คนเราเมื่อคิดจะทำอะไรก็ตามล้วนแต่ต้องมีแรงจูงใจอยู่เบื้องหลังการคิดและการตัดสินใจแต่ละครั้งอยู่เสมอ
ท่านว่าจริงไหมครับ
?
ถ้าพูดถึงเรื่องแรงจูงใจก็ต้องนึกถึงศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่เป็นต้นตำรับคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับแรงจูงใจชื่อว่า
“ทฤษฎีสองปัจจัย” ที่คนเรียนจิตวิทยารู้จักกันดีคือ “เฮิร์ซเบิร์ก” ครับ
เฟรเดอริก
เฮิร์ซเบิร์ก (Frederick Irving Herzberg - ค.ศ.1923-2000
พ.ศ.2466-2543) เกิดที่รัฐ
Massachusetts สหรัฐอเมริกา จบปริญญาเอกด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย Pittsburgh
เฮิร์ซเบิร์กได้รับแรงบันดาลใจให้ศึกษาเรื่องการจูงใจตอนที่เป็นทหารประจำการอยู่ที่ประเทศเยอรมนีแล้วได้พูดคุยกันชาวบ้านแถวฐานที่ตั้งพบว่าคนแถวนั้นมีระดับแรงจูงใจในเรื่องต่าง
ๆ ที่สูงมาก
เฮิร์ซเบิร์กเขียนหนังสือชื่อ “Motivation of Work” ในปีค.ศ.1959 (พ.ศ.2502) ร่วมกับ
Bernard
Mausner และ Babara Synderman โดยบอกว่าความพึงพอใจในการทำงานไม่ได้มีเพียงมิติเดียวด้านเดียว
แต่จะเกิดจาก 2 ปัจจัยหลักคือ
1.
ปัจจัยอนามัย (Hygiene Factor) ปัจจัยตัวนี้ในตำรามักจะแปลเอาไว้แบบนี้
แต่ผมอ่านแล้วก็จะงง ๆ และไปเข้าใจถึงเรื่องของสุขอนามัยหรือสุขภาพความเจ็บป่วยซะงั้น
ก็เลยขอแปลแบบตรง ๆ ว่า “ปัจจัยภายนอก”
นะครับจะได้ไม่ไปเข้าใจปะปนกับเรื่องสุขศึกษาอนามัย
เฮิร์ซเบิร์กบอกว่าปัจจัยตัวนี้ถือเป็น
“ปัจจัยภายนอก (Extrinsic
Factor)” ที่องค์กรต้องมีให้กับพนักงานแบบ
“ขาดไม่ได้”
เพราะถ้าขาดเมื่อไหร่ก็จะทำให้เกิดปัญหาความไม่พอใจจากพนักงานเอาได้ง่าย ๆ
แต่ปัจจัยภายนอกตัวนี้ถึงเพิ่มเข้าไปมากขึ้นเท่าไหร่ก็ไม่ได้แปลว่าพนักงานจะทุ่มเทมากขึ้นในการพัฒนาตัวเองให้มีประสิทธิภาพในงานที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยเสมอไป
ปัจจัยประเภทนี้คือ
1.1
ค่าตอบแทนและผลประโยชน์พนักงาน
1.2
นโยบายในการบริหารจัดการของบริษัท
1.3
ปฏิสัมพันธ์ในระหว่างพนักงานด้วยกัน
1.4
การควบคุมบังคับบัญชาของหัวหน้า
1.5
สภาพแวดล้อมในการทำงาน
1.6
สถานะความมีตัวตนในการทำงาน เช่น
การได้รับสิทธิพิเศษอื่น ๆ
1.7
ความมั่นคงในงาน
2.
ปัจจัยจูงใจ (Motivation Factor) เฮิร์ซเบิร์กบอกว่าปัจจัยตัวนี้แหละครับที่จะทำให้คนทำงานได้อย่างมีความสุข
มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น
มีความรักในองค์กรและเพื่อนร่วมงานมากขึ้นและถือว่าเป็น “ปัจจัยภายใน” หรือ “Intrinsic
Factor” ครับ
ตัวอย่างของปัจจัยภายใน
เช่น
2.1 การได้รับการยอมรับ
หรือได้รับคำชมเชยจากคนรอบข้างในที่ทำงาน
2.2 ความสำเร็จในงานที่ทำ
2.3 ได้รับผิดชอบงานที่ท้าทาย
น่าสนใจ หรือเป็นงานที่สำคัญ
2.4 การได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชา
2.5 การได้รับความก้าวหน้าได้รับการเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่ง
มีข้อสังเกตว่าปัจจัยภายในที่เป็นปัจจัยจูงใจนี้เป็นเรื่องของจิตใจล้วน
ๆ
ถึงแม้จะไม่มีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้องแต่ก็มีความสำคัญในการจูงใจคนไม่แพ้ปัจจัยภายนอกเลยนะครับ
ในขณะที่ถ้าใช้ปัจจัยภายนอกในการจูงใจคนมากจนเกินไปก็อาจจะเกิดผลเสียตามมาประเภท
“เงินไม่มา งานไม่เดิน” ก็เป็นได้
การสมดุลระหว่างปัจจัยภายนอกและภายในในการจูงใจคนจึงเป็นเรื่องสำคัญ
จากแนวคิดทฤษฎีของเฮิร์ซเบิร์กนี่แหละครับจึงเป็นที่มาของการนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กรต่าง
ๆ เพื่อจูงใจและรักษาคนที่ดีมีคุณค่าเอาไว้ให้อยู่กับองค์กรเพื่อทำให้องค์กรเติบโตก้าวหน้าต่อไป
เมื่อไหร่ที่พูดถึงเรื่องของแรงจูงใจก็ต้องเป็นเฮิร์ซเบิร์กนี่แหละครับที่ยืนหนึ่งมาจนถึงปัจจุบัน