ครั้งหนึ่งเคยมีการทดลองของมหาวิทยาลัย MIT โดยแบ่งนักศึกษาเป็น 2 กลุ่มแล้วให้ชิมเบียร์ 2 ชนิด
เบียร์ชนิดแรกเป็นเบียร์ปกติตามท้องตลาดยี่ห้อที่คนชอบกิน
ส่วนเบียร์ชนิดที่สองเป็นเบียร์ที่ผสมน้ำส้มสายชูสูตรพิเศษของ
MIT
นักศึกษากลุ่มแรกผู้ทำวิจัยไม่ได้บอกข้อมูลอะไร
เมื่อชิมแล้วบอกว่าเบียร์ชนิดที่สองรสชาติดีกว่าชนิดที่หนึ่ง
ส่วนนักศึกษากลุ่มที่สองได้รับการบอกข้อมูลว่าเบียร์ชนิดแรกเป็นเบียร์ตลาดทั่วไป
แต่เบียร์ชนิดที่สองเป็นเบียร์ผสมน้ำส้มสายชู
ผลก็คือนักศึกษากลุ่มที่สองนี้เมื่อชิมเบียร์ทั้งสองชนิดแล้วทำหน้าแหย
ๆ
และบอกว่าเบียร์ชนิดแรกรสชาติดีกว่า
ทำให้เห็นได้ว่าคนเรามักมีแนวโน้มจะตัดสินใจไปก่อนล่วงหน้าตามข้อมูลที่ได้รับ
!
เพื่อยืนยันเรื่องนี้จึงมีการทดลองอีกครั้งหนึ่ง
แต่มีการให้ข้อมูลกับทั้งนักศึกษากลุ่มแรกว่าเบียร์ชนิดแรกคือเบียร์ปกติ
แต่เบียร์ชนิดที่สองผสมน้ำส้มสายชูสูตรพิเศษของ
MIT
และให้ข้อมูลกับนักศึกษากลุ่มที่สองเช่นเดียวกับนักศึกษากลุ่มแรก
แต่ตอนจะรับเบียร์ไปชิมจะมีหลอดน้ำส้มสายชูสูตรของ MIT แบบหลอดหยดพร้อมบอกสูตรวิธีในการผสมเพื่อให้นักศึกษาทดลองชิม
ผลปรากฎว่านักศึกษากลุ่มที่สองเลือกเบียร์ปกติไปแล้วผสมน้ำส้มสายชูมากกว่านักศึกษากลุ่มแรกถึงเท่าตัว
จากการทดลองนี้เห็นได้ว่าการให้ข้อมูลหรือการประชาสัมพันธ์สื่อสารให้คนรู้ล่วงหน้าจะทำให้เกิดความคาดหวังและตัดสินใจไปก่อนล่วงหน้า
หรือคนเรามีแนวโน้มที่จะตัดสินใจไปก่อนตามสิ่งที่เคยได้ยินหรือเคยคาดหวังเอาไว้
ท่านที่เคยผ่านหลักสูตร
“เทคนิคการนำเสนอ” หรือ “วิทยากรฝึกอบรม” คงต้องเคยได้รับการบอกเล่าเรื่องกฎเหล็กของการเป็นผู้นำเสนอ
หรือการเป็นวิทยากรว่า....
ไม่ควรออกตัวกับผู้ฟังไปก่อนล่วงหน้าด้วยคำพูดทำนองนี้....
“ผมก็เพิ่งเริ่มต้นเป็นวิทยากรวันนี้เป็นครั้งแรก
ถ้าบรรยายผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วย...”
หรือ
“หนูเพิ่งเข้ามาเป็นพนักงานขายมือใหม่อาจจะยังไม่รู้
Product
ครบหมดทุกตัว....”
นี่แหละครับอิทธิพลของ
Effect
of Expectations