ท่านที่เคยอ่านหนังสือหรือบทความที่ผมเขียน
หรือฟังเรื่องที่ผมพูดในห้องอบรม (หรือนอกห้องอบรมก็ตาม) ว่าอย่าเชื่อข้อเขียนหรือสิ่งที่ผมพูดไปทั้งหมดแต่ให้ใช้
“หลักกาลามสูตร” ด้วย
บางคนก็อาจจะงงว่าหลักกาลามสูตรที่ผมพูดคืออะไร
ถ้าไม่ได้เข้าไป Search
หาในกูเกิ้ลก็อาจจะไม่เข้าใจหรือลืม ๆ ไป
ผมก็เลยขออธิบายขยายความหลักกาลามสูตรพอให้ท่านเกิดไอเดียอย่างนี้ครับ
หลักนี้จะบอกว่าอย่าเชื่ออะไรง่ายเกินไป
10 ประการ เช่น อย่าเชื่อเพราะฟังต่อ ๆ กันมา, อย่าเชื่อเพราะเคยทำตาม ๆ
กันมา, อย่าไปเชื่อเพราะ “เขาว่า” กันว่า, อย่าไปเชื่อเพราะตรงกับตำราหรือทฤษฎี
แถมที่เด็ดที่สุดคือ....
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะคน ๆ
นั้นเป็นครูบาอาจารย์ !
ลองอ่านดูข้างล่างนี้สิครับ
พออ่านแล้วบางคนอาจจะร้อง
“โอ้โห..อย่างงี้ก็เชื่ออะไรไม่ได้สักอย่างน่ะสิ หลักนี้ทำให้เรามองโลกในแง่ร้ายเกินไปหรือเปล่า?”
ตอบว่า
“ไม่ใช่หลักที่ทำให้เรามองโลกในแง่ร้าย” ครับ
แต่เป็นหลักที่ทำให้เรามี
“สติ” และหาข้อมูลข้อเท็จจริงมาทำให้เราเกิด “ปัญญา”
เสียก่อนแล้วค่อยตัดสินใจเชื่อ (ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม) ต่างหาก
นั่นคือ..ไม่ว่าเราจะอ่านเรื่องราวอะไรจากที่ไหน
ได้ยินได้ฟัง
ได้ดูอะไรจากที่ไหนก็ยังไม่ควรปลงใจเชื่อในทันทีเดี๋ยวนั้นเพียงเพราะเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่ตรงกับที่เราคิดไว้แล้ว,
ตรงกับทฤษฎีที่เราเคยอ่าน หรือแม้แต่เชื่อเพราะคน ๆ
นั้นเป็นครูบาอาจารย์ชื่อดังใคร ๆ ก็เชื่อถือ ฯลฯ
แต่ควรเชื่อต่อเมื่อเราได้หาข้อมูล
ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ มาอย่างดีมีการกลั่นกรองว่าเรื่องใดจริง
เรื่องใดเท็จ เรื่องใดเหมาะหรือไม่เหมาะกับเรา แล้วใช้สติปัญญาของเรา “คิด”
ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนแล้วจึงค่อยตัดสินใจเชื่อหรือไม่เชื่อเรื่องนั้น ๆ
นี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านสอนมาสองพันกว่าปีแล้วซึ่งเป็นหลักการที่ถูกต้องทางวิทยาศาสตร์เลยแหละครับ
ผมถึงได้บอกทุกท่านที่อ่านเรื่องที่ผมเขียน
หรือฟังเรื่องที่ผมพูดอยู่เป็นประจำว่าให้ท่านใช้หลักกาลามสูตรด้วย
อย่าเพิ่งเชื่อสิ่งที่ผมแชร์ไปท่านจะต้องไปหาข้อมูลมาคิดและไตร่ตรองให้ดีก่อนจะเชื่อหรือปฏิบัติด้วย
พูดมาถึงตรงนี้แล้วท่านจะเชื่อผมหรือเปล่าครับ?
😊
……………………………………….