เมื่อพูดไปเรื่องของการใช้
Normal
Curve เป็นเครื่องมือในการจัดสรรงบประมาณขึ้นเงินเดือนที่มีอยู่จำกัดไปในตอนที่แล้ว
ก็เลยขอแชร์เรื่องที่เคยเจอมาต่อไปเลยนะครับ
บางองค์กรก็มีการใช้
Normal
Curve ในการจำแนกเกรดหรือผลการประเมินของพนักงานแบบบาท-สลึงหรือใช้แบบ
“เป๊ะ” มากจนเกินไป
เช่น
ถ้าหัวหน้าประเมินลูกน้องว่ามีคนเก่งยอดเยี่ยมเกรด A 1 คน
จะต้องไปหาลูกน้องที่ได้ E มา 1 คนเพื่อให้
Normal Curve มันสมดุลเท่ากันเป๊ะ ๆ
ถ้าหัวหน้าประเมินว่ามีลูกน้องได้เกรด
B 2 คน ก็ต้องไปไล่หาดูว่าจะให้ลูกน้องคนไหนที่ได้เกรด D มา 2 คน จะได้สมดุลกับเกรด B
ดูแล้วเหมือนการหา “แพะ” มาบูชายัญยังไงยังงั้นเลยครับ
ทั้ง
ๆ ที่ในความเป็นจริงอาจจะไม่มีลูกน้องที่เป็นเกรด E เลยก็ได้แต่หัวหน้าหรือบางทีก็ฝ่ายบริหารแหละที่ไปให้นโยบายว่า
“ถ้ามี A ต้องมี E ถ้ามี B ต้องมี D”
ผู้บริหารระดับรองลงมาก็เลยต้องทำตามนโยบายนี้
ดู ๆ ไปแล้วก็คล้ายกับเรื่อง “โค้งผีสิง”
ที่เวลาเกิดอุบัติเหตุก็มักจะมีคนเล่าลือกันว่าจะต้องมีตัวตายตัวแทนกันอะไรทำนองนี้แหละครับ
ผมถึงได้เรียกว่าเป็นนโยบายใช้ Normal Curve แบบบาท-สลึงเกินไป
ถ้าถามความเห็นของผม
ๆ ก็มองว่าไม่จำเป็นต้องไปหาตัวตายตัวแทนอย่างนั้น
ไม่จำเป็นต้องบาท-สลึงอะไรขนาดนั้น เพราะถ้าหัวหน้าประเมินลูกน้องให้ได้เกรด A ตามผลงานหรือตาม
KPIs อะไรก็แล้วแต่และแน่ใจว่าเป็นคนที่มีผลงานดีเยี่ยม 1
คน ลูกน้องที่เหลือก็อาจจะเป็น C ทั้งหมด
หรือเป็น C เกือบทั้งหมดก็ได้
ก็ประเมินกันไปตามข้อเท็จจริงสิครับ
และสิ่งที่สำคัญก็คือหัวหน้าผู้ประเมินจะต้องสมดุลผลการประเมินกับงบประมาณขึ้นเงินเดือนที่ได้รับไปให้ลงตัวกันด้วยเหตุและผล
ซึ่งในที่สุดต้องไม่เกินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรไป
เท่านั้นก็โอเคแล้วครับ
หรือจะพูดง่าย
ๆ
ว่าก็เป็นดุลพินิจของผู้บริหารในแต่ละฝ่ายหรือแต่ละแผนกที่จะประเมินผลการปฏิบัติงานลูกน้องของตัวเองไปตามข้อเท็จจริง
ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถ “หยอด”
เงินให้กับลูกน้องตามผลงานที่เขาทำได้อย่างสมเหตุสมผลและไม่เกินงบประมาณที่ได้รับไป
ก็เท่านั้นแหละครับ
ไม่จำเป็นจะต้องไปหาแพะหาแกะอะไรมาบูชายัญตามนโยบายบาท-สลึงหรอกครับ
เดินสายกลาง
ๆ ไม่ตึงไปไม่หย่อนไปจะสุขกว่าไหมครับ?
…………………………..