หลักเกณฑ์ในการขึ้นเงินเดือนประจำปีหรือจ่ายโบนัสควรจะต้องแจ้งให้พนักงานทราบตั้งแต่ต้นปี (ต้นงวด) เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันว่าจะต้องทำงานอะไรมากน้อยแค่ไหนสำคัญยังไง ซึ่งหลายบริษัทก็จะมีการนำเอาระบบประเมินผลงานเข้ามาอธิบายและตั้งตัวชี้วัดต่าง ๆ ก็ว่ากันไป
และเมื่อถึงปลายปี
(หรือใกล้สิ้นงวด) ก็จะผลการประเมินมาพิจารณาเพื่อขึ้นเงินเดือนประจำปีหรือจ่ายโบนัสตามผลงานที่แต่ละคนทำได้
วิธีปฏิบัติในเรื่องการขึ้นเงินเดือนประจำปีของแต่ละบริษัทก็จะแตกต่างกันไปตามนโยบายของฝ่ายบริหาร
บางบริษัทก็ให้ HR เป็นคนจัดสรรงบประมาณขึ้นเงินเดือนและโบนัสของคนทั้งบริษัทตามผลประเมิน
หรือพูดง่าย ๆ ว่า Line Manager มีหน้าที่ประเมินผลงานลูกน้องแล้วส่งผลประเมินมาให้ HR หยอดเงิน
ซึ่งวิธีนี้ก็จะมีดราม่าตามมามากมาย
เพราะถ้าเวลาพนักงานไม่ Happy
กับเม็ดเงินที่ได้ หัวหน้าก็จะตอบง่าย ๆ ว่า “ไปถาม HR เอาเอง” ก็มักจะเป็นที่มาของคำว่า “ใคร ๆ ก็เกลียด HR”
แต่บางบริษัทก็ใช้วิธีกระจายอำนาจโดยแจ้งงบประมาณขึ้นเงินเดือนไปให้แต่ละหน่วยงานพิจารณาขึ้นเงินเดือนและจ่ายโบนัสให้สอดคล้องกับการประเมินผลลูกน้องของตัวเอง
ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ผมแนะนำให้ทำเพราะหลักการง่าย ๆ คือ “หัวหน้าควรจะเป็นคนรู้ดีที่สุดว่าลูกน้องคนไหนทำงานดีหรือไม่ดียังไงและใครควรจะเป็นคนได้
Rewards
ให้เหมาะสมกับผลงานที่ทำมาตลอดทั้งปี”
หัวหน้าจึงควรจะต้องเป็นคนที่ให้คุณให้โทษกับลูกน้องได้ตามหลักการ
Carrot
& Stick
โดยวิธีปฏิบัติควรจะเป็นไปตามนี้ครับ
1.
HR
เตรียมข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มการขึ้นเงินเดือนประจำปีของทั้งตลาดภาพรวมและคู่แข่งพร้อมข้อเสนอแนะมาหารือร่วมกับฝ่ายบริหารเพื่อกำหนดว่าปีนี้บริษัทควรจะขึ้นเงินเดือนประจำปีกี่เปอร์เซ็นต์
หรือจ่ายโบนัสกี่เดือน
2.
เมื่อได้รับอนุมัติจากฝ่ายบริหารว่าปีนี้บริษัทจะขึ้นเงินเดือนประจำปีในค่าเฉลี่ยกี่เปอร์เซ็นต์และค่าเฉลี่ยการจ่ายโบนัสแล้ว
HR ก็จะมาคำนวณงบประมาณของแต่ฝ่าย
3.
จัดสรรและแจ้งงบประมาณขึ้นเงินเดือนประจำปีและโบนัสไปให้ผู้บังคับบัญชาของแต่ละหน่วยงานได้ทราบและให้พิจารณาการขึ้นเงินเดือนและโบนัสให้กับลูกน้องของตัวเองตามผลประเมินการปฏิบัติงาน
4.
การจัดสรรงบประมาณของแต่ละฝ่ายนั้นควรจะแยกงบประมาณขึ้นเงินเดือนและโบนัสตาม
Job
Grade เช่น งบประมาณของ Officer, Supervisor, หัวหน้าแผนก, ผู้ช่วยผู้จัดการ, ผู้จัดการ ฯลฯ
ไม่ควรนำมารวมเป็นงบประมาณก้อนเดียวกัน
เพราะถ้าขืนเอามารวมเป็นก้อนใหญ่ก้อนเดียวทั้งฝ่ายแล้วตัดเกรดจากผลการประเมินรวมกันก็จะเกิดปัญหาว่าหัวหน้าที่ตำแหน่งสูงกว่าและเงินเดือนสูงก็จะกินงบประมาณของลูกน้อง
(ผู้ใหญ่กินเงินเด็ก) เนื่องจากฐานเงินเดือนโตกว่าลูกน้อง
จึงต้องแยกออกจากกันและพิจารณางบประมาณกันในตำแหน่งที่อยู่ใน
Job
Grade ของตัวเอง
5.
อาจจะมีคำถามว่าแล้วถ้าหน่วยงานนั้นมี Supervisor เพียงคนเดียวแล้ว Supervisor ก็มีผลงานดีเยี่ยมหรือทำงานทะลุเป้า
KPIs ได้รับการประเมินเกรด A แต่งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจะได้เพียงค่าเฉลี่ยซึ่งก็มักจะเป็นเกรด
C จะทำยังไง
คำตอบคือ Supervisor คนนี้จะได้รับการขึ้นเงินเดือนเบื้องต้นคือค่าเฉลี่ยเสียก่อน
แล้วค่อยมาพิจารณาดูว่าหลังการจัดสรรงบประมาณทั้งฝ่ายแล้วยังมีงบเหลือพอจะมาใส่ให้
Supervisor คนนี้เพิ่มได้หรือไม่
ถ้าไม่มีงบเหลือผู้บริหารในหน่วยงานนี้ก็ต้องทำเรื่องขอไปที่กรรมการผู้จัดการเป็นกรณีพิเศษ
ซึ่งเรื่องพวกนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับ Supervisor ทุกคนนะครับ และผู้บริหารในหน่วยงานนั้นจะต้องพิสูจน์
(โดยมีข้อมูลที่สนับสนุนเป็นรูปธรรมอย่างเพียงพอเพื่อให้ฝ่ายบริหารยอมรับ) ให้ได้ว่าผลงานของ
Supervisor คนนี้เป็นที่ยอมรับและบริษัทจำเป็นจะต้องรักษาเอาไว้จริง
ๆ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการอนุมัติฝ่ายบริหารก็ต้องพร้อมรับความเสี่ยงที่ Supervisor
คนเก่งคนนี้อาจจะลาออกไป
บางบริษัทอาจใช้วิธีกันงบประมาณไว้จำนวนหนึ่งเพื่อหยอดให้กับคนที่เป็น
Talent
ตัวจริงเสียงจริงครับ ซึ่งคนที่เป็น Talent ตัวจริงเหล่านี้ก็ไม่ได้มีมากมายอะไรนักถ้าบริษัทมี
Criteria ในการ Identify ให้ชัดเจน
ถ้าจะถามว่าทำยังไงให้กระบวนการทั้งหมดนี้ยุติธรรมไม่ให้มี
Bias
ก็ตอบได้ว่าเรื่องของคนประเมินนั้นคงห้าม
Bias ได้ยาก อยู่ที่ว่าผู้ประเมินจะมี Bias มากหรือน้อยหรือมีความเที่ยงตรงแค่ไหนเท่านั้นแหละ
เพราะต่อให้องค์กรมีระบบการประเมินที่ดียังไง
แต่สุดท้ายคนประเมินก็ยังจะเข้ามาแทรกแซงระบบได้อยู่เสมอ (ถ้าคิดอยากจะแทรกแซง)
แหละครับ
ถ้าผู้ประเมินขาดความเที่ยงตรงและเป็นธรรมในที่สุดกฎแห่งกรรมก็จะลงโทษเขาเอง
นั่นคือคนที่ทำงานดีมีฝีมือก็จะขอย้ายไปหน่วยงานอื่นหรือลาออกไปในที่สุด หน่วยงานนั้นก็จะไม่มีคนดี
ๆ มีความสามารถอยากอยู่ด้วย
แต่ถ้าผู้ประเมินมีความเที่ยงตรงจัดสรรงบประมาณขึ้นเงินเดือนและจ่ายโบนัสได้อย่างสอดคล้องกับผลงานของลูกน้องแต่ละคน
หัวหน้าคนนั้นก็จะยังรักษาลูกน้องมือดีเอาไว้ได้ซึ่งตัวหัวหน้าเองก็จะได้รับอานิสงส์จากลูกน้องที่เก่ง
ๆ เหล่านี้ในที่สุดเช่นเดียวกันครับ