นาย A ทำงานกับบริษัทมาประมาณ 3 ปีเศษ ๆ การทำงานก็ไม่ได้ถึงกับดีเลิศแต่ก็ไม่ได้มีอะไรเสียหาย
ทำงานได้ตาม Job Description อัตราเงินเดือนเริ่มต้น 15,000
บาท
ได้รับการขึ้นเงินเดือนประจำปีตามค่าเฉลี่ยตามผลการปฏิบัติงานในเกรด C คือประมาณ 5% (ค่าเฉลี่ยการขึ้นเงินเดือนของบริษัทปีละประมาณ
5%) ปัจจุบันนาย A ได้รับเงินเดือน 17,400
บาท
นาย A ลาออกไปสมัครงานในบริษัทอีกแห่งหนึ่งเสนอขอเงินเดือนไปที่
22,000 บาท (เพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 26%) ซึ่งถ้าสมมุติว่านาย A มีเพื่อนชื่อนาย B ที่จบมาพร้อม ๆ
กันและทำงานอยู่ในแห่งใหม่นี้มาตั้งแต่แรกซึ่งบริษัทนี้ก็จะมีการขึ้นเงินเดือนประจำปีเฉลี่ยประมาณ
5% เท่า ๆ กับบริษัทเดิมที่นาย A เคยทำงานมาก่อน
(ที่บริษัทนี้ขึ้นเงินเดือนประจำปีเฉลี่ย 5%
เพราะใช้ค่าเฉลี่ยของตลาดจากการสำรวจค่าตอบแทนในแต่ละปีเหมือนกับข้อมูลที่บริษัทเดิมของนาย
A ได้รับ) และเงินเดือนปัจจุบันของนาย B ก็คงจะใกล้เคียงกับเงินเดือนเดิมของนาย A ก่อนที่จะเปลี่ยนงานคือประมาณ
17,000-18,000 บาท
แน่นอนว่าเมื่อเปลี่ยนงานใหม่คงไม่มีใครจะขอเงินเดือนเท่าเดิม
(หรือต่ำกว่าเดิม) นาย A ก็เช่นเดียวกันที่ลาออกเปลี่ยนงานก็จะได้เงินเดือนเพิ่มขื้นจากที่เดิม
ซึ่งผมเคยบอกไว้แล้วว่าค่าเฉลี่ยของเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปลี่ยนงานใหม่ควรจะไม่ต่ำกว่า
25% (นี่ถือว่าเป็นขั้นต่ำสุดนะครับ) เพราะไหน ๆ
จะต้องเปลี่ยนที่ทำงานใหม่, จะต้องปรับตัวให้เข้ากับหัวหน้า, ลูกน้อง, เพื่อนร่วมงาน ฯลฯ
ไหนจะต้องทำงานให้ได้ตาม KPI ที่บริษัทกำหนดให้ ฯลฯ
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นความเสี่ยงของคนที่จะต้องเปลี่ยนงานใหม่
จากตัวอย่างและเหตุผลข้างต้นนี่แหละครับเป็นคำตอบว่าทำไมบริษัทถึงจ้างคนใหม่แพงกว่าคนเก่า!
แต่นั่นก็หมายความว่านาย
A
จะต้องมีความรู้ความสามารถในงานที่บริษัทใหม่ต้องการจึงตกลงรับนาย A
เข้าทำงานจริงไหมครับ
ถ้านาย A ไม่มีฝีมือไม่มีความสามารถจริงนาย A
ก็จะเจอวิบากในอนาคตในที่ทำงานใหม่แหง ๆ เผลอ ๆ
ก็อาจจะไม่ผ่านทดลองงานด้วยซ้ำ
แต่ถ้านาย
A
มีความรู้ความสามารถในงานมีศักยภาพอยู่ในตัวจริงแล้ว นาย A ก็จะยังเป็นที่ต้องการของบริษัทอื่น ๆ และยังมีโอกาสเปลี่ยนงานใหม่และได้เงินเดือนสูงมากขึ้นต่อไปได้อีก
เรื่องที่น่าคิดสำหรับคนที่มองเพียงแค่ว่า
“ทำไมคนใหม่ได้เงินเดือนเยอะกว่าเรา” คือ...
เราพัฒนาตัวของเราเองให้มีความรู้ความสามารถมีศักยภาพให้เป็นที่ต้องการของตลาดแล้วหรือยัง
เพราะคนที่มีศักยภาพมีความสามารถจะยังเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่เสมอ
นี่ยังไม่รวมประเด็นที่ว่าเปอร์เซ็นต์การเติบโตของค่าจ้างของตลาดภายนอกบริษัทสูงกว่าเปอร์เซ็นต์การเติบโตภายในบริษัทยกตัวอย่างตามภาพนี้ครับ
เห็นไหมครับว่าในปี 2560 ตลาดภายนอกมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้น
3.3% บวกเงินเฟ้อ 1% รวมเป็นประมาณ 5
เปอร์เซ็นต์ และในปี 2561 ค่าจ้างขั้นต่ำปรับเพิ่มขึ้น
4.8% อัตราเงินเฟ้อ 1% รวมเป็นประมาณ 6%
ในขณะที่บริษัทส่วนใหญ่ขึ้นเงินเดือนประจำปีประมาณ
5%
แปลว่าปี
2560
พนักงานโดยเฉลี่ยจะได้รับการขึ้นเงินเดือนเท่ากับตลาดภายนอกบริษัทพอดี
แต่ปี
2561
พนักงานของเราโดยเฉลี่ยจะได้รับการขึ้นเงินเดือนต่ำกว่าตลาดภายนอก -1%!!
กว่าจะได้รับการขึ้นเงินเดือนประจำปีก็ต้องมีการวัดผลงาน มี KPIs ดราม่ากันระหว่างหัวหน้า-ลูกน้องแทบแย่
แต่กลับได้ขึ้นเงินเดือนแค่เสมอตัวหรือติดลบเมื่อเทียบกับตลาดภายนอกที่ไม่ต้องทำอะไรเลยก็ได้รับการปรับเงินเดือนขึ้นมา
3-5%
นี่ยังไม่รวมผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเมื่อปี
2555
ที่ก้าวกระโดดขึ้นมาถึง 40% (หรือมากกว่านี้ในหลายจังหวัด)
อีกต่างหากนะครับ
ทั้งหมดนี้แหละครับคือสาเหตุของการที่ทำไมคนใหม่ถึงเงินเดือนไล่หลังหรือแซงคนเก่า
และทำไมการจ้างคนใหม่ถึงแพงกว่าคนเก่า
ทางออกของปัญหานี้ของคนเก่าก็คือ
1. ต้องพัฒนาตัวเองให้มี
“ของ” มีคุณค่าในตัวเองเพิ่มขึ้นให้ฝ่ายบริหารเห็นและปรับเงินเดือนให้ตามความสามารถและฝีมือ
ไม่ว่าจะเป็นการปรับเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษเพราะเราเป็นคนที่มีศักยภาพหรือเป็น Key
Position หรือปรับเงินเดือนเนื่องจาก Promote ให้ให้เราขึ้นไปรับตำแหน่งที่สำคัญและมีความรับผิดชอบมากขึ้น
2. ถ้าพัฒนาตัวเองให้มี
“ของ” แล้ว แต่บริษัทนั้นยังไม่เห็นคุณค่าก็คงต้องใช้วิธี “เรือเล็กควรออกจากฝั่ง”
ตามเพลงของพี่ตูนแล้วล่ะครับ ไปขายของขายขายคุณค่าขายความสามารถที่มีอยู่ในตัวเราให้บริษัทอื่นซื้อให้ได้ซึ่งนี่ก็จะเป็นการปรับเงินเดือนของเราด้วยความสามารถของตัวเราเองครับ
แต่ถ้าใครไม่ยอมพัฒนาตัวเอง ยังคิดอยู่ใน Comfort
Zone ของตัวเอง
และยังเอาเวลาที่ควรทำอะไรให้ดีขึ้นกับตัวเองไปวนเวียนอยู่กับการด่าบริษัท
ด่าฝ่ายบริหาร ฯลฯ อยู่แล้วหวังว่าฝ่ายบริหารจะขึ้นเงินเดือนให้เยอะ ๆ
โดยที่ตัวเองยังทำอะไรอยู่เหมือนเดิม ๆ ผมว่าก็คงไม่ต่างจากคนซื้อหวยแล้วฝันเฟื่องจะถูกรางวัลที่
1 แหละครับ
……………………………………