ถ้าท่านจะปลูกบ้านใหม่ราคา 5 ล้านบาทแล้วสถาปนิกคำนวณว่าจะต้องมีค่าตกแต่งภายในอีกประมาณ 1 ล้านบาท รวมเบ็ดเสร็จ 6 ล้านบาท ท่านก็จะได้บ้านที่น่าอยู่พร้อมสรรพอย่างที่ต้องการ
คำถามก็คือ
สมมุติถ้าจ่ายเป็นเงินสดได้ ท่านจะควักเงินจ่ายค่าบ้านรวมค่าตกแต่ง 6 ล้านบาท
หรือจะจ่ายค่าบ้านเพียงอย่างเดียวไปก่อน 5 ล้านบาท
แล้วเมื่อบ้านสร้างเสร็จแล้วค่อยไปตกแต่งภายในทีหลังอีก 1 ล้านบาท
ท่านจะตัดสินใจแบบไหน?
ถ้าใครที่ตัดสินใจแบบแรกก็คงไม่มีประเด็นอะไรเพราะจ่ายไปรวดเดียวจบ
แต่คนที่ตัดสินใจจ่ายค่าบ้านไปก่อน
5 ล้านแล้วค่อยกันงบไปตกแต่งภายในทีหลังมักจะพบว่าเราจะรู้สึกว่าค่าตกแต่ง 1
ล้านบาทมันมากจังเลย และจะหาวิธีเซฟงบให้น้อยกว่า 1 ล้านบาทก็เลยจะตัดค่าเฟอร์นิเจอร์และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลง
ซึ่งก็จะทำให้ภายในบ้านไม่สวยอย่างที่ฝันเอาไว้แต่แรก
เนื่องจากข้อจำกัดในการรับรู้ของเราบอกว่าเงิน
1 ล้านบาทที่ต้องจ่ายภายหลังนั้นเป็นจำนวนเงินที่มาก ในขณะที่ถ้าเราจ่ายไป 6
ล้านบาทตั้งแต่แรกเราจะไม่รู้สึกว่า 1 ล้านบาทที่ต้องเพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวนเงินที่มากเหมือนการมาจ่ายเพิ่มในภายหลัง
หรือพูดง่าย
ๆ ว่าเรามีข้อจำกัดในการรับรู้และเกิดการรับรู้ที่ผิดเพี้ยนว่าการจ่ายเงิน 1 ล้านบาทครั้งแรกกับครั้งหลังไม่เท่ากันทั้ง
ๆ ที่เป็นจำนวนเงินที่เท่ากัน!
หรือผมจะยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัวอีกสักเรื่องหนึ่งก็ได้ครับ
หลายท่านคงชอบซื้อของออนไลน์โดยกด
CF CF
CF กันจนเพลิน
สังเกตไหมครับว่าเวลาที่เราซื้อของออนไลน์แล้วเรากดปุ่มยืนยันการซื้อ
(Confirm
หรือย่อว่า CF) สินค้าแต่ละตัวเราจะรู้สึกว่าไม่ได้จ่ายเงินเยอะสักเท่าไหร่เพราะตัดบัตรเครดิตจึงไม่เห็นตัวเงินที่จ่ายออกไปเป็นรูปธรรม
แต่ถ้าเราไปเดินห้างแล้วต้องจ่ายเงินสดเพื่อซื้อของอย่างเดียวกันในวงเงินเท่ากัน
ผมว่าหลายคนจะซื้อน้อยลงเพราะเราจะรู้สึกว่าเงินในกระเป๋าลดลงทุกครั้งที่เปิดกระเป๋าตังค์เพื่อจ่ายเงิน
นี่คือปัญหาเกี่ยวกับข้อจำกัดในการรับรู้ของคน
ตัวอย่างง่าย ๆ
ก็เช่นคนที่ใช้บัตรเครดิตรูดซื้อของไปจนเพลินแล้วลมจะใส่ตอนที่มีใบแจ้งหนี้ส่งมาที่บ้านนั่นแหละครับคือปัญหาของข้อจำกัดของการรับรู้ที่ผิดพลาดจนทำให้ลืมไปคิดว่าเงินกู้คือเงินกู
ถ้าใครมีสติเท่าทันข้อจำกัดในการรับรู้ของเรามากเท่าไหร่
ก็จะลดปัญหาการตัดสินใจที่ผิดพลาดลงได้มากขึ้นเท่านั้นแหละครับ