องค์กรส่วนใหญ่ก็จะปรับเงินเดือนให้กับพนักงานที่ได้รับการเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเพราะพนักงานจะต้องมีหน้าที่และงานต้องรับผิดชอบในหลาย ๆ เรื่องที่มากขึ้น ซี่งค่าเฉลี่ยในการปรับเงินเดือนเมื่อ Promote ก็จะอยู่ที่ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์แต่ไม่เกิน Midpoint ของกระบอกเงินเดือนถัดไป (ในกรณีที่องค์กรนั้นมีโครงสร้างเงินเดือน)
เรื่องที่ผมชวนคิดในวันนี้ก็คือเรื่องการปรับเงินเดือนเมื่อ
Promote
นี่แหละครับ !
เพราะหลายองค์กรมักจะนำรอบในการ
Promote
ไปไว้ในเวลาเดียวกับการขึ้นเงินเดือนประจำปี
แล้วก็ปรับเงินเดือนให้กับพนักงานที่ได้รับการ Promote รวมไปกับการขึ้นเงินเดือนประจำปี
พอนำเงินของทั้ง
2 เรื่องมารวมกันก็มักจะเกิดปัญหาว่า....
จะบอกพนักงานที่ได้รับการ
Promote
ให้ชัดเจนได้ยังไงว่าเขาได้รับการปรับเงินเดือนเพราะ Promote
เท่าไหร่
และเป็นเงินที่ได้จากการขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงานของเขาเท่าไหร่ ?
หลายแห่งก็จะแจ้งทั้งสองยอดแบบถัว
ๆ ปน ๆ กันไปเป็นยอดรวมแล้วให้พนักงานไปนั่งทางในเอาเองว่าตัวเองได้ปรับเงินเดือนเพราะ
Promote
เท่าไหร่และได้รับการขึ้นเงินเดือนตามผลงานเท่าไหร่ แล้วผู้บริหารก็มีหนังสือแสดงความยินดีที่บริษัท
Promote ให้ได้รับตำแหน่งสูงขึ้น พนักงานก็จะรับทราบแบบงง ๆ แบบสำนวนจีนที่ว่า
“หัวเราะมิได้..ร่ำไห้มิออก”
ผมยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัด
ๆ อย่างงี้ดีไหมครับ
นาย
A ได้รับการ Promote จากผู้ช่วยผู้จัดการแผนกไปเป็นผู้จัดการแผนก
สมมุติปัจจุบันนาย A เงินเดือน 30,000 บาท
ตามหลักเกณฑ์ของบริษัทคือจะปรับเงินเดือนให้พนักงานที่ได้รับการ Promote
10% ดังนั้นนาย A จะได้รับการปรับเงินเดือน =
30,000*10%=3,000 บาท
แต่เนื่องจากรอบการ
Promote
ไปตรงกับการขึ้นเงินเดือนประจำปี ซึ่งโดยปกติค่าเฉลี่ยการขึ้นเงินเดือนประจำปีของบริษัทต่าง
ๆ (จากผลการสำรวจค่าตอบแทนในตลาด) จะอยู่ที่ประมาณ 5%
หมายถึงถ้าใครได้รับการประเมินผลงานในเกรด
C ก็จะได้รับการขึ้นเงินเดือนประมาณ 5%
ถ้าได้เกรด B ก็ได้ประมาณ
8% ถ้าได้เกรด A ก็ประมาณ 10%
ถ้าผลงานแย่กว่าค่าเฉลี่ยคือเกรด
D ก็อาจจะได้ประมาณ 3% และถ้าผลงานแย่สุดคือ E ก็ไม่ได้รับการขึ้นเงินเดือน
แต่นาย
A ได้รับการ Promote ก็ควรจะต้องมีผลงานเป็นที่ยอมรับของหัวหน้าและฝ่ายบริหาร
ผมสมมุติว่านาย A ก็ได้รับการประเมินผลงานในเกรด
B ก็ควรจะได้รับการขึ้นเงินเดือนประจำปี 8% ใช่ไหมครับ
ตรงนี้ก็จะเกิดวิธีการปรับเงินเดือนเมื่อ
Promote
และขึ้นเงินเดือนประจำปี 2 แบบคือ
แบบที่ 1 : ปรับเงินเดือนเมื่อ
Promote และขึ้นเงินเดือนประจำปีแบบแยกยอดแบ่งเป็น 2 วิธี
วิธีที่ 1 : บริษัทขึ้นเงินเดือนประจำปีให้นาย
A ไปก่อน แล้วถึงจะปรับเงินเดือนเนื่องจากการ Promote
ให้ก็จะเป็นแบบนี้
30,000*8%=2,400
บาท ฐานเงินเดือนใหม่ = 32,400 บาท
แล้วปรับเงินเดือนเมื่อ Promote ให้นาย A
อีก 10% คือ 32,400*10%=3,240 บาท
เงินเดือนใหม่ของนาย A =
35,640 บาท
วิธีที่
2 : บริษัทใช้ฐานเงินเดือนปัจจุบันแล้วปรับขึ้นไปรวดเดียว
18% คือ 30,000*18%=5,400 บาท เงินเดือนใหม่ของนาย
A = 35,400 บาท
ถ้าใช้วิธีที่ 2 นาย
A จะเสียประโยชน์ไป 240 บาท แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีที่
1 หรือ 2 ผมก็ยังถือว่าบริษัทยังใช้
“หลักเกณฑ์” หรือมีกติกาที่อธิบายให้พนักงานเข้าใจได้
แบบที่ 2 : ปรับเงินเดือนเมื่อ
Promote และขึ้นเงินเดือนประจำปีแบบรวมยอด
บางบริษัทที่เสียน้อยเสียยากก็จะเห็นว่าถ้าจะปรับเงินเดือนให้ตามข้อ
1 จะทำให้มีเปอร์เซ็นต์การปรับที่สูงเกินไปตั้ง 18% ก็จะใช้
“หลักกู” คือคิดเปอร์เซ็นต์ปรับแบบเหมา ๆ รวม ๆ ขึ้นมา เช่น ปรับให้สัก 15%
ก็แล้วกันโดยรวมทั้งการปรับเงินเดือนเมื่อ Promote เข้ากับการขึ้นเงินเดือนประจำปี
ดังนั้นนาย A ก็จะได้รับการปรับเงินเดือนแบบเหมา
ๆ ถัว ๆ กันไปคือ 30,000*15%=4,500 บาท เงินเดือนใหม่ของนาย
A = 34,500 บาท
เวลาแจ้งให้นาย A ทราบก็จะบอกว่านาย
A ได้รับการขึ้นเงินเดือนประจำปีรวมการปรับเงินเดือนเนื่องจาก
Promote คือ 15%
คุ้น ๆ
กับวิธีปรับแบบนี้ไหมครับ ?
ยังมีอีกหลายบริษัทที่ทำแบบนี้คือนำการปรับเงินเดือนเมื่อ
Promote
เข้าไปรวมกับการขึ้นเงินเดือนประจำปีแล้วก็แจ้งพนักงานให้รู้แต่ยอดรวมโดยไม่บอกว่าพนักงานได้รับการปรับเงินเดือนเนื่องจาก
Promote เท่าไหร่ และได้รับจากผลงานประจำปีเท่าไหร่
ปรับแบบนี้ผมว่าผู้บริหารกำลังคิดเล็กคิดน้อยแบบ
“เสียน้อยเสียยาก-เสียมากเสียง่าย” แล้วล่ะครับ !!
แทนที่พนักงานที่ได้รับการ
Promote
จะดีใจกลับทำให้เขารู้สึกติดลบกับผู้บริหารอีกต่างหาก
ถ้าทำแบบที่ 2 บริษัทอาจจะ
Save Cost ได้ประมาณ 900-1,140 บาท
ก็จริง
แต่คุ้มกันไหมกับความรู้สึกของพนักงานที่มีผลงานดีที่ได้รับการ
Promote
แต่กลับโดนกั๊กการปรับเงินเดือนแบบเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่ายอย่างนี้
แทนที่การปรับเงินเดือนเมื่อ
Promote
จะทำให้พนักงานรู้สึกดี กลับทำให้เขาคิดว่าถูกเอาเปรียบซะงั้น
บริษัทควรทำยังไงในกรณีนี้
1.
ควรแยกรอบในการ Promote ออกจากรอบที่ขึ้นเงินเดือนประจำปี เช่น รอบในการ Promote
เป็นเดือนกรกฎาคม
ส่วนรอบการขึ้นเงินเดือนประจำปีคือเดือนมกราคมของทุกปี หรือ
2.
ถ้าบริษัทจะยังคงการ Promote และขึ้นเงินเดือนประจำปีไว้ในรอบเดียวกัน ก็ควรจะแยกยอดให้ชัดเจนแบบแฟร์ ๆ
ตามตัวอย่างในข้อ 1 ข้างต้นว่าพนักงานได้รับการปรับเงินเดือนเมื่อ
Promote กี่เปอร์เซ็นต์ตามหลักเกณฑ์
และได้รับการปรับเงินเดือนตาม Performance กี่เปอร์เซ็นต์
จะได้แจ้งให้พนักงานทราบได้อย่างชัดเจนไม่คลุมเครือให้พนักงานไปนั่งคิด (แค้น) เอาเอง
ฝากไว้เพื่อเป็นข้อคิดในการปรับปรุงเรื่องนี้สำหรับคนที่เกี่ยวข้องนะครับ
จะให้แบบให้เป็นบุญคุณเพื่อซื้อใจ หรือจะให้แบบเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่ายก็ไปตัดสินใจกันเอาเองครับ