ประเทศชาติต้องมีกฎหมาย องค์กรบริษัทก็ย่อมต้องมีกฎระเบียบข้อบังคับ
ทำไมต้องมี
?
ในทุกสังคมย่อมมีทั้งคนประพฤติตัวดีและไม่ดี
ซึ่งแน่นอนว่าคนประพฤติตัวไม่ดีแม้จะมีจำนวนน้อยกว่าคนที่ทำตัวดี
แต่ถ้าไม่มีหลักเกณฑ์ในการควบคุมความประพฤติของคนไม่ดีแล้ว
ย่อมจะทำให้เกิดปัญหากับคนส่วนใหญ่กระทบถึงความสงบเรียบร้อยของสังคมนั้น ๆ
และหลายครั้งที่ทำให้เกิดความเสียหายกับสังคมนั้น ๆ ตามมามากมาย
ยิ่งถ้าคนในสังคมนั้น ๆ
เห็นว่าคนที่ทำตัวฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ยังลอยนวลอยู่ได้ ก็จะเอาอย่างบ้างแบบ Me too สังคมนั้นก็จะเกิดปัญหาวุ่นวายตามมา
หลักเกณฑ์หรือกติกาจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ปฏิบัติกับทุกคนในทุกสังคม
เพราะจะสามารถตอบคำถามของผู้คนได้ด้วยเหตุผลเดียวกัน
ลดความรู้สึกไม่เป็นธรรมหรือสองมาตรฐานของผู้คนลงได้ดีกว่าการใช้หลักกูในการตอบคำถาม
การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ยังสะท้อนได้ถึง
“วินัย” ของผู้คนในสังคมนั้น ๆ อีกด้วย
“วินัย”
เป็นพื้นฐานที่สำคัญของคนและสำคัญอย่างมากในการพัฒนาคน
นักกีฬาจะประสบความสำเร็จไม่ได้เลยถ้าขาดวินัยในการฝึกซ้อม
บริษัทจะก้าวหน้าไปไม่ได้ไกลถ้าคนในบริษัทขาดวินัยในการทำงาน
ประเทศชาติจะแก้ปัญหาหรือพัฒนาเรื่องใด
ๆ ไปอย่างลำบากถ้าคนในชาติปราศจากวินัย
ตัวที่ทำให้วินัยมีปัญหาก็คือ “หลักกู”
ครับ
หลักกูที่มักจะพยายามหาเหตุผลแบบแถ
ๆ เพื่อเข้าข้างตัวเองว่าการไม่ทำตามหลักเกณฑ์นั้น เป็นสิ่งที่ชอบแล้ว ถูกแล้ว
เช่น
ตามระเบียบของบริษัทบอกไว้ว่าถ้าพนักงานมาทำงานสายเกินกว่า 8.00
น.หัวหน้าต้องเรียกลูกน้องมาตักเตือนด้วยวาจา, เป็นลายลักษณ์อักษร ฯลฯ
แต่พอนาย
A ลูกรักของหัวหน้ามาสายเป็นประจำ หัวหน้าก็ปิดตาซะข้างหนึ่ง
หรือถ้ามีใครไปถามหัวหน้าว่าทำไมถึงไม่เรียกนาย A มาเตือนเรื่องมาสาย
หัวหน้าก็ให้เหตุผลว่าเป็นดุลพินิจของพี่ พี่จะเตือนใครหรือไม่เตือนใครก็เป็นเรื่องของพี่
พวกคุณคนอื่น ๆ อย่ามาสายก็แล้วกัน
ถ้าหัวหน้าใช้หลักกูตอบลูกน้องแบบนี้จะยังมีความน่าเชื่อถือในสายตาของลูกน้องในหน่วยงานนี้เหลืออยู่ไหม
?
แล้วถ้าลูกน้องคนอื่น
ๆ จะลอง Me
too อย่างงี้บ้างล่ะ หัวหน้าจะว่ายังไง ?
หัวหน้าจับได้ว่านส.B แคชเชียร์ยักยอกเงินของบริษัท
จึงมีการสอบสวนด้วยคณะกรรมการวินัยจากฝ่าย HR ฝ่ายเป็นกลางและมีหลักฐานชัดเจนชัดเจนว่านส.B
ทุจริตยักยอกเงินของบริษัทจริง
แต่หัวหน้าใช้หลักกูบอกคณะกรรมการว่าขอให้เห็นกับความดีของนส.B
ในอดีตมาหักล้างความผิดในครั้งนี้ว่าอย่าไล่นส.B ออก
เพราะถ้าไล่นส.B ออกจะไม่มีแคชเชียร์คนไหนที่ทุ่มเททำงานหนักเท่านส.B ขอแค่ออกหนังสือเตือนก็พอ
หรือหลักกูของหัวหน้าบอกว่า
นส.B เขายักยอกเงินแค่ 2 หมื่นบาทเอง และที่เขาทำไปอย่างนั้นเพราะเขาบอกว่าจำเป็นต้องเอาเงินไปจ่ายค่าเทอมลูก
หลักกูของหัวหน้าที่หนักกว่านั้นคือการให้เหตุผลที่จะไม่ทำตามหลักเกณฑ์ว่า
ถ้าบริษัทไล่นส.B
ออก เท่ากับบริษัททำร้ายครอบครัวของนส.B เพราะนส.B
จะไม่มีเงินส่งเสียให้ลูกเรียน อาจจะต้องเอาลูกออกจากโรงเรียน
คำถามคือ..ถ้าคณะกรรมการวินัยไม่ทำตามหลักเกณฑ์แต่ทำตามหลักกูของหัวหน้าคนนี้จะเกิดอะไรตามมา
?
ที่ผมฝอยมาข้างต้นนี้ไม่ได้แปลว่าเราจะต้องเป็นทาสของหลักเกณฑ์นะครับ
ถ้ากติกาหลักเกณฑ์ไหนไม่ Update หรือล้าสมัยก็สามารถปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะกับยุคสมัยได้เสมอ
กฎหมายยังมีการแก้ไขปรับปรุงอยู่เป็นระยะ
กฎระเบียบข้อบังคับของบริษัทก็ควรจะเป็นอย่างนั้น
แต่ที่สำคัญคือต้องยึดหลักเกณฑ์ในการบริหารคนให้มากกว่าหลักกู
โดยเฉพาะการใช้เหตุผลแบบแถ
ๆ เพื่อใช้หลักกูอยู่เหนือหลักเกณฑ์
เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ตั้งแต่ระดับบริษัทยันประเทศชาติก็เพราะใช้หลักกู
Overrule
หลักเกณฑ์นี่แหละครับ !!
ยิ่งตำแหน่งสูงมากขึ้นเท่าไหร่แล้วใช้หลักกู
Overrule
หลักเกณฑ์ก็ยิ่งจะทำให้เกิดปัญหาความวุ่นวายในการบริหารคนมากขึ้นเท่านั้น
จริงหรือไม่
ใช่หรือเปล่า ก็ต้องใช้หลักกาลามสูตรเพื่อหาคำตอบให้กับตัวท่านเองครับ