เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มักจะเป็นเรื่องที่นำมายกเป็นตัวอย่างในเรื่องพฤติกรรมของคนโดยเฉพาะในช่วงสุดท้ายก่อนที่จะต้องตัดสินใจ
โดยเฉพาะในการตัดสินใจว่าจะลงคะแนนให้ใครดีในการเลือกตั้ง
บางคนอาจจะสงสัยว่าแล้วมันเกี่ยวอะไรกับการเลือกตั้ง
??
เรื่องนี้มักจะเล่ากันต่อ
ๆ
มาว่ามีการวิจัยพฤติกรรมของลิงโดยนักวิทยาศาสตร์จะนำข้าวโพดไปหว่านลงบนพื้นทรายเพื่อให้ลิงมากินข้าวโพด
เวลาลิงจะมาเก็บข้าวโพดไปกินก็ต้องปัดทรายออกจากข้าวโพดซึ่งก็คงไม่สะดวกนักเวลากิน
แต่มีลิงอยู่ตัวหนึ่งที่ไม่ทำเหมือนกับลิงตัวอื่น
ๆ คือแกไม่ได้ปัดทรายออกจากข้าวโพด แต่แกใช้วิธีนำข้าวโพดไปล้างในลำธารใกล้ ๆ
กันแถวนั้นโดยไม่ต้องมาปัดทรายออกเหมือนลิงตัวอื่น ๆ
เมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือนก็พบว่าจะมีลิงตัวอื่น
ๆ เริ่มทำตามเจ้าลิงตัวนี้โดยเอาข้าวโพดไปล้างในลำธารและเริ่มมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย
ๆ จนกระทั่งมีประชากรลิงที่กินข้าวโพดด้วยวิธีเดิมคือปัด ๆ ทรายออก
กับลิงที่เอาข้าวโพดไปล้างน้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาในจำนวนที่ไล่เลี่ยกัน
จนถึงวันหนึ่งก็พบว่าลิงทั้งฝูงนำข้าวโพดไปล้างน้ำที่ลำธารกันทั้งหมด
!!
นักวิทยาศาสตร์ก็แปลกใจว่าทำไมลิงทั้งฝูงถึงทำตามเจ้าลิงตัวแรกที่ไม่ใช่จ่าฝูงซะด้วยซ้ำ
แถมลิงตัวนี้ก็ไม่ได้มีอำนาจอะไรไปบังคับให้ลิงตัวอื่นมาทำตามสักหน่อย
ก็เลยมีคำอธิบายปรากฎการณ์นี้ว่าเมื่อสังคมเกิดจุดพลิกผันหรือ
Critical
Mass ก็จะเกิดการยอมรับเรื่องนั้น ๆ
และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามกันไปทั้งหมดในระยะเวลาไม่นานนัก
การเลือกตั้งก็อาจเกิดปรากฎการณ์จุดพลิกผันหรือ
Critical
Mass ได้ในช่วงโค้งสุดท้ายที่จะมีโอกาสให้เกิดการเทคะแนนเสียงให้กับพรรคใดพรรคหนึ่งได้เช่นเดียวกัน
คนที่ดูว่ามีผลโพลว่ามีคะแนนนำมาตลอดก็อาจจะพลาดตำแหน่งได้ในช่วงโค้งสุดท้าย
หรือพูดอีกทางหนึ่งคือคนที่ดูเป็นรองมาโดยตลอดก็อาจจะพลิกล็อคกลับมาครองตำแหน่งได้ด้วย
Critical
Mass นี่แหละครับ
เปรียบกับการแข่งขันชกมวยสมัครเล่นที่ฝ่ายทำคะแนนนำมาตลอด
2 ยก แต่มาพลาดเอาในยกสุดท้ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งชกเข้าปลายคางน็อคเอ๊าท์ไปซะงั้น
จึงเป็นข้อคิดเตือนใจในทุกการแข่งขันว่าจะต้องระวังในเรื่อง
Critical
Mass ให้ดีครับ