คนทุกคนย่อมมีอคติ (Bias) ในเรื่องต่าง ๆ อยู่แล้ว อคติตัวหนึ่งที่มักจะมีผลอย่างมากต่อการคิดและตัดสินใจของคนแถมบ่อยครั้งที่อคติชนิดนี้จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติแบบไม่รู้ตัวคืออคติที่มีชื่อว่า “HALO EFFECT”
HALO คืออะไร ?
ถ้าใครเคยดูการ์ตูนหรือดูหนังฝรั่งคงจะเคยเห็นว่าตัวเทพบุตรเทพธิดาที่เป็นคนดีมักจะมีวงแหวนสว่างกลม
ๆ อยู่เหนือหัวของเทพบุตรเทพธิดาเหล่านั้น
เจ้าวงกลม ๆ
เหนือหัวนั่นแหละครับฝรั่งเรียกว่า “HALO”
คือถ้าใครมี HALO
เหนือหัวก็จะเชื่ออย่างไม่มีข้อสงสัยว่าคน ๆ นั้นเป็นคนดีแน่นอน
แต่..ในชีวิตจริงคนที่มี HALO อยู่เหนือหัวจะเป็นคนดีไปทุกคนเสียเมื่อไหร่กันล่ะครับ ?
นี่จึงเป็นที่มาของอคติที่ชื่อ HALO EFFECT
นั่นก็คือพอเราพบเห็นใครที่มีลักษณะที่สอดคล้องกับค่านิยมหรืออคติที่เรามีเราก็จะคิดมโนไปเองโดยอัตโนมัติซึ่งการคิดมโนแบบ
HALO
EFFECT นี้ก็อาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ เช่น....
นาย
A เคยทำงานในองค์กรใหญ่มีชื่อเสียงจะต้องทำงานเก่งและประสบความสำเร็จแหง ๆ หรือ
นางสาว B เป็นคนรวยฐานะดีไม่มีทางทุจริตคดโกงได้หรอก
หรือ
ดิเรกจบเกรดเฉลี่ย 4.0 ย่อมจะทำงานเก่งกว่าอำนวยที่จบด้วยเกรดเฉลี่ย
2.0
ฯลฯ
อคติแบบนี้แหละครับที่มักจะทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด
และมักจะเกิดปัญหาตามมาภายหลังอยู่บ่อย ๆ
เช่น
ถ้าคนที่เป็นกรรมการสัมภาษณ์ที่ไม่เท่าทัน HALO EFFECT ก็จะตัดสินใจรับผู้สมัครงานที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมเข้ามาเป็นพนักงานอยู่บ่อย
ๆ เพียงผู้สมัครงานคนไหนมีคุณลักษณะตรงกับที่กรรมการสัมภาษณ์คนนั้นมี HALO
EFFECT อยู่ในใจเช่นเป็นคนจบสถาบันชื่อดัง, เกรดเฉลี่ยสูง,
คุณพ่อคุณแม่มีฐานะมั่นคง, เคยทำงานบริษัทใหญ่ชื่อดังมาก่อน ฯลฯ
กรรมการสัมภาษณ์ก็แทบจะเทใจให้ผู้สมัครคนนี้ในทันทีโดยไม่ให้ความสำคัญกับการถามประสบการณ์ทำงานของผู้สมัครที่ประสบความสำเร็จว่ามีอะไรบ้าง,
ไม่ถามเพื่อค้นหาคุณสมบัติด้านอื่นในตัวของผู้สมัครงานว่ามีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่เปิดรับอยู่หรือไม่
ฯลฯ
เพราะตัดสินใจเลือกผู้สมัครงานรายนี้ด้วยอคติที่เรียกว่า
HALO EFFECT ไปเรียบร้อยแล้ว
หรือแม้แต่เราคงเคยได้ยินเรื่องเล่าที่มีคนแต่งตัวมอซอไปที่โชว์รูมรถยนต์ยุโรปยี่ห้อดังไปด้อม
ๆ มอง ๆ รถที่ขายในโชว์รูม แล้วพนักงานขายก็มองด้วยสายตาเหยียด ๆ
แถมยังพูดจาทำนองว่ารถราคาตั้งหลายล้านบาทเชียวนะ
ซึ่งชายที่แต่งตัวมอซอนั้นแท้ที่จริงแล้วเป็นเศรษฐีมีเงินที่ซื้อรถได้ทั้งโชว์รูมเลยก็ยังได้
นี่คือตัวอย่างของการมองคนโดยมีอคติแบบ HALO EFFECT
แล้วทำให้เกิดปัญหาความผิดพลาดขึ้นได้
แล้ววิธีแก้ปัญหา HALO EFFECT ควรทำยังไงดีล่ะ ?
ก็คงจะตอบได้ว่า “ข้อมูล” ครับ เราควรจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนั้น
ๆ ให้ได้มากที่สุด เช่นกรณีคนแต่งตัวมอซอเข้ามาดูรถในโชว์รูม
พนักงานขายอาจจะมีอคติในตอนแรกว่าแต่งตัวซอมซ่ออย่างงี้จะมีเงินซื้อหรือ
แต่ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปไปตรง ๆ อย่างงั้นทันที
เพียงแต่มีสติเก็บอคติเอาไว้ก่อนแล้วเดินเข้าไปหาพร้อมรอยยิ้มและพูดจาด้วยดีเหมือนกับลูกค้าที่แต่งตัวดีคนอื่น
ๆ แล้วสอบถามหาข้อมูลให้มากขึ้นจากคน ๆ นี้เพื่อยืนยันว่า HALO EFFECT ที่เราคิดไว้ในตอนแรกมันถูกหรือผิด
หรือถ้าจะลองเสิร์จในกูเกิ้ลโดยใส่ชื่อนามสกุลแล้วดูว่าคน
ๆ นี้มีข้อมูลอะไรบ้างอย่างน้อยก็จะช่วยลดอิทธิพลของ HALO EFFECT ไปได้ไม่น้อยเลยนะครับ
ผมก็เลยอยากจะสรุปเรื่องของ HALO EFFECT เอาไว้ตรงนี้ว่า “อ่านหนังสืออย่าดูแค่ปก” หรือ
“สิ่งที่เราเห็นอาจไม่เป็นอย่างที่เราคิด” ก็คงจะได้มั๊งครับ
หวังว่าเมื่อท่านอ่านมาถึงตรงนี้คงจะทำให้ท่านมีสติและรู้เท่าทันเจ้าอคติที่ชื่อ
“HALO
EFFECT” มากขึ้นแล้วนะครับ