิงลบเป็นเจ้าเรือนคิดแต่เรื่องที่เป็นลบ
มองไปที่งานใดหรือเรื่องอะไรก็ชอบคิดแต่เรื่องไม่ดีไว้ก่อนแบบ Cannot do อยู่เสมอ
6.
ไม่ผูกสัมพันธ์กับใครชอบเก็บตัวมีเพื่อนน้อย
(Aloofness) ผู้นำประเภทนี้ชอบเก็บตัวไม่ชอบพบปะพูดคุยสื่อสารกับใคร
หรือเป็นผู้นำประเภท “มั่น” มาก ๆ ประเภท “ข้าแน่” มองคนรอบตัวด้อยกว่าไปหมด ก็เลยไม่เห็นความสำคัญหรือความจำเป็นที่จะต้องไปคบใครหรือจะต้องไปผูกสัมพันธ์หรือคบค้าสมาคมกับใคร
คงลืมคำว่า “นกไม่มีขนคนไม่มีเพื่อนบินสูงไม่ได้” ไปซะแล้ว
7.
เชื่อว่ากฎระเบียบถูกสร้างมาให้ถูกทำลาย (Mischievousness) ผู้นำประเภทนี้มักจะเชื่อว่าเขาสามารถจะทำลายสิ่งใดได้เสมอ
(ถ้าเขาไม่พอใจมันขึ้นมา) ผู้นำประเภทนี้ก็เลยมักจะแหกกฎและไม่ทำตามกฎระเบียบที่มีอยู่
มักชอบใช้ “หลักกู” มากกว่าใช้ “หลักเกณฑ์”
8.
มีความคิดแบบประหลาด ๆ พิเรนทร์ ๆ (Eccentricity) ชอบคิดหรือออกไอเดียให้ลูกน้องหรือคนรอบข้าง
“เหวอ” เอาง่าย ๆ ว่าพี่เขาคิดมาได้ยังไง
บางทีความคิดก็แปลกประหลาดหลุดโลกหรือเพ้อฝันจนเกินไปเพื่อจะได้คุยว่าตนเองแตกต่างจากคนอื่น
9.
ไม่เชื่อในสิ่งที่ตัวเองพูดไป (Passive
Resistance)
อ้าว ! ถ้าได้ผู้นำประเภทนี้ก็ยุ่งแล้วนะครับ
เพราะพูดในสิ่งที่แม้แต่ตนเองก็ยังไม่มีความเชื่อนั้นอยู่เลย ก็เลยมักเป็นคนที่พูดอย่างทำอย่าง
การกระทำมันช่างขัดแย้งกับคำพูดซะจริง ๆ
10.
ต้องการความสมบูรณ์แบบมากเกิน (Perfectionist) ผู้นำประเภทนี้จะต้องการความเนี๊ยบหรือเป๊ะมากจึงมักจะลงในรายละเอียดมากจนเกินไป
จนลูกน้องมักจะแอบนินทาว่า “พี่เขาเป็นผู้จัดการวิญญาณเสมียน”
เพราะชอบจุกจิกในเรื่องที่ไม่จำเป็น
11.
อยากจะทำตัวให้เป็นที่รักของทุกคนอยู่เสมอ (Eagerness to
please) เรียกว่าอยากสร้างภาพให้ตัวเองเป็นพ่อพระ
หรือแม่พระ ภาพพจน์ตัวเองจะต้องดูดีเสมอก็เลยชอบตามใจลูกน้อง
แม้ลูกน้องทำผิดก็ไม่กล้าว่ากล่าวตักเตือนเพราะกลัวลูกน้องเคือง
ทำให้มักมีปัญหาในการปกครองบังคับบัญชาอยู่เสมอ ๆ ทำให้ลูกน้องที่ร้าย ๆ
ก็จะทำอะไรผิด ๆ โดยที่หัวหน้าไม่กล้าทำอะไร แล้วลูกน้องที่ดีก็จะเริ่มถอดใจไปเรื่อย
ๆ
ที่ผมนำมาเล่าสู่กันฟังทั้งหมดข้างต้นนี้คงจะพอประยุกต์ใช้กับหัวหน้างานที่มีลูกน้องในระดับถัด
ๆ ลงไปทุกระดับ คือเรียกว่าตั้งแต่ระดับ CEO ลงมาเลยก็ว่าได้
หรือแม้วันนี้ท่านอาจจะยังไม่ใช่ CEO แต่ท่านก็ลองดู
CEO ของท่านสิครับว่าเขาอยู่ในข้อใดที่กำลังจะนำพาตัวเขา
(พร้อมทั้งตำแหน่ง) ไปสู่ความล้มเหลว
เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับตำแหน่งหน้าที่การงานของท่านในวันข้างหน้าที่จะได้ไม่ผิดพลาดซ้ำกับตัวอย่างที่ท่านได้เห็นแล้วไงครับ.
………………………..