ทุกครั้งที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำก็จะมีผลกระทบต่อ ๆ ไปเกี่ยวกับการปรับเงินเดือนด้านอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้บริษัทมี Staff Cost เพิ่มสูงขึ้นตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นเพราะถ้าปรับเฉพาะค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับการจ้างคนเข้าใหม่หรือคนที่เข้ามาก่อนแต่ยังได้รับต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำก็จะทำให้มี Staff Cost เพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง
แต่ถ้าบริษัทต้องปรับค่าจ้างเพิ่มให้กับคนเก่าที่เข้ามาก่อนในกลุ่มอื่น
ๆ ก็จะทำให้ Staff
Cost เพิ่มขึ้นมากกว่านั้นแหง ๆ
ก็เลยเป็นที่มาของคำถามว่า
“บริษัทควรจะต้องปรับขึ้นเงินเดือนให้กับคนเข้าที่เข้ามาก่อนหรือไม่ ?”
โดยทั่วไปก็จะมีการปฏิบัติในเรื่องนี้อยู่
3 วิธีหลัก ๆ คือ
1.
ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้เฉพาะคนที่เข้ามาใหม่และคนเก่าที่ยังได้รับต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำเท่านั้น
วิธีนี้มีข้อดีคือเป็นวิธีที่ทำให้บริษัทมี
Staff
Cost เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดเพราะปรับเพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด
แต่ก็มีผลกระทบที่ต้องระวังคือคนเก่าที่เข้ามาก่อนหน้านี้ที่ยังได้รับเท่าค่าจ้างขั้นต่ำหรือมากกว่าที่จะไม่ได้รับการปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้นทั้ง
ๆ ที่มีความรู้ในงานมากกว่าเพราะเข้ามาก่อนก็อาจจะน้อยอกน้อยใจลาออกไปที่อื่นที่เขาให้ค่าจ้างสูงกว่านี้
2.
ปรับค่าจ้างให้คนเก่าแบบมีเงื่อนไข
แน่นอนครับว่าวิธีนี้จะทำให้บริษัทมี
Staff
Cost เพิ่มขึ้นมากกว่าวิธีที่ 1 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้นให้กับคนเก่าทุกคน
โดยบริษัทจะกำหนดเงื่อนไขหรือมีหลักเกณฑ์ในการปรับค่าจ้างให้คนเก่า เช่น
2.1
พิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน โดยดูจากผลประเมินการปฏิบัติงานที่ผ่านมา
2 ครั้งเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเกรด B
โดยหลักคิดที่ว่าถ้าคนเก่าที่มีผลงานไม่ดี
หรือมีพฤติกรรมไม่ดีในการทำงานก็ไม่ควรได้รับการปรับเพิ่มเพราะจะไม่ยุติธรรมกับคนที่ทำงานดีมีผลงาน
2.2
กำหนดจุดตัดที่พ้นผลกระทบค่าจ้างขั้นต่ำ
วิธีนี้จะกำหนดเงินเดือนที่เป็นจุดตัดว่าถ้าพนักงานเก่าที่มีเงินเดือนตั้งแต่.......บาทเป็นต้นไปถือว่าเป็น
“จุดตัด” จะไม่ได้รับการปรับเพราะถือว่าได้รับค่าจ้างที่มากพอที่จะพ้นจากผลกระทบการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว
การปรับค่าจ้างในข้อ 2 นี้ยังอยู่บนหลักที่ว่าถ้าคนเก่ายังได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ บริษัทก็ต้องปรับให้ไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำเสียก่อนนะครับ
3.
ปรับเพิ่มให้ทั้งคนใหม่และคนเก่าทุกคน
วิธีนี้บางตำราจะเรียกทับศัพท์ว่าเป็นการปรับแบบ
“Across
the board” หรือปรับขึ้นค่าจ้างให้ทุกคน ซึ่งแน่นอนว่าการปรับแบบนี้พนักงานทุกคนแฮ๊ปปีดี๊ด๊ามีความสุข
แต่บริษัทรับทุกข์จาก Staff Cost เพิ่มขึ้นแบบจัดเต็ม
ถ้าบริษัทเล็ก ๆ หรือมีพนักงานไม่มากนักก็อาจใช้วิธีนี้ได้ แต่ถ้าเป็นบริษัทใหญ่ ๆ
มีคนเยอะ ๆ แล้วจะใช้วิธีนี้ก็ต้อง “ป๋า” คือมีเงินงบประมาณเยอะพอที่จะปรับแหละครับ
เมื่อทราบทั้ง 3 วิธีหลัก
ๆ ในการปรับคนเก่าแล้วคราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของฝ่ายบริหารแล้วล่ะครับว่าจะเลือกวิธีไหนที่เหมาะที่สุดกับบริษัทของเรา