ในทุก ๆ เดือนแต่ละองค์กรจะต้องมีการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนให้กับพนักงานหรือเรียกว่าการทำ Payroll นั่นแหละครับ
เมื่อจ่ายค่าจ้างให้เสร็จแล้วก็ต้องมีการสรุปค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนว่าจ่ายไปกี่บาทกี่สตางค์
พอสิ้นปีก็สรุปยอดค่าใช้จ่ายว่าทั้งปีบริษัทจ่ายค่าจ้างไปกี่มากน้อย
คนที่ทำงานแบบที่ว่านี้เขามักจะเรียกกันว่า “เจ้าหน้าที่ Payroll”
หรือเรียกให้หรู
ๆ หน่อยเป็นภาษาฝรั่งก็เรียกว่า “Payroll Officer”
ซึ่งเจ้าหน้าที่
Payroll
เขาก็ต้องทำงานอย่างนี้เป็นงานประจำ (ก็ JD เขาระบุให้ทำเรื่องเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างให้พนักงานทั้งบริษัทนี่ครับ)
เมื่อมามองทางฝั่งของผู้บริหารระดับสูงบ้างล่ะ..เมื่อเห็นยอดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคนไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน,
โอที, ค่าครองชีพ, โบนัส ฯลฯ ที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี จนบางครั้งอาจจะเริ่มเห็นว่าบริษัทมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของคนสูงผิดปกติ
ฝ่ายบริหารก็อาจจะตั้งคำถามกลับไปที่ฝ่ายบุคคลว่า
“ทำไม Staff
Cost สูงขึ้นมากจนผิดปกติล่ะ....”
ฝ่ายบุคคล (ซึ่งก็คือ Payroll Officer) ก็อาจจะไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้มากนัก เพราะเขามีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างแต่ละเดือนตามที่ได้รับอนุมัติกันมาแล้ว
คือพูดง่าย ๆ ว่าเขาทำงานอยู่ที่ปลายทางแล้วนี่ครับ
เขาไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแผนเกี่ยวกับเรื่องค่าตอบแทนตั้งแต่แรก
แล้วจะไปให้เขาตอบคำถามอะไรได้มากนักล่ะ
นี่คือตัวอย่างของการบริหารค่าตอบแทนกันแบบปกติทั่วไปที่เป็น
Routine
โดยไม่เคยมีแผนกลยุทธ์ด้านค่าตอบแทนครับ
ก็เจ้าหน้าที่
Payroll
เขาไม่ได้มีหน้าที่ “บริหารจัดการ”
หรือเป็นคนที่ต้องคิดในเรื่องกลยุทธ์ด้านค่าตอบแทนนี่ครับ !
แค่ทำจ่ายเงินเดือนหักภาษีให้ถูกต้องไม่ให้พนักงานโวยว่าทำไมหักเงินมากไปล่ะ,
ทำไมโอทีถึงผิดล่ะ ฯลฯ ก็เสมอตัวแล้วครับ เรียกว่างาน Payroll มีแต่เสมอตัวกับโดนโวยก็ว่าได้
ถ้าท่านจะถามว่าเจ้าหน้าที่
Payroll
จะทำหน้าที่เป็น Compensation Officer หรือ Compensation
Manager (นักบริหารค่าตอบแทน) ได้หรือไม่ ?
ก็ตอบได้ว่า....อยู่ที่เขาจะมีคุณสมบัติของการเป็นนักบริหารค่าตอบแทนหรือไม่
ก็ต้องไปดูว่าจะมีคุณสมบัติหรือไม่ซึ่งก่อนหน้านี้ผมได้พูดถึงคุณสมบัติของนักบริหารค่าตอบแทนให้ท่านทราบในบทก่อนหน้านี้แล้วว่ามีอะไรบ้างไปแล้วคงยังจำได้นะครับ
กลับมาพูดกันเรื่องกลยุทธ์ค่าตอบแทนกันต่อก่อนดีกว่า....
หลายครั้งที่เราจะพบว่าเมื่อองค์กรไม่มีแผนกลยุทธ์ด้านค่าตอบแทนที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม
ก็จะมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าตอบแทนที่เพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ
ตามธรรมชาติอย่างไม่มีการบริหารจัดการอย่างถูกต้อง ก็จะเกิดปัญหาต้นทุนด้านค่าตอบแทนเพิ่มสูงขึ้นจนในที่สุดก็นำมาสู่การลดเงินเดือนพนักงาน
หรือการปลดพนักงานออก (Lay off) หรือหนักที่สุดก็ถึงกับปิดกิจการไปในที่สุด
ก็เพราะว่าองค์กรขาดการบริหารจัดการ
Staff
Cost ที่มีประสิทธิภาพ
เพราะว่า Staff Cost มักจะเป็นค่าใช้จ่ายอันดับต้น ๆ ของทุกองค์กรอยู่เสมอน่ะสิครับ !
นี่คือความจำเป็นที่ผู้บริหารองค์กรควรหันมาเห็นความสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์เรื่องค่าตอบแทนอย่างจริงจังกันเสียที
โดยการหาคนที่มีความเป็นมืออาชีพมาบริหารจัดการค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพกว่าการปล่อยให้ระบบการจ่ายค่าตอบแทนเป็นไปอย่างสะเปะสะปะตามบุญตามกรรมอย่างในปัจจุบันจริงไหมครับ
ผมยกตัวอย่างเพื่อให้ท่านเห็นภาพชัดเจนในเรื่องความสำคัญของการมีกลยุทธ์ด้านค่าตอบแทนของมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่งแบบง่าย
ๆ ก็คือ
สมมุติว่าคน ๆ
หนึ่งได้รับเงินเดือน ๆ ละ 15,000 บาท
เขาก็ใช้เงินเดือนที่ได้รับดังนี้
สมมุติว่าคน
ๆ นี้จะต้องมีค่าใช้จ่ายตามตารางข้างต้นแบบนี้คล้าย ๆ กันทุกเดือน
เขาก็จะมีเงินเก็บประมาณ 840
บาท/เดือน หรือ 10,080 บาท/ปี
ถ้าหากมีเหตุที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเงินที่สูงกว่าปกติเข้ามาในชีวิต
เช่น เกิดเจ็บป่วยที่แม้บริษัทมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลแล้วก็ยังไม่เพียงพอ
ต้องจ่ายเงินเพิ่มเองบางส่วน หรือที่บ้านต้องการเงินฉุกเฉินจากเขา ก็จะทำให้เกิดปัญหาด้านการเงินขึ้นมาได้
ถ้าไม่มีกลยุทธ์ในเรื่องค่าตอบแทน
(ของตัวเอง) แล้วเกิดเหตุการอย่างที่ผมเล่ามาแบบนี้ เขาจะทำยังไง ?
ก็ไม่แคล้วต้องไปแก้ปัญหาเหล่านี้เอาตอนจวนตัวเมื่อมีเหตุการณ์เข้ามากระทบ
หรือเรียกว่าไปตายเอาดาบหน้าจริงไหมครับ?
แล้วก็อาจจะได้ไปตายเอาดาบหน้าจริง ๆ คือไม่สามารถแก้ปัญหาช็อตเงินได้!
แต่ถ้ามีใครสักคนที่มีความรู้ในการบริหารค่าตอบแทนเข้ามาให้ไอเดียคน ๆ
นี้ในการคิดทบทวนและวางแผนในเรื่องค่าตอบแทนเสียใหม่จะดีกว่าไหม เช่น
ทบทวนดูซิว่า
ค่าอาหารมื้อละ 50 บาทน่ะมันเป็นอาหารที่ไปซื้อกินทั้ง 3 มื้อ
ถ้าเราหัดทำอาหารแล้วไปหาซื้อวัตถุดิบมาปรุงกินเองในบางมื้อ เช่นในวันหยุด ก็จะลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลงได้บ้าง
ผมสมมุติลดลงได้เหลือเฉลี่ยมื้อละ 40 บาท
หรือไหน ๆ
เราก็เช่าหอพักเดือนละ 4,000 บาท อยู่แล้ว เราลองมองหาที่พักที่อยู่ใกล้ ๆ
กับที่ทำงานโดยไม่ต้องเสียค่ารถเมล์+ค่าวินมอเตอร์ไซค์รวมแล้วเดือนละตั้ง
2,160 บาท แม้ว่าค่าเช่าหอพักที่ใกล้ที่ทำงานเดือนละ 5,000
บาท (แม้จะแพงกว่าเดิม 1,000 บาท) เราก็จะยังมีเงินเก็บเพิ่มอีกเดือนละ
1,160 บาทเพราะไม่ต้องเสียค่ารถเมล์+ค่าวินมอเตอร์ไซค์
เมื่อมีแนวคิดด้านกลยุทธ์ค่าตอบแทนแล้ว
คน ๆ นี้ก็จะบริหารค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้นกว่าเดิมดังนี้
จากตัวอย่างข้างต้นเขาจะมีเงินออมเดือนละ
2,450 บาท จากเดิมที่ออมได้เดือนละ 840 บาท !
ถ้าเขามีกลยุทธ์ในการบริหารค่าใช้จ่ายเสียใหม่ตามตัวอย่างข้างต้น
ในหนึ่งปีเขาจะมีเงินออม 2,450*12=29,400 บาท
ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยเลยจริงไหมครับ
นี่แหละครับคือประโยชน์ของกลยุทธ์ด้านค่าตอบแทนที่ถ้าเราไม่มี
หรือไม่ได้คิดวางแผนเอาไว้ เราก็จะมีการใช้จ่ายเรื่อย ๆ ไปวัน ๆ แบบไม่มีการจัดการ
และในที่สุดเราก็อาจจะไม่สามารถรับมือกับปัญหาในอนาคตได้
แต่ถ้ามีแผนเชิงกลยุทธ์ในเรื่องค่าตอบแทน
ก็จะทำให้เรามีความพร้อมและมีขีดความสามารถในการรับกับปัญหาในอนาคตได้ดีกว่าการไม่มีแผนอะไรเลย !
หรือยิ่งไปกว่านั้น
หากคน ๆ นี้สามารถเสริมกลยุทธ์ค่าตอบแทนของเขาให้ดีขึ้นด้วยการเก็บข้อมูลดูว่าในแต่ละเดือนใช้เงินไปในเรื่องใดบ้าง
ลองเก็บข้อมูลดูสัก 6 เดือนแล้วเขาอาจจะพบว่ายังสามารถตัดค่าใช้จ่ายอะไรบางอย่างที่ไม่จำเป็นออกไปได้
และนำค่าใช้จ่ายเหล่านั้นกลับมาเป็นเงินออมให้กับตัวเองให้เพิ่มมากขึ้นได้อีก
สำหรับองค์กรก็เช่นเดียวกัน
ถ้าองค์กรยังปล่อยให้การจ่ายค่าตอบแทนเป็นไปเรื่อย ๆ
โดยไม่เคยคิดวางแผนหรือจัดการเกี่ยวกับกลยุทธ์ค่าตอบแทนแล้วองค์กรนั้นก็จะขาดความพร้อมรับกับปัญหาในอนาคต
และค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรก็จะเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ
เพราะขาดการจัดการที่เหมาะสมจนอาจจะทำให้องค์กรอยู่ไม่ได้ในที่สุด
จากตัวอย่างข้างต้นคงจะทำให้ท่านเริ่มเห็นความจำเป็นของการกำหนดกลยุทธ์ค่าตอบแทนอย่างเป็นรูปธรรมกันเสียทีแล้วนะครับ
คราวนี้ท่านอาจจะมีคำถามว่า
“แล้วจะเริ่มต้นยังไงล่ะ ?”
ก็ต้องอ่านในตอนต่อไปน่ะสิครับ