ผมเชื่อว่าคนทุกคนที่เป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้บังคับบัญชาก็ล้วนแต่อยากจะเป็นที่รักสำหรับลูกน้องกันทั้งนั้น
คงไม่มีใครอยากเป็นหัวหน้าที่ลูกน้องเกลียดหรอกจริงไหมครับ
แต่ทำไมถึงยังมีหัวหน้าที่ลูกน้องไม่รักอยู่ล่ะ
?
ลองกลับมาทบทวนวัตรปฏิบัติของหัวหน้ากันดูสักนิดดีไหมครับว่าอะไรคือพฤติกรรมหรือสิ่งที่หัวหน้างานควรปฏิบัติกับลูกน้องบ้าง
1. เป็นหัวหน้าที่รู้จักการให้ (ท่านเคย
“ให้” อะไรลูกน้องบ้าง ?) : ทาน
-
ให้กำลังใจ, ให้คำปลอบใจในยามที่ลูกน้องเริ่มท้อ (Cheer up)
-
ให้คำชมเชย/ให้เครดิตลูกน้องเมื่อเขาทำงานสำเร็จ
-
พร้อมที่จะให้คำปรึกษาหารือ/ให้ความช่วยเหลือลูกน้อง
-
ไปเที่ยวต่างจังหวัดก็ซื้อของกินเล็ก ๆ น้อย ๆ มาเลี้ยงลูกน้องบ้าง
-
รู้จัก Happy Birthday ลูกน้องบ้าง
2. หัวหน้างานต้องระมัดระวังการประพฤติปฏิบัติให้ดีทั้งกาย
วาจา ใจ : ศีล
-
หัวหน้าจะอยู่ในสายตาของลูกน้องอยู่เสมอ
หัวหน้าต้องระวังพฤติกรรมการแสดงออก
คำพูดคำจากับลูกน้องอยู่เสมอ เพราะหัวหน้ากับลูกน้องจะเหมือนกับพ่อแม่กับลูก
(ลูกจะมองพ่อแม่อยู่เสมอและจะจดจำพฤติกรรมที่ดีและไม่ดีของพ่อแม่อยู่เสมอ,
ลูกน้องกับหัวหน้าก็เหมือนกัน)
-
ไม่แสดงกิริยาวาจาก้าวร้าว ดูถูกลูกน้อง หรือพูดจาห้วนไม่มีหางเสียง
ทำตัวเป็นนายมองลูกน้องเป็นทาสหรือต่ำกว่า (ความจริงก็เป็นลูกจ้างของบริษัทเหมือนกันนั่นแหละแต่จะต่างกันก็แค่ตำแหน่ง)
3. หัวหน้างานต้องมีความเสียสละ :
ปริจจาคะ
-
เป็นหัวหน้าที่เคยเสียสละให้ลูกน้องบ้างไหม เช่น
ลูกค้าเอากระเช้ามาอวยพรปีใหม่ให้กับหัวหน้า
แล้วหัวหน้าเอากระเช้าเหล่านั้นกลับบ้านหน้าตาเฉย โดยไม่เคยเสียสละให้กับลูกน้องและคิดว่ากระเช้าเหล่านั้นก็เป็นผลงานของลูกน้องด้วย
4. หัวหน้างานต้องมีความซื่อตรง :
อาชชวะ
-
ไม่ทุจริตคดโกงบริษัทแม้แต่ในเรื่องเล็ก ๆ น้อยๆ ก็ตาม
และต้องจัดการกับลูกน้องที่ทุจริตให้ทุกคนเห็นเป็นตัวอย่าง
-
พฤติกรรมเรื่องความซื่อตรงของหัวหน้างานถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะถ้าหัวหน้างานขาดความซื่อตรงแล้วลูกน้องจะขาดความเชื่อถือศรัทธา
ยอมรับทันที เพราะความลับไม่มีในโลก ดังนั้นพฤติกรรมความซื่อตรงซื่อสัตย์ของหัวหน้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ
5. หัวหน้างานต้องมีความอ่อนโยน :
มัททวะ
-
ความอ่อนโยนไม่ใช่อ่อนแอ
แต่หมายถึงหัวหน้างานควรจะเป็นคนที่ให้เกียรติคนพูดจาสุภาพกับคนรอบข้างแม้ว่าคน ๆ
นั้นจะมีตำแหน่งต่ำกว่าก็ตาม
6. หัวหน้างานต้องมีความเพียรพยายามมีความมุ่งมั่นไม่ท้อถอยง่าย
: ตปะ
-
ผู้นำที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีคุณสมบัติสำคัญตัวหนึ่งที่ Dr.Dave Ulrich (ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน
ซึ่งเป็นคนที่วงการ HR ยอมรับว่าเป็น Guru ด้าน HR ยุคปัจจุบัน) บอกว่าจะต้องมี Commitment คือต้องมีความมุ่งมั่นในผลสำเร็จไม่ท้อถอยถอดใจง่าย
เมื่อมีความตั้งใจแล้วต้องมีความแน่วแน่และทำจริงจนบรรลุเป้าหมาย
-
ไม่ว่าจะพบกับปัญหามากแค่ไหนหัวหน้างานก็จะต้องมีความมุ่งมั่นมีความเพียรที่จะหาวิธีการแก้ปัญหาต่าง
ๆ ให้สำเร็จให้ได้
-
หากหัวหน้ามีความเพียรพยายามอย่างนี้แล้ว
ลูกน้องก็จะเกิดแรงฮึดตามไปด้วย
7. หัวหน้างานต้องมีการควบคุมอารมณ์ให้ดีไม่โกรธง่าย
: อักโกธะ
-
ไม่มีลูกน้องคนไหนอยากได้หัวหน้าที่มีวาจาเป็นอาวุธ
ดาวพุธเป็นวินาศ จุดเดือดต่ำฟิวส์ขาดง่าย อารมณ์ร้ายโวยวายเสียงดัง
ดังนั้นหัวหน้างานจะต้องมีสติและควบคุมอารมณ์เอาไว้ให้ได้อยู่เสมอ
แม้ในเวลาที่โกรธมากก็ตาม
-
ดังนั้นถ้าหัวหน้างานเป็นคนขี้โมโห อีคิวต่ำ ลูกน้องก็จะมองด้วยสายตาหวาดระแวงไม่อยากเข้าใกล้เป็นธรรมชาติมนุษย์ของครับ
หัวหน้างานจึงต้องมีสติและหาทางระงับความโกรธท่านเคยเห็นใครที่แก้ปัญหาสำเร็จด้วยความโกรธบ้างไหมล่ะครับ
8. หัวหน้างานไม่ควรเบียดเบียนลูกน้อง
: อวิหิงสา
-
เช่น ไม่ควรไปแจกซองกฐินผ้าป่าหรือเรี่ยไรเงินกับลูกน้องเพราะลูกน้องอาจจะต้องจำใจทำบุญ
แทนที่จะได้บุญกลับจะทำให้ลูกน้องเอาไปนินทา
-
เป็นเจ้ามือหวยหรือเป็นคนปล่อยเงินกู้ให้ลูกน้อง
-
เอางานส่วนตัวที่ไม่ใช่เรื่องงานมาให้ลูกน้องทำ
เช่นบางคนเรียนต่อภาคค่ำหรือวันหยุดก็เอารายงานต่าง ๆ
ที่อาจารย์มอบหมายให้ทำไปให้ลูกน้องทำต่อในเวลางานซึ่งลูกน้องก็ไม่ได้อยากทำเพราะไม่ใช่งานที่ลูกน้องต้องรับผิดชอบสักหน่อย
แต่ต้องจำใจทำเพราะเกรงในความเป็นหัวหน้า เป็นต้น
9. หัวหน้างานต้องมีความอดทนอดกลั้น
: ขันติ
-
แม้จะมีเหตุการณ์ไม่ดีเข้ามากระทบ หรือพบกับเรื่องที่ไม่พอใจหัวหน้างานก็ควรจะต้องเก็บอาการให้ดี
มีขันติไม่แสดงอาการหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมาให้ลูกน้องเห็น เช่นถูกพูดยั่วยุจากผู้ที่มีความขัดแย้งกันในเรื่องงาน
หรือถูกหัวหน้าระดับที่สูงกว่าตำหนิแบบไม่มีเหตุผล หัวหน้างานก็ควรจะต้องมีความอดทนอดกลั้นไม่ฟิวส์ขาดง่ายและหาวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วยสติมากกว่าใช้อารมณ์โต้ตอบออกไป
10. หัวหน้างานควรจะต้องประพฤติตัวดีไม่ทำตัวผิดทำนองคลองธรรม
: อวิโรธนะ
-
หัวหน้างานควรจะต้องระมัดระวังความประพฤติที่ไม่ถูกต้อง เช่น หัวหน้าไม่ควรมีเรื่องชู้สาวกับลูกน้อง
หรือฉวยโอกาสแต๊ะอั๋งลวนลามลูกน้อง (ทำงานตัวเป็นเกลียวแต่หัวเป็นงู)
ทั้งหมด 10 ข้อข้างต้นคือหลัก “ทศพิศราชธรรม” นั่นเองที่ถ้าหากหัวหน้างานหรือผู้นำทีมงานได้น้อมนำหลักนี้มาใช้ในการทำงานก็จะทำให้หัวหน้าคนนั้นเป็นคนที่มีพฤติกรรมที่ลูกน้องยอมรับ
ศรัทธา
ผมอยากให้หัวหน้างานทุกท่านได้ลองหันกลับมาสำรวจพฤติกรรมที่ตนเองได้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันโดยไม่เข้าข้างตัวเองดูนะครับว่าท่านได้ปฏิบัติในข้อไหนได้ดีอยู่แล้ว
หรือควรจะปรับปรุงข้อไหนให้ดีขึ้นเพื่อที่จะได้เป็นหัวหน้าที่ดีและลูกน้องรัก
ทำงานด้วยกันด้วยความราบรื่นและลดปัญหาในการทำงานร่วมกันลงครับ
ปิดท้ายผมมีกลอนสอนใจไว้เป็นข้อคิดดี ๆ สำหรับหัวหน้าทุกคนครับ
(ต้องขออภัยที่ผมไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง แต่เห็นว่าดีเลยเอามาแชร์ต่อจึงขอขอบพระคุณผู้แต่งกลอนนี้ไว้
ณ ที่นี้ด้วยครับ)
“อันหัวโขน เขามีไว้ ใส่ครอบหัว
มิใช่ตัว เราจริงจัง ดังที่เห็น
เขามีบท กำหนดแจ้ง แสดงเป็น
เมื่อเลิกเล่น อย่าหลงผิด คิดว่าเรา
ทั้งหน้าพระ ยักษ์ลิง สิ่งสมมุติ
ทั้งเดินหยุด รำเต้น เล่นตามเขา
หมดเวลา ลาโรง จงถอดเอา
หน้าโขนเก่า เก็บไว้ ใช้หน้าจริง
ในเวที ชีวิต มีมิตรไว้
มีน้ำใจ ไมตรี ดีกว่าหยิ่ง
เพื่อนสนิท มิตรสหาย ไว้พึ่งพิง
พระยักษ์ลิง ควรคิดย้อน สอนตัวเรา”
……………………………