บริษัทมีนโยบายขึ้นเงินเดือนประจำปีตามความสามารถและผลงานโดยไม่คำนึงถึงวุฒิการศึกษา
ซึ่งมีพนักงานจบปวส.ทำงานมานานจึงมีผลงานความสามารถและประสบการณ์มากกว่าวิศวกรที่บริษัทจ้างมาจึงมีคำถามดังนี้
1.
สามารถเปลี่ยนชื่อตำแหน่งช่างที่จบปวส.รายนี้เป็นตำแหน่งวิศวกรได้หรือไม่
2.
หลักการขึ้นเงินเดือนตามผลงานและความสามารถถูกต้องหรือไม่
ตอบ
ผมขอตอบข้อ
2 ก่อนก็แล้วกันนะครับ
ปัจจุบันการขึ้นเงินเดือนประจำปีก็จะพิจารณากันตามผลงานและความสามารถของพนักงานเป็นหลักอยู่แล้วในทุกองค์กร
ซึ่งในปัจจุบันก็จะมีเครื่องมือช่วยให้การประเมินผลการปฏิบัติงานมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นคือระบบของการกำหนดตัวชี้วัดหลัก
หรือ KPIs
(Key Performance Indicators) ที่เรารู้จักกันดีในชื่อของ Balanced
Scorecard หรือบางแห่งอาจจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า MBO
(Management by Objectives) ก็ไม่ได้ผิดกติกาอะไร
เพราะทั้งสองแบบเป็นวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการมีตัวชี้วัดที่คล้ายคลึงกัน
ดังนั้นถ้าบริษัทของคุณมีการขึ้นเงินเดือนประจำปีตามผลงานและความสามารถที่มีตัวชี้วัดที่ผมบอกมานี้ก็เป็นหลักการที่ถูกต้องในปัจจุบันครับ
ส่วนคำถามข้อ
1 ที่คุณบอกว่าช่างที่จบวุฒิปวส.ทำงานเก่งกว่าวิศวกรที่จบปริญญาตรีจนกระทั่ง
MD อยากจะให้เปลี่ยนชื่อตำแหน่งช่างที่จบปวส.เป็นวิศวกรนั้น
ถามว่า
แล้ววิศวกรที่จบปริญญาตรีให้เปลี่ยนชื่อตำแหน่งไปเป็นช่างจะดีไหมครับ ?
(ถามล้อเล่นน่ะครับ..ไม่ได้หมายความอย่างที่ถามหรอก)
ผมอธิบายอย่างนี้นะครับ
คนที่จบปริญญาตรีทางวิศวกรรมศาสตร์ที่ไปทำงานในตำแหน่งงานตรงกับวิชาชีพที่ตนเองจบมาก็มักจะเรียกกันว่า
“วิศวกร” หรือในสมัยก่อนบางแห่งอาจจะเรียกว่า “นายช่าง”
ก็เพราะทำงานโดยใช้วิชาชีพด้านวิศวกรรมในสาขาที่จบมาโดยตรง
ส่วนผู้ที่ไม่ได้จบปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์มานั้น
ผมยังไม่เคยเห็นที่ไหนตั้งตำแหน่งให้เป็นวิศวกรเลย
ผมอยากจะให้คุณหาโอกาสทำความเข้าใจกับ
MD ในเรื่องของผลงาน+ความสามารถของคน
กับชื่อตำแหน่งหรือการเรียนจบคุณวุฒิใด ๆ นั้นเป็นคนละเรื่องกันนะครับ
ยกตัวอย่างก็คือ....
คนที่ทำงานดีทำงานเก่งไม่จำเป็นจะต้องจบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ
หรือจบเกียรตินิยมก็ได้จริงไหมครับ
หรือคนที่ทำงานดีไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตามถ้าเขาทำงานดีมีผลงาน
มันก็ไม่เกี่ยวกับว่าเขาจะมีชื่อเรียกตำแหน่งเป็นอะไรนี่ครับ
เพราะความสามารถในการทำงานของคนมันคือเรื่องของ
“Competency”
ยังไงล่ะครับ !
ซึ่ง
Competency
ก็คือถ้าใครมีความรู้ (Knowledge) ที่ดีในงานที่รับผิดชอบได้อย่างที่องค์กรต้องการ
(ซึ่งความรู้ในงานนี้ก็ไม่เกี่ยวกับความรู้ที่เรียนจบคุณวุฒิอะไรมานะครับ)
ถ้าใครมีทักษะ
(Skills) ในงานที่ดีและตรงกับที่องค์กรต้องการทักษะในงานเหล่านี้ หรือ
ถ้าใครมีคุณลักษณะภายใน
(Attributes) ที่เหมาะสมในงานที่ทำ เช่น ในงานนี้ต้องการความอดทน,
ต้องการความละเอียดรอบคอบ, ต้องการ Service Mind แล้วคน ๆ
นั้นก็มีคุณลักษณะภายในตรงกับที่องค์กรต้องการ
สรุปง่าย
ๆ ว่าถ้าใครมี ความรู้ (K)+ทักษะ (S)+คุณลักษณะภายใน (A) ตรงกับที่หน่วยงานและองค์กรต้องการแล้วล่ะก็คน
ๆ นั้นก็มีสมรรถนะหรือความสามารถ หรือ Competency เหมาะสมกับงานนั้นนั่นเองครับ
ในกรณีที่คุณถามมาก็พอจะบอกได้ว่าช่างที่จบปวส.มี
Competency
ตรงกับที่ MD ต้องการ ส่วนวิศวกรอาจจะยังขาด Competency
(หรือจะเรียกว่ายังมี Competency Gap ก็ได้นะครับ)
จึงทำให้ไม่สามารถจะทำผลงานออกมาได้อย่างที่ MD ต้องการ
ซึ่งในเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับว่าช่างคนนี้จบปวส.
หรือวิศวกรคนนี้จบปริญญาตรีวิศวะมาเลยจริงไหมครับ
เพราะคนที่จบปวส.ด้านช่างมานั้นก็ไม่ได้แปลว่าจะทำงานได้เก่งเหมือนกับช่างคนนี้ทุกคน
หรือทำนองเดียวกันวิศวกรที่เรียนจบปริญญาตรีวิศวะมาก็ไม่ได้แปลว่าจะทำงานได้ไม่เก่งเหมือนวิศวกรคนนี้ทุกคนเช่นเดียวกัน
ดังนั้น เรื่องของความสามารถ (Competency) ในการทำงานจึงเป็นเรื่องของ “ปัจเจกบุคคล” หรือตัวใครก็ตัวคนนั้น ว่าเขามี K+S+A
เหมาะตรงกับงานอย่างที่ผมยกตัวอย่างมาข้างต้นหรือไม่ต่างหาก ไม่ได้เกี่ยวกับเรียนจบอะไรมา
หรือได้เกรดเท่าไหร่มา หรือจบมาจากสถาบันไหน
ผมจึงไม่เห็นความจำเป็นว่าทำไมจึงต้องเปลี่ยนชื่อตำแหน่งช่างที่จบปวส.เป็นวิศวกร
หรือแม้จะเปลี่ยนเป็นชื่ออื่น ๆ ถ้าเขาทำงานดีก็ตอบแทนด้วยเรื่องการขึ้นเงินเดือนตามผลงานก็ถูกต้องแล้วนี่ครับ
หรือถ้าเขามีความสามารถในการบริหารจัดการได้
ต่อไปก็อาจจะพิจารณาเลื่อนตำแหน่งให้เป็นหัวหน้าช่าง
หรือเป็นผู้จัดการต่อไปในอนาคตได้จริงไหมครับ
ผมเชื่อว่าเมื่อคุณอ่านมาถึงตรงนี้น่าจะเป็นแนวทางให้คุณได้ไปคุยกับ
MD เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้แล้วนะครับ
...............................................