เมื่อรับพนักงานเข้ามาใหม่ แน่นอนว่าคงไม่ได้เข้าทำงานวันที่ 1 มกราคมของปีทุกคนจริงไหมครับ แต่ละคนก็จะเข้ามาไม่พร้อมกันบางคนเข้าทำงานต้นปี บางคนเข้ามากลางปี บางคนก็เข้ามาปลายปี
ปัญหาก็คือเมื่อพนักงานใหม่แต่ละคนเข้ามาทำงานไม่พร้อมกันแล้ว
บริษัทจะขึ้นเงินเดือนให้เขาดีหรือไม่ ถ้าจะขึ้นเงินเดือนให้จะขึ้นให้ยังไงดี?
วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องแบบนี้ก็มีอยู่หลายรูปแบบนะครับ คือ
บางบริษัทก็ไม่ขึ้นเงินเดือนให้เลยก็มี, บางบริษัทก็ขึ้นให้เท่า ๆ
กับพนักงานทั่วไป, บางบริษัทก็ขึ้นเงินเดือนให้ตามส่วน ฯลฯ
สำหรับแนวทางที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้คงเป็นแนวทางปฏิบัติในหลาย
ๆ องค์กร นั่นคือการขึ้นเงินเดือนให้ตามผลการปฏิบัติงาน และคิดตามจำนวนวันที่เข้ามาทำงานกับองค์กร
ดังนี้ครับ
1.
กำหนดหลักเกณฑ์การขึ้นเงินเดือนประจำปีสำหรับพนักงานใหม่ให้ชัดเจน เช่น
พนักงานใหม่ที่จะมีสิทธิได้รับการขึ้นเงินเดือนประจำปีคือพนักงานที่เข้าทำงานก่อนวันที่
1 ตุลาคมของทุกปี ถ้าเข้าทำงานหลังจากนี้จะไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือน
2.
ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานในระหว่างที่พนักงานใหม่ปฏิบัติงานอยู่
3.
พนักงานใหม่จะได้รับการขึ้นเงินเดือนประจำปีเป็นเปอร์เซ็นต์ตามที่บริษัทกำหนด
4.
คำนวณการขึ้นเงินเดือนประจำปีสำหรับพนักงานใหม่ตามส่วน
(Prorate)
โดยคิดตามจำนวนวันที่เข้าทำงานในปีนั้น
จากหลักเกณฑ์ตามตัวอย่างทั้ง
4 ข้อข้างต้น ผมขอยกกรณีตัวอย่างดังนี้คือ
สมมุติบริษัทรับนายวิชัย
เข้ามาทำงานวันที่ 1
กันยายน อัตราเงินเดือน 10,000 บาท
และในปีนี้บริษัทมีนโยบายว่าหากพนักงานที่มีผลการประเมินเกรด A จะได้ 10 เปอร์เซ็นต์ เกรด B จะได้
8 เปอร์เซ็นต์ เกรด C จะได้ 5 เปอร์เซ็นต์ เกรด D จะได้ 3 เปอร์เซ็นต์
เกรด E ไม่ได้ขึ้นเงินเดือน
นายวิชัยถูกประเมินผลงานได้เกรด
C ก็จะได้ขึ้นเงินเดือน 5 เปอร์เซ็นต์
ดังนั้นนายวิชัยจะได้รับการขึ้นเงินเดือนดังนี้ครับ
นายวิชัยจะได้ขึ้นเงินเดือน = 10,000x5%=500
=
500x122/365 (1 กย. ถึง 31 ธค.= 122 วัน)
= 167.12 บาท
เงินเดือนใหม่ของนายวิชัย = 10,167 บาท ปัดเศษเป็น 10,170
บาท
จากตัวอย่างข้างต้นท่านคงได้ไอเดียในการขึ้นเงินเดือนให้กับพนักงานใหม่แล้วนะครับ