ผมมีคำถามที่น่าสนใจจากเกี่ยวกับค่าตอบแทนดังนี้ครับ....
ถาม ผู้บริหารอ้างว่า
“นโยบายของรัฐไม่มีการปรับฐานเงินเดือนปริญญาตรี” จึงไม่มีการปรับเงินเดือนพนักงานเข้าใหม่ที่จบปริญญาตรี
คงปรับแต่เฉพาะค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท (ลูกจ้างรายเดือน ๆ
ละ 9,000 บาท)
ต่อไปใครจะส่งลูกหลานเรียนปริญญาตรีให้เปลืองเพราะได้ค่าแรงพอ ๆ กับค่าจ้างขั้นต่ำ
ตอบ
จริงของผู้บริหารนะครับว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ
300
บาท (เดือนละ 9,000 บาทสำหรับลูกจ้างรายเดือน)
จะต้องปรับให้ตามกฎหมาย ส่วนปริญญาตรีหมื่นห้าน่ะกฎหมายบังคับไม่ได้
แต่ก็เป็นความจริงอีกเหมือนกันที่ก่อนจะมีข่าวคราวเรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ
300
และปริญญาตรีหมื่นห้าน่ะ
ได้มีองค์กรที่เขาสำรวจค่าตอบแทนเมื่อปลายปี 2554 สำหรับอัตราเริ่มต้นตามคุณวุฒิพบว่าอัตราการจ่ายสำหรับผู้ที่จบการศึกษาตามคุณวุฒิต่าง
ๆ มีดังนี้
ปวช. 7,000
บาท
ปวส. 8,000
บาท
ปริญญาตรี
(สายสังคมศาสตร์) 11,000 บาท
ต่อมาเมื่อรัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานประกาศการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ
300
บาท (ลูกจ้างรายเดือน ๆ ละ 9,000 บาท)
จึงมีผลกระทบกับการจ่ายเงินเดือนสำหรับผู้ที่จบตามคุณวุฒิใหม่ดังกล่าว
ทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องหันมาปรับเงินเดือนให้กับพนักงาน 2 กลุ่มคือ
1.
กลุ่มที่จบใหม่ในวุฒิ ปวช., ปวส.,
ปริญญาตรี, สูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป ส่วนจะปรับขึ้นเป็นเท่าไหร่นั้นก็อยู่ที่ขีดความสามารถในการจ่ายของบริษัทครับ
เพราะถ้าไม่ปรับก็จะไม่สามารถดึงดูดหรือจูงใจผู้ที่จบใหม่เข้ามาทำงานกับบริษัทได้
2.
พนักงานเก่าที่เข้ามาทำงานก่อนและจบคุณวุฒิตามข้อ
1 ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องได้รับผลกระทบเนื่องจากจ้างมาด้วยเงินเดือนเดิม
แม้ว่าจะขึ้นเงินเดือนประจำปีมาแล้วแต่ก็ยังไม่ถึงอัตราเงินเดือนใหม่ที่บริษัทปรับให้กับคนจบใหม่
ซึ่งบริษัทจำเป็นต้องปรับเงินเดือนคนเก่าเหล่านี้ที่มีประสบการณ์ทำงาน
เพราะหากคนเก่าที่มีฝีมือมีความรู้ความสามารถในงานลาออกไปก็เป็นปัญหากับบริษัทอีก
ส่วนจะปรับให้อย่างไร เท่าไหร่ก็จะมีสูตรในการปรับซึ่งผมเคยอธิบายไว้แล้วในเรื่อง
“จะปรับคนเก่าอย่างไรเมื่อคนใหม่ได้ 300 หรือ 15,000”
ใน Blog นี้ ลองหาอ่านดูนะครับ
ที่ผมพูดมาข้างต้นเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปในบริษัทต่าง
ๆ เพื่อจะ “รักษาคนใน และจูงใจคนนอก” เข้ามาร่วมงาน
แต่ถ้าผู้บริหารของคุณบริหารค่าตอบแทนโดยปรับแต่ค่าจ้างขั้นต่ำ
แล้วไม่ปรับอัตราเริ่มต้นตามคุณวุฒิต่าง ๆ เสียใหม่ผลที่จะเกิดขึ้นก็คือ
1.
บริษัทจะไม่สามารถหาคนจบใหม่ที่มีความสามารถหรือมีคุณภาพเข้ามาทำงานได้
เพราะผู้สมัครที่จบใหม่เหล่านี้ก็จะเลือกไปสมัครงานกับบริษัทที่จ่ายเงินเดือนให้สูงกว่านี้
แล้วในระยะยาวบริษัทของคุณก็จะขาดคน Generation รุ่นใหม่ที่จะมาทดแทนคนรุ่นเก่าที่ลาออก
หรือเกษียณไป
2.
เมื่อไม่มีการปรับเงินเดือนตามคุณวุฒิเสียใหม่ก็ย่อมไม่ต้องปรับเงินเดือนพนักงานเก่าที่เข้ามาก่อน ซึ่งผลกระทบในระยะต่อไปก็คือ
พนักงานเก่าเหล่านี้จะได้เงินเดือนน้อยกว่าในตลาดแข่งขัน
และในที่สุดพนักงานเหล่านี้ก็จะไปสมัครงานที่อื่นที่มีค่าตอบแทนที่สูงกว่า
และลาออกจากบริษัทไปในที่สุดซึ่งจะเป็นปัญหาของบริษัทต่อไปอีกด้วยเช่นเดียวกัน
จากผลกระทบทั้งสองข้อนี้ก็คือ
“คนใหม่ก็ไม่มาทำงาน ส่วนคนเก่าก็ทะยอยลาออก” แล้วในที่สุดบริษัทจะเป็นอย่างไร ลองนำเรื่องนี้ไปคุยกับฝ่ายบริหารดูนะครับ
อย่างที่ผมเคยพูดไว้เสมอว่าผมเห็นใจบรรดาผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลุ่ม
SME
ที่ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้ค่อนข้างหนัก บางแห่งถึงกับปิดกิจการ แต่จะทำยังไงได้ล่ะครับสำหรับบทเรียนราคาแพงครั้งนี้ที่มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำแบบ
“ก้าวกระโดด” (ถึง 40 เปอร์เซ็นต์) อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
ก็อยู่ที่ขีดความสามารถในการจ่ายของแต่ละกิจการแล้วล่ะครับ
แต่การอยู่เฉย ๆ โดยไม่ทำอะไรเลยก็เท่ากับการให้คนอื่นเขาแซงขึ้นหน้าไปด้วยเช่นเดียวกัน
ดังนั้น
ปัญหาที่คุณบอกมาว่า “ต่อไปใครจะส่งลูกหลานเรียนปริญญาตรีให้เปลืองในเมื่อค่าแรงพอ
ๆ กับค่าจ้างขั้นต่ำ” นั้น ผมกลับเห็นตรงกันข้ามกับคุณนะครับคือ นอกจากจะส่งลูกหลานเรียนปริญญาตรีแล้วยังไม่พอยังส่งเสริมให้จบสูงกว่าปริญญาตรีด้วยต่างหาก
เพราะบริษัทที่ไม่ปรับอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิเพื่อหนีผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขึ้นต่ำ
คงมีไม่มากนัก ซึ่งคนที่จบตามคุณวุฒิต่าง ๆ เขามีทางเลือกนี่ครับว่าเขาควรจะไปสมัครงานในบริษัทนี้หรือในบริษัทอื่น
(ส่วนมาก) ที่ให้เงินเดือนเขาสูงกว่านี้ ยิ่งถ้าบริษัทของคุณต้องการคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพมีความสามารถแล้วก็บอกได้เลยว่าอาจจะเป็นเพียงความฝันที่ไม่มีวันเป็นจริงครับ
ลองคุยกับผู้บริหารถึงผลดีผลเสียให้รอบด้านอีกสักครั้งดีไหมครับ
?
....................................