ตามมาตรา 29 กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ
13 วัน รวมวันแรงงานแห่งชาติ
นายจ้างจะประกาศให้ลูกจ้างมีวันหยุดประเพณีมากว่า 13 วันก็ได้นะครับแต่ห้ามน้อยกว่า
13 วัน
คำว่า “วันหยุดประเพณี” หมายถึงอะไร?
ก็หมายถึงวันหยุดประเพณีที่ทางราชการกำหนด
หรือวันหยุดทางศาสนา เป็นวันสำคัญของชาติ หรือวันหยุดที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นเพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้ลูกจ้างได้หยุดไปประกอบศาสนกิจตามประเพณีตามขนบธรรมเนียม
ซึ่งนายจ้างจะต้องประกาศวันหยุดประเพณีให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้านะครับ
ดังนั้น
การที่นายจ้างไปประกาศวันหยุดประเพณีแบบลอย ๆ ตามใจผู้บริหาร (ตามตัวอย่างข้างต้น)
โดยไม่มีข้อเท็จจริงรองรับเลยว่าเป็นวันหยุดประเพณีไปได้ยังไงนี่ก็ผิดเจตนารมณ์ของกฎหมายแรงงานแล้วครับ
การประกาศวันหยุดประเพณีจึงต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงที่ชาวบ้านเขาทำกันไม่ใช่ประกาศวันหยุดประเพณีแบบตามใจฝ่ายบริหารซึ่งสุ่มเสี่ยงกับการที่ลูกจ้างจะไปร้องเรียนแรงงานเขตหรือไปฟ้องศาลแรงงานซึ่งแน่นอนว่าถ้ามีการฟ้องกันแล้วล่ะก็นายจ้างแพ้แหงแก๋ครับ
แต่ถ้านายจ้างไม่สามารถให้ลูกจ้างหยุดในวันหยุดประเพณีได้เนื่องจากมีความจำเป็นเร่งด่วนฉุกเฉิน
ก็แจ้งให้ลูกจ้างมาทำงานในวันหยุดแล้วจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามมาตรา 62 ของกฎหมายแรงงานก็เท่านั้นเองครับไม่ต้องสุ่มเสี่ยงกับการถูกฟ้องร้องภายหลังครับ
......................................