เรื่องหนึ่งที่มักจะเห็นได้ในบริษัทต่าง ๆ คือการแต่งตั้งให้พนักงานนั่งรักษาการแบบควบตำแหน่ง เช่น ผมเคยเจอบริษัทที่แต่งตั้งให้ผู้จัดการฝ่ายบุคคลรักษาการ, ผู้จัดการฝ่ายวางแผนการผลิต, ผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพ
เรียกว่าคนเดียวควบ 3 เก้าอี้
(รวมเก้าอี้หลัก) เลยนะครับ
พอถามเหตุผลในการทำแบบนี้ก็ไม่มีอะไรมาก
ได้รับคำตอบว่าผู้จัดการฝ่ายบุคคลเป็นคนเก่าทำงานอยู่บริษัทแห่งนี้มานาน
รู้งานทุกด้านในบริษัทกรรมการผู้จัดการก็เลยไว้วางใจให้นั่งควบตำแหน่งแบบนี้
เพราะผู้จัดการฝ่ายวางแผนการผลิตและผู้จัดการฝ่ายควบคุมคุณภาพลาออกไปยังหาคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาทำแทนไม่ได้
?
ผมก็เลยตั้งคำถามกลับไปว่า
1.
ฝ่ายบริหารจะมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับตำแหน่งทั้ง
3 หรือไม่ เช่น จะให้ผู้จัดการฝ่ายบุคคลนั่งควบแบบนี้ไปอีกกี่เดือน กี่ปี
2.
ระหว่างการให้ผู้จัดการฝ่ายบุคคลนั่งควบทั้ง
3 ตำแหน่งนี้ บริษัทมีแผนจะหาคนมารับผิดชอบในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายควบคุมการผลิต
และผู้จัดการควบคุมคุณภาพหรือไม่ เช่น ถ้าจะหาคนนอกมาทดแทนจะใช้เวลากี่เดือนในการสรรหาคัดเลือก
หรือถ้าเป็นคนในจะใช้เวลากี่เดือนในการพัฒนาเตรียมความพร้อมให้มาทำหน้าที่นี้
3.
การให้นั่งควบ 3 เก้าอี้อย่างนี้บริษัทจ่ายเงินเดือนให้
3 ตำแหน่งหรือจ่ายให้ตำแหน่งเดียว ถ้าจ่ายให้ตำแหน่งเดียว
(ซึ่งทุกบริษัทที่ผมเจอจะจ่ายตำแหน่งเดียว) คิดว่าเป็นธรรมและเอาเปรียบคนทำงานหรือไม่
4.
การให้นั่งควบทั้ง 3 ตำแหน่งแบบนี้เวลาประเมินผลงานเพื่อนำมาพิจารณาขึ้นเงินเดือนประจำปีและจ่ายโบนัสจะพิจารณากันยังไง
5.
ผู้บริหารคิดว่าคนที่นั่งควบทั้ง 3 ตำแหน่งจะทำงานได้ดีทั้ง
3 ฝ่ายจริงหรือ อย่าลืมว่าเวลาทำงานคือวันละประมาณ 8 ชั่วโมง การจัดสรรเวลาในการรับผิดชอบให้ดีทั้ง 3 ฝ่ายนี่จะเป็นยังไง
6.
ถ้าผู้ที่นั่งควบ 3 ตำแหน่งลาออกหรือประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยหนักไม่สามารถมาทำงานได้ตามปกติ
บริษัทจะได้รับผลกระทบแค่ไหน และมีแผนรองรับเรื่องนี้เอาไว้บ้างหรือไม่
ขออนุญาตไม่เอาคำตอบของบริษัทนี้มาเล่าสู่กันฟังนะครับเพราะเป็นการตัดสินใจของฝ่ายบริหารบริษัทนั้น
ที่ปรึกษาก็ได้แต่ตั้งคำถามให้เขาเอากลับไปคิดเผื่อว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงได้
จากเรื่องที่ผมนำมาเล่าสู่กันฟังและคำถามข้างต้นก็อยากจะให้บริษัทที่ยังมีการให้นั่งควบตำแหน่งแบบนี้ลองเอากลับไปคิดทบทวนดูอีกครั้งนะครับว่ายังควรจะให้มีการแต่งตั้งให้นั่งควบตำแหน่งแบกกันไปอย่างนี้เรื่อย
ๆ เพื่อรอให้เกิดปัญหาขึ้นมาเสียก่อนแล้วค่อยมาไล่ตามแก้ปัญหา
หรือจะมาคิดวางแผนหาวิธีลดความเสี่ยงป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ในอนาคต
ใครจะเป็นผู้บริหารที่มองไกลไม่มองใกล้แบบ
Proactive
หรือจะเป็นผู้บริหารที่มองใกล้ไม่มองไกลแบบ Reactive ก็เลือกกันได้
แต่เมื่อตัดสินใจเลือกแล้วก็ต้องพร้อมรับผลที่จะตามมาที่เกิดจากการตัดสินใจในวันนี้ให้ดีแหละครับ