หลายครั้งเราก็มักจะได้ยินการบอกต่อ ๆ กันมาโดยขึ้นต้นว่า “เขาว่า....”
กรณีนี้ก็เช่นเดียวกันครับ
พอผมได้ยินคำถามนี้ก็เลยย้อนถามกลับไปว่า “เขาคือใคร ?”
คำตอบคือ
“ได้ยินมาอย่างนี้”
ก็เลยนำมาเล่าสู่กันฟังว่าอย่าหาทำเลยครับเรื่องของสัญญาจ้าง
2 ฉบับเนี่ยะ
เพราะม.17 ของกฎหมายแรงงานก็บอกเอาไว้ชัดเจนว่า
“....ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาด้วย...”
ดังนั้นการทำสัญญาจ้าง
2 ฉบับคือฉบับที่ 1 เป็นสัญญาจ้างแบบมีระยะเวลาไม่เกิน
120 วัน เช่น ระบุวันที่จ้างคือ 1 มิย.ถึงวันที่
27 กย. ระยะเวลา 119 วัน
ถ้าหากพนักงานทำงานมาแล้ว
(นับตั้งแต่วันที่บริษัทรับเข้าทำงาน) ตั้งแต่วันที่ 28 กย.เป็นต้นไป แล้วบริษัทต้องการจะเลิกจ้างเนื่องจากผลงานไม่ดีไม่เป็นที่น่าพอใจ
บริษัทก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 คือพนักงานที่มีอายุงานตั้งแต่
120 วันไม่เกิน 1 ปี
ค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
แต่ถ้าหากพนักงานทำงานดี
บริษัทประเมินให้ผ่านทดลองงาน
บริษัทก็จะทำสัญญาจ้างฉบับที่
2 โดยเริ่มต้นสัญญาตั้งแต่วันที่ 28 กย.เป็นต้นไป แล้วก็จะเริ่มนับอายุงานคือวันที่
28 กย.โดยถือว่าสัญญาจ้างฉบับแรกเป็นสัญญาจ้างทดลองงานไม่เกี่ยวกับสัญญาจ้างฉบับที่
2
กรณีตัวอย่างข้างต้น
ตามกฎหมายแรงงานก็จะถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานฉบับแรกเป็นสัญญาจ้างแบบไม่มีระยะเวลา
(ซึ่งก็คือสัญญาจ้างพนักงานประจำ) เหมือนกับสัญญาจ้างฉบับที่ 2 นั่นแหละครับ
แถมยังต้องนับอายุงานตั้งแต่วันที่
1
มิย.ด้วยโดยถือเอาวันเริ่มงานจริงเป็นหลัก
ไม่ใช่การนับวันที่ 28
กย.ตามสัญญาจ้างฉบับที่ 2 นะครับ
ผมถึงได้บอกว่าถึงทำสัญญาจ้างไป
2 ฉบับก็ไม่มีประโยชน์
ถ้าบริษัทไหนยังทำสัญญาจ้างแบบ
2
ฉบับอย่างนี้อยู่ก็ยกเลิกไปเถอะครับ ทำสัญญาจ้างฉบับเดียวตามปกตินั่นแหละพอแล้ว
และแสดงถึงนโยบายของฝ่ายบริหารว่าไม่ได้คิดตุกติก คิดเล็กคิดน้อยกับพนักงานครับ
ทำนองเดียวกัน
ท่านที่กำลังจะเข้าทำงานกับบริษัทไหนที่มีสัญญาจ้าง 2
ฉบับอย่างนี้ก็ควรคิดให้ดี ๆ
นะครับว่าควรจะร่วมงานกับบริษัทแบบนี้ดีหรือไม่
เรื่องอย่างนี้คนที่เป็น
HR
มืออาชีพก็ควรจะต้องกล้าให้ความรู้ที่ถูกต้องกับฝ่ายบริหารเพื่อให้มีความเข้าใจและทำในสิ่งที่ควรทำจะดีกว่านะครับ