เมื่อตอนที่แล้วผมพูดถึงการมีนโยบายในการจ่ายเงินเดือน+สารพัดค่าเพื่อช่วยลด Staff Cost จะดีไหมไปแล้วนะครับ คนที่ยังไม่ได้อ่านก็แนะนำให้ไปอ่านเรื่องนี้ใน Blog ของผมก่อนนะครับ เราจะได้มาพูดกันในเรื่องนี้เป็นตอนต่อมา
ผมกลับมาใช้ตัวอย่างเปรียบเทียบนโยบายการจ้างวิศวกรจบใหม่ของบริษัท
A กับบริษัท B จากตอนที่แล้วอีกครั้งหนึ่งดังนี้นะครับ
บริษัท
A กำหนดอัตราจ้างวิศวกรจบใหม่ให้มีเงินเดือน 18,000 บาท
มีค่าครองชีพเดือนละ 2,000 บาท และมีค่าวิชาชีพเดือนละ 3,000
บาท
บริษัท
B กำหนดอัตราจ้างวิศวกรจบใหม่ให้มีเงินเดือน 20,000 บาท
และมีค่าวิชาชีพเดือนละ 3,000 บาท
ในตอนที่แล้วผมบอกไปแล้วว่าการกำหนดนโยบายอย่างนี้ก็จะทำให้ดูเหมือนว่าบริษัท
A มี Staff Cost ที่ต่ำกว่าบริษัท B ในบางเรื่อง เช่น ฐานเงินเดือนที่ใช้สำหรับการคำนวณขึ้นเงินเดือนประจำปีหรือจ่ายโบนัส หรือใช้คำนวณการหักเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะต่ำกว่าบริษัท
B
แต่อยากจะบอกตรงนี้ว่าแม้ว่าจะดูเหมือนบริษัท
A จะบริหาร Staff Cost ได้ต่ำกว่าบริษัท B ก็จริง
แต่โลกนี้ไม่มีอะไรฟรีนะครับ ได้อย่างก็เสียอย่างเหมือนเพลงพี่ป้อมอัสนี
ไม่มีได้หมดโดยไม่เสียอะไรเลยหรอกครับ
เพราะความจริงที่ยังคงอยู่ก็คือ
“ฐานเงินเดือน” ของวิศวกรบริษัท A ต่ำกว่าวิศวกรของบริษัท B เมื่อเวลาผ่านไปหลาย ๆ ปีก็จะพบว่าวิศวกรของบริษัท A มีฐานเงินเดือนต่ำกว่าบริษัท B โดยเฉลี่ย
คราวนี้สัจธรรมเรื่อง
“เงินเดือนของเราไม่สำคัญเท่ากับเพื่อนได้เท่าไหร่” ก็จะเริ่มทำงาน
วิศวกรที่มีความสามารถของบริษัท
A ก็มีแนวโน้มที่จะไหลออกไปสู่ที่ ๆ เขาให้เงินเดือนเยอะกว่าจริงไหมครับ
กลับมาสู่คำถามตามหัวเรื่องนี้ว่า “การจ่ายเงินเดือน+สารพัดค่าจะช่วยแก้ปัญหาพนักงานเงินเดือนตันได้จริงไหม
?”
ก็ตอบได้อย่างนี้ครับ
1. การที่พนักงานจะมีเงินเดือนตันเร็วหรือช้าแค่ไหนขึ้นอยู่กับการออกแบบโครงสร้างเงินเดือนของบริษัทเราว่าจะให้มี Range Spread ในแต่ละกระบอกมากหรือน้อยแค่ไหน
ถ้าบริษัทเราไม่ใหญ่นัก มี Job Grade ไม่มากนัก หรือเป็นบริษัทที่มี Career Path ให้พนักงานมีโอกาสก้าวหน้าน้อยก็จำเป็นต้องออกแบบให้ Range Spread มีเปอร์เซ็นต์สูงเพื่อรักษาคนใน Job Grade นั้นเอาไว้
การกด Base Salary ให้ต่ำก่วาตลาดจึงไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องในการแก้ปัญหาเงินเดือนตัน แถมยังเป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดปัญหาดราม่าตามมาในภายหลังอีกต่างหาก
2.
บริษัทอีกไม่น้อยที่ทำโครงสร้างเงินเดือนมานานหลายปีแล้ว
และไม่เคย Update
โครงสร้างเงินเดือน
3.
ผลจากการไม่เคย Update โครงสร้างเงินเดือนจึงทำให้ Actual Pay คือการจ่ายเงินเดือนจริงของพนักงานโดยเฉลี่ยในแต่ละ
Job Grade เข้าไปอยู่ใน Quartile3 หรือ
4 ซะเป็นส่วนใหญ่และก็จะทำให้เงินเดือนตันในที่สุดทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ความผิดของพนักงาน
ถ้าถามความเห็นว่าผมเห็นด้วยไหมที่จะเพิ่มสารพัดค่าเข้าไปเพื่อแก้ปัญหาเงินเดือนตัน
?
ผมต้องตอบว่า
“ไม่เห็นด้วย” ครับ
คำแนะนำคือบริษัทจะต้อง
Update
โครงสร้างเงินเดือนเสียใหม่ให้แข่งขันกับตลาดได้โดยอย่างน้อยโครงสร้างเงินเดือนที่
Update ใหม่ควรจะต้องมี Midpoint ในแต่ละ
Job Grade ที่สามารถแข่งขันกับตลาดได้ แล้วค่อยมาดูว่าใครบ้างที่เงินเดือนตัน,
คนที่เงินเดือนตันมีผลงานเป็นยังไงบ้าง ฯลฯ โดยต้องดูข้อมูลรายละเอียดโดยหาสาเหตุของปัญหานี้กันเป็นรายบุคคลแล้วค่อยมาวางแผนแก้ปัญหานี้กันแบบ
Case by Case ครับ