ในตอนที่แล้วเราทำความเข้าใจในเรื่องของค่าความห่างระหว่าง
Min ถึง Max ที่เรียกว่า Range
Spread และความหมายของ Range Spread ไปแล้ว
ในตอนที่ 6 นี้เราก็มาพูดกันต่อในเรื่องของ Midpoint Progress ดังนี้ครับ
Midpoint Progress-MPP
เส้นที่เชื่อมระหว่าง Midpoint ต่อ Midpoint
Midpoint Progress หรือบางตำราอาจจะเรียกว่า
Progression Rate เป็นค่าที่บอกความเชื่อมโยงระหว่างกระบอกเงินเดือนหนึ่งไปสู่อีกกระบอกเงินเดือนหนึ่ง
เพื่อให้ท่านเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นผมขอนำเอารูปโครงสร้างเงินเดือนกลับมาให้ดูอีกครั้งดังนี้ครับ
จากรูปข้างต้นท่านจะเห็นเส้นที่ลากเชื่อมตรงค่ากลาง
(Midpoint)
ระหว่างกระบอกเงินเดือนแต่ละกระบอก เช่น กระบอกเงินเดือนใน Job
Grade1 ไป กระบอกเงินเดือนเงินเดือนใน Job Grade2 มีค่าเท่ากับ 35% หรือเส้นที่ลากเชื่อมระหว่าง Midpoint
กระบอกที่2 ไปกระบอกที่3 เท่ากับ 30% เป็นต้น
ค่าของ MPP บอกอะไรกับเรา?
ค่า MPP เป็นตัวบอกว่าถ้าหากบริษัทจะมีการปรับเงินเดือนเมื่อ
Promote พนักงานให้เลื่อนตำแหน่งเลื่อนระดับชั้นสูงขึ้นไปใน Job
Grade ถัดขึ้นไป บริษัทจะมีต้นทุนในการปรับเงินเดือนเมื่อ Promote
มากหรือน้อยแค่ไหน
ถ้าค่า MPP มีมากเช่นมีค่า
45, 50, 55, 60 เปอร์เซ็นต์มากขึ้นไปเรื่อย ๆ
ก็แปลว่าบริษัทจะมีต้นทุนในการปรับเงินเดือนเมื่อ Promote พนักงานเพิ่มมากขึ้นไปด้วย
ในขณะที่พนักงานที่ได้รับการ Promote ก็จะชอบนะครับ
โธ่..เงินนี่ครับใครไม่อยากได้ล่ะยิ่งปรับเพิ่มให้เยอะยิ่งดี (ในมุมคิดของพนักงาน)
ใช่ไหมครับ ดังนั้นถ้าค่า MPP มีมากก็จะจูงใจให้พนักงานอยาก Promote
มาก
แต่ถ้าค่า MPP น้อยลง
เช่น 25, 20, 15, 10 เปอร์เซ็นต์ลดลงไปเรื่อย ๆ
ก็จะแปลกลับกันกับข้างต้นคือบริษัทจะมีต้นทุนในการปรับเงินเดือนเมื่อ Promote
น้อยลงเพราะโอกาสที่พนักงานจะได้รับการปรับเงินเดือนน้อย
ก็ลองคิดดูสิครับว่าถ้าค่าของ MPP ลดลงก็แปลว่า Midpoint
ของกระบอกเงินเดือนถัดไปจะใกล้เคียงกับ Midpoint ของกระบอกเงินเดือนก่อนหน้าจริงไหมครับนั่นก็แปลว่าโอกาสที่พนักงานจะได้รับการปรับเงินเดือนเมื่อ
Promote ลดลงตามไปด้วย
ซึ่งแน่นอนว่าพนักงานที่ถูก Promote
จะไม่ชอบ (ก็โอกาสได้รับการปรับเงินเดือนขึ้นน้อยลงนี่ครับ)
และจะไม่จูงใจพนักงานที่ถูก Promote มากเท่าไหร่ ก็งานและความรับผิดชอบมากขึ้นแต่ได้รับการปรับเงินเดือนน้อย
หรือเผลอ ๆ ไม่ได้รับการปรับนี่ใครอยากจะทำงานล่ะครับ
โดยทั่วไปแล้วค่าของ MPP ควรจะอยู่ระหว่าง
25-45%
มาถึงตรงนี้บางคนอาจจะสงสัยว่าเราจะคำนวณหาค่า
MPP ได้ยังไง?
ยกตัวอย่างการหา MPP
ของกระบอกเงินเดือน1 ไปยังกระบอกเงินเดือน2
ตามตัวอย่างข้างต้นคือ
ผ่านไปแล้วสำหรับเรื่องของ
Midpoint
Progress แล้วนะครับ
ในตอนต่อไปผมจะนำท่านไปทำความเข้าใจถึงค่าอีกตัวหนึ่งที่สำคัญมากคือค่าที่บอกว่าในการทำโครงสร้างเงินเดือนแต่ละกระบอกจะสามารถแข่งขันกับตลาดได้มากน้อยแค่ไหน
และกระบอกเงินเดือนนั้นจะใช้ได้ดีหรือไม่
อดใจรอตอนต่อไปนะครับ
………………………………….