การลาบวชเป็นเรื่องที่แต่ละบริษัทจะกำหนดขึ้นมาเองโดยพนักงานก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบการลาบวชของบริษัทนั้น ๆ ซึ่งจะจ่ายหรือไม่จ่ายค่าจ้างยังไงในวันที่ลาบวช (ถ้ามี..ตามระเบียบของบริษัท) ก็ปฏิบัติไปตามนั้น
เพราะตามกฎหมายแรงงานก็ไม่ได้กำหนดเอาไว้ว่านายจ้างจะต้องจัดให้ลูกจ้างลาบวชครับ
ถ้าจะถามว่า “แล้วถ้าบริษัทไม่มีระเบียบให้พนักงานลาบวชจะผิดกฎหมายแรงงานหรือไม่
?”
ก็ตอบได้ว่าไม่ผิดครับ
ถ้าฝ่ายบริหารต้องการให้พนักงานมีสิทธิลาบวชได้ก็ควรจะมีระเบียบเกี่ยวกับลาบวชให้ชัดเจน
เช่น
บริษัทให้สิทธิพนักงานลาบวชได้ไม่เกิน 1 เดือนและให้ใช้สิทธินี้ได้เพียง
1 ครั้งตลอดอายุการทำงานเป็นพนักงานที่บริษัทนี้
โดยบริษัทจะจ่ายเงินเดือนให้ตามปกติ หรือ....
ที่องค์กรแห่งหนึ่งที่ผมเคยทำงานจะมีระเบียบให้พนักงานลาบวชได้ไม่เกิน
1 พรรษา (ก็ประมาณ 3 เดือนตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนออกพรรษา)
โดยจะจ่ายเงินเดือนให้เต็มในระหว่างที่พนักงานใช้สิทธิลาบวช
แต่ในการขึ้นเงินเดือนประจำปีจะหักออก
50% ของจำนวนที่พนักงานจะได้รับ เช่น
ในปีที่พนักงานลาบวชสมมุติได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนประจำปี 1,000 บาท ก็จะถูกหักออก 50% เหลือ 500 บาท
เพราะเหตุว่าในปีที่พนักงานลาบวชไปประมาณ
3 เดือนก็ไม่ได้ทำงานเต็มที่นักและงานที่รับผิดชอบอยู่ก็ต้องให้เพื่อน ๆ
มารับผิดชอบแทนในระหว่างลาบวชก็เลยต้องไปหักกับการขึ้นเงินเดือนประจำปีมากระจายให้เพื่อน
ๆ ที่มารับผิดชอบงานแทน
คราวนี้พนักงานบางคนก็อาจจะไม่ได้ต้องการบวชนานขนาดเต็มพรรษา
เช่น อยากจะบวชทดแทนคุณบิดามารดาสัก 1-2 สัปดาห์ หรือบวชหน้าไฟ
ฯลฯ ซึ่งก็อาจจะเป็นการบวชนอกพรรษา
บริษัทก็ให้พนักงานใช้สิทธิลากิจหรือลาพักร้อนโดยเลือกเดือนที่มีวันหยุดมาก
ๆ เช่นช่วงสงกรานต์ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้บริษัทก็จะจ่ายเงินเดือนและขึ้นเงินเดือนประจำปีให้ตามปกติครับ
จากที่ผมเล่ามานี้แต่ละบริษัทก็ต้องไปคิดต่อกันเอาเองนะครับว่าจะเขียนระเบียบเกี่ยวกับการลาบวชและเงื่อนไขต่าง
ๆ ให้ชัดเจนไปเลย หรือจะให้พนักงานใช้สิทธิลาประเภทอื่นเช่นลากิจ ลากิจไม่รับเงินเดือน ลาพักร้อนเพื่อไปบวชก็เขียนได้ตามอัธยาศัยเลยครับ