วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ถ้าปีนี้ไม่ได้ปรับขึ้นค่าจัางขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท ปีหน้า 2568 จะเป็นยังไงถ้ายังคงเป้าหมายวันละ 600 บาทในปี 2570

          จากที่ทาง TNI จัดให้ผมพูดในหัวข้อ HR Storytelling เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 19 ตค.67 ผ่านซูมให้กับผู้สนใจเข้าฟังไปแล้ว ก็น่าเสียดายนะครับที่มีคนลงทะเบียนเข้าฟังไว้ 120 กว่าคน แต่มาฟังจริงประมาณ 40 คน แต่ก็เข้าใจว่าท่านที่ลงทะเบียนไว้แต่เข้าฟังไม่ได้คงติดธุระจำเป็นจริง ๆ 

          ผมก็เลยขอนำเอาบางส่วนที่คุยกันในวันเสาร์ที่ผ่านมา เอามาเล่าผ่านตัวอักษรโดยขอนำภาพจำลองการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำและการปรับขึ้นอัตราเริ่มต้นมาวุฒิมาให้ดูกันก่อนนะครับ



          จากภาพจำลองนี้จะเห็นว่าถ้ายังคงเป้าหมายวันละ 600 บาทในปี 2570 ก็จะต้องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามนี้

 

         ปี 2567 = 400 บาท

         ปี 2568 = 460 บาท 

         ปี 2569 = 520 บาท

         ปี 2570 = 600 บาท 

 

         เฉลี่ยต้องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำปีละ 14% ถึงจะเป็นไปตามเป้าวันละ 400 บาทในปี 2570

 

         แต่ปีนี้ 2567 คงไม่ได้มีการปรับตามตารางภาพจำลอง ดังนั้นปีหน้า 2568 จึงต้องปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 460 บาท/วัน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายเดิม

 

         ผมก็เลยทำผังการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2568 เป็นวันละ 460 บาท พร้อมทั้งปรับอัตราเริ่มต้นตามคุณวุฒิที่อาจจะต้องปรับเพื่อหนีผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยมี 3 ทางเลือกในการปรับคือ

 

         ปรับแบบรวดเดียว ตามภาพ (1)

         ปรับแบบ 2 ขยัก ตามภาพ (2)

         ปรับแบบ 3 ขยัก ตามภาพ (3)




 

         ถ้าปรับแบบรวดเดียวก็จะต้องปรับขึ้นทันทีประมาณ 27% ก็ถือว่าปรับหนักเอาเรื่อง ก็คงจะต้องถามว่าผู้ประกอบการจะรับไหวไหม

 

         ถ้าปรับแบบ 2 ขยัก เช่น ครั้งที่ 1 ปรับขึ้นตอนต้นปี แล้วกลางปีหรือปลายปีก็ปรับอีกครั้งหนึ่ง ก็จะปรับขึ้นครั้งละประมาณ 10-14% ก็จะโหดน้อยกว่าแบบรวดเดียว

 

         หรือปรับแบบ 3 ขยัก ก็จะตกครั้งละประมาณ 7-9% ก็จะดีกว่าปรับแบบ 2 ขยัก

 

         ทั้งหมดนี้เป็นภาพจำลองในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปีหน้า 2568 ถ้าปีนี้ไม่มีการปรับขึ้นเป็น 400 บาท ซึ่งการปรับจริงจะเป็นยังไงก็ต้องรอดูกัน

 

         ต้องขอบคุณสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI) ที่เป็นผู้จัด Session นี้เพื่อให้เป็นประโยชน์กับคนทำงาน HR และผู้สนใจมา ณ ที่นี้ด้วยครับ 

 

         และหวังว่าทุกท่านที่เข้าฟังจะได้ไอเดียหลาย ๆ เรื่องเพื่อนำไปเป็นข้อมูลกับฝ่ายบริหาร รวมทั้งได้แนวคิดในการปรับคนเก่าหนีผลกระทบคนใหม่รูปแบบต่าง ๆ เที่ผมเล่าให้ฟังคุ้มค่ากับการเสียเวลาฟัง 2 ชั่วโมงนะครับ